ปลาตะเกียง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาตะเกียง
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 55–0Ma
ตั้งแต่ อีโอซีน ถึงปัจจุบัน[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Myctophiformes
วงศ์: Myctophidae
T. N. Gill, 1893
Genera

Benthosema
Bolinichthys
Centrobranchus
Ceratoscopelus
Diaphus
Diogenichthys
Electrona
Gonichthys
Gymnoscopelus
Hintonia
Hygophum
Idiolychnus
Krefftichthys
Lampadena
Lampanyctodes
Lampanyctus
Lampichthys
Lepidophanes
Lobianchia
Loweina
Metelectrona
Myctophum
Nannobrachium
Notolychnus
Notoscopelus
Parvilux
Protomyctophum
Scopelopsis
Stenobrachius
Symbolophorus
Taaningichthys
Tarletonbeania
Triphoturus

ปลาตะเกียง (อังกฤษ: myctophids,กรีก: μυκτήρmyktḗr) เป็นปลาทะเลลึกเล็กมีจำนวน 246 ชนิดใน 33 สกุลและพบได้ในมหาสมุทรทั่วโลก พวกมันถูกตั้งชื่อตามความสามารถในการเรืองแสงของมัน จากการสุ่มตัวอย่างตรวจสอบปลาให้ทะเลลึกนั้นพบว่ามันมีจำนวนมากถึง 65% ของสายพันธุ์ปลาทะเลลึกทั้งหมด[2] หรือก็คือมันเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่กระจายพันธุ์อยู่อย่างแพร่หลายและมีประชากรมากที่สุดและยังมีบทบาททางนิเวศวิทยาที่สำคัญอย่างมากในฐานะของเหยื่อของสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ เช่น หมึกกล้วยและเพนกวินราชา ถึงแม้ว่ามันจะมีสายพันธุ์และจำนวนที่เยอะแต่กลับมีการทำประมงปลาชนิดนี้แค่ที่อ่าวโอมานและแอฟริกาใต้เท่านั้น

ลักษณะ[แก้]

ปลาตะเกียงสายพันธุ์Myctophum punctatum

ปลาตะเกียงจะมีรูปร่างที่เรียวเล็กมีเกล็ดเล็ก ๆ สีขาวปกคลุมหัวค่อนข้างกลมและมีดวงตาทรงกลมขนาดใหญ่มีขากรรไกรขนาดเล็กที่ประกบติดกันได้ดีมีฟันชุดเล็กที่ขากรรไกรบนและล่าง มีครีบขนาดเล็กแต่บางชนิดก็มีครีบหลังที่ยาว พวกมันมีถุงลมที่เต็มไปด้วยไขมันเพื่อใช้ในสถานที่ ๆ มีแรงกดดันสูง

มันมีอวัยวะผลิตแสง (photophores) ซึ่งจะจัดเรียกต่างกันไปตามชนิดและเพศของพวกมันซึ่งเพศผู้จะอยู่เหนือหางเพศเมียจะอยู่ใต้หางส่วนแบบตามชนิดก็จะมีแบบที่ใต้ท้อง, ด้านบนลำตัวหรือบนหัวบริเวณใกล้เคียงกับดวงตา ซึ่งอวัยวะผลิตแสงเหล่านี้จะผลิตแสงที่มีสีฟ้า, สีเขียวหรือสีเหลืองอ่อน[2]

ปลาตะเกียงส่วนมากมักเป็นปลาขนาดเล็กประมาณ 2 ถึง 30 เซนติเมตร (0.79 ถึง 11.81 นิ้ว) ซึ่งส่วนใหญ่พวกมันจะมีขนาดไม่เกินมี 15 ซม. (5.9 นิ้ว) ปลาตะเกียงที่อยู่น้ำตื้นจะมีสีผิวเป็นสีฟ้า, สีเขียวหรือสีน้ำเงิน แต่ที่อยู่ในทะเลลึกจะมีสีน้ำตาลจนถึงสีดำและปลาตะเกียงนั้นเป็นปลาที่มีประชากรเยอะมากในสายพันธุ์ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง[3]

นิเวศวิทยา[แก้]

