ประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีน
จีน: 中華民國總統
พินอิน: Zhōnghuá Mínguó Zǒngtǒng
ตราประจำตำแหน่ง
ธงประจำตำแหน่ง
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
ไช่ อิงเหวิน

ตั้งแต่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 (2016-05-20)
การเรียกขาน
จวนสำนักประธานาธิบดี
ที่ว่าการ
ผู้แต่งตั้งประชาชนเลือกตั้งโดยตรง
วาระ4 ปี ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน
(มาตรา 2 วรรค 6 ของบทเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ)
ตราสารจัดตั้งรัฐธรรมนูญ
สถาปนา
  • ประธานาธิบดีชั่วคราว:
    1 มกราคม ค.ศ. 1912 (1912-01-01)
  • ตรารัฐธรรมนูญ:
    5 สิงหาคม ค.ศ. 1948 (1948-20-05)
คนแรก
  • ประธานาธิบดีชั่วคราว:
    ซุน ยัตเซ็น หรือ ซุน อี้เซียