ประเทศอุตสาหกรรมใหม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่โลกแสดงรายการประเทศกำลังพัฒนา (สีเขียว หรือสีเขียวอ่อน) ประเทศที่พัฒนาแล้ว (สีเทา หรือสีแดง) และประเทศที่ได้รับการจำแนกให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ใน พ.ศ. 2557 (สีฟ้า)

ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (อังกฤษ: newly industrialized country, NIC) เป็นประเภทการจำแนกประเทศโดยนักรัฐศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์

ประเทศอุตสาหกรรมใหม่เป็นประเทศที่สถานะทางเศรษฐกิจยังไม่เทียบเท่ากับประเทศพัฒนาแล้ว แต่ถือว่ามีสถานะดีกว่าประเทศใกล้เคียงในทางเศรษฐศาสตร์มหภาค และมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง โดยมีตัวบ่งชี้ที่สำคัญคือ การพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมในระยะแรกเริ่มและมีการพัฒนาต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ในบางประเทศมีการอพยพของประชากรจากชนบทหรือภาคเกษตรกรรมเข้าสู่เมืองใหญ่

ปกติแล้วประเทศอุตสาหกรรมใหม่จะมีลักษณะร่วมกันดังนี้

  • ประชากรมีสิทธิและเสรีภาพมากขึ้น
  • เศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงจากภาคเกษตรกรรมไปเป็นภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะภาคการผลิต
  • เศรษฐกิจตลาดเสรีเพิ่มมากขึ้น มีการค้าเสรีกับชาติอื่น ๆ
  • มีองค์กรขนาดใหญ่ของชาติดำเนินงานอยู่ในหลายภูมิภาคของโลก
  • มีการลงทุนจากต่างประเทศมาก
  • มีความเป็นผู้นำทางการเมืองภายในภูมิภาค

ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในปัจจุบัน[แก้]

ตารางข้างล่างแสดงถึงประเทศอุตสาหกรรมใหม่

ภูมิภาค ประเทศ GDP (Billions of USD, 2018 IMF)[1] GDP per capita
(USD, 2018 IMF)[2]
GDP (PPP) (Billions of current Int$, 2018 IMF)[3] GDP per capita (PPP)
(current Int$, 2018 IMF)[4]
สัมประสิทธิ์จีนี 2011–17[5][6] ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (HDI, 2018)[7] Real GDP growth rate as of 2018[8] แหล่งข้อมูล
แอฟริกา  แอฟริกาใต้ 368 6,377 795 13,675 63.0 (2014) 0.705 (สูง) 0.79 [9][10][11]
อเมริกาเหนือ  เม็กซิโก 1,223 9,807 2,570 20,602 43.4 (2016) 0.767 (สูง) 1.99 [12][9][10]
อเมริกาใต้  บราซิล 1,868 8,968 3,365 16,154 53.3 (2017) 0.761 (สูง) 1.11 [12][9][10]
เอเชีย  จีน 13,407 9,608 25,270 18,110 38.6 (2015) 0.758 (สูง) 6.57 [9][10]
 อินเดีย 2,972 2,036 10,505 7,874 35.7 (2011) 0.647 (กลาง) 7.05 [9][10][11]
 อินโดนีเซีย 1,022 3,871 3,495 13,230 38.1 (2017) 0.707 (สูง) 5.17 [9][10][11]
 มาเลเซีย 354 10,942 1,002 30,860 41.0 (2015) 0.804 (สูงมาก) 4.72 [9][10][11]
 ฟิลิปปินส์ 354 3,246 1,041 9,538 40.1 (2015) 0.712 (สูง) 6.20 [12][9][10][11][13]
 ไทย 487 7,187 1,311 19,476 36.5 (2017) 0.765 (สูง) 4.13 [12][9][10][11]
เอเชีย-ยุโรป  ตุรกี 766 9,346 2,321 27,956 41.9 (2016) 0.791 (สูง) 2.57 [9][10][11]

อ้างอิง[แก้]

  1. "World Economic Outlook Database, April 2019". IMF. สืบค้นเมื่อ 15 April 2019.
  2. "World Economic Outlook Database, April 2019". IMF. สืบค้นเมื่อ 16 April 2019.
  3. "World Economic Outlook Database, April 2019". IMF. สืบค้นเมื่อ 15 April 2019.
  4. "World Economic Outlook Database, April 2019". IMF. สืบค้นเมื่อ 15 April 2019.
  5. "GINI Index Data Table". World Bank. สืบค้นเมื่อ 4 April 2012.
  6. Note: The higher the figure, the higher the inequality.
  7. "Human Development Report 2019 – "Human Development Indices and Indicators"" (PDF). HDRO (Human Development Report Office) United Nations Development Programme. pp. 22–25. สืบค้นเมื่อ 9 December 2019.
  8. "World Economic Outlook Database, April 2019". IMF. สืบค้นเมื่อ 16 April 2019.
  9. 9.00 9.01 9.02 9.03 9.04 9.05 9.06 9.07 9.08 9.09 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Limits
  10. 10.00 10.01 10.02 10.03 10.04 10.05 10.06 10.07 10.08 10.09 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ AIA
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 11.6 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Principles
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Globalization
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-04. สืบค้นเมื่อ 2019-12-15.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]