โดยปกติแล้วช่วงตอนกลางวันพวกมันจะอยู่บริเวณน้ำลึกประมาณ 300 และ 1,500 เมตร (980 และ 4,920 ฟุต) แต่พอตกเย็นพวกมันจะขึ้นมาอยู่ที่บริเวณน้ำลึกระหว่าง 10 ถึง 100 เมตร (33 และ 328 ฟุต) เพื่อหลบหนีการไล่ล่าจากนักล่าอีกทั้งเพื่อมาหาอาหาร เช่น แพลงค์ตอน พอเริ่มเช้าพวกมันก็จะกลับลงไปที่ทะเลลึกเหมือนเดิม[2]

ความหลากหลายของรูปแบบการย้ายถิ่นเกิดขึ้นแค่กับบางชนิดเท่านั้นปลาตะเกียงที่อาศัยอยู่ลึกมาก ๆ อาจไม่มีการโยกย้ายใด ๆ ในขณะที่บางชนิดอาจทำเช่นนั้นเป็นระยะ ๆ รูปแบบการย้ายนั้นอาจจะขึ้นกับช่วงอายุ, เพศและฤดู

การเรียงตัวของอวัยวะเรืองแสง (photophores) นั้นจะแตกต่างกันตามชนิดซึ่งนั้นทำให้สื่อสารและหาคู่ผสมพันธุ์ได้ อีกทั้งพวกมันยังสามารถใช้แสงในการลวงตานักล่าได้ด้วยการควบคุมความสว่างของแสงนั้นให้เข้ากับสภาพแวดล้อมนั้นเอง

ปลาตะเกียงนั้นเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญต่อระบบนิเวศเป็นอย่างมากและยังเป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญในห่วงโซ่อาหารซึ่งมันจะเป็นเหยือของวาฬ, โลมา, ฉลาม, นกทะเลและอื่น ๆ อีกมากโดยปกติแล้วพวกมันกินแพลงค์ตอนเป็นอาหารแต่จากการศึกษาสำไส้ของพวกมันได้พบว่าพวกมันกินพลาสติกหรือขยะที่มนุษย์ทิ้งลงมาในทะเลอีกด้วย[4]

การสำรวจ[แก้]

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารได้มีการสำรวจทะเลลึกผ่านคลื่นโซนาร์จึงได้พบกลุ่มของสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ที่ระดับความลึก 300-500 เมตรซึ่งนั้นก็คือฝูงของปลาตะเกียงซึ่งมาพวกมันกำลังจะมากินแพลงค์ตอนในเวลาเย็น[5]

จากการสำรวจชนิดและสายพันธุ์ปลาทะเลลึกพบว่าพวกมันนั้นเป็น 65% ของชนิดสายพันธุ์ปลาทะเลลึกทั้งหมดที่ค้นพบ[2]จึงทำให้กล่าวได้ว่ามันเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีการกระจายพันธุ์ได้แพร่หลายในสถานที่ต่าง ๆ มากที่สุดซึ่งน้ำหนักโดยรวมของการประมงที่สามารถจับปลาชนิดนี้ได้นั้นมีน้ำหนักมากถึง 550-660 ล้านเมตริกตัน[6]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Sepkoski, Jack (2002). "A compendium of fossil marine animal genera". Bulletins of American Paleontology. 364: 560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-20. สืบค้นเมื่อ 2007-12-25.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Hulley, P. Alexander (1998). Paxton, J.R.; Eschmeyer, W.N. (บ.ก.). Encyclopedia of Fishes. San Diego: Academic Press. pp. 127–128. ISBN 0-12-547665-5.
  3. Newitz, Annalee. "Lies You've Been Told About the Pacific Garbage Patch". io9. สืบค้นเมื่อ 25 August 2014.
  4. Rochman, Chelsea; และคณะ (2014). "Polybrominated diphenyl ethers (PBDEs) in fish tissue may be an indicator of plastic contamination in marine habitats". Science of the Total Environment. doi:10.1016/j.scitotenv.2014.01.058.
  5. Ryan P "Deep-sea creatures: The mesopelagic zone" Te Ara - the Encyclopedia of New Zealand. Updated 21 September 2007.
  6. R. Cornejo; R. Koppelmann & T. Sutton. "Deep-sea fish diversity and ecology in the benthic boundary layer". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-01. สืบค้นเมื่อ 2017-04-24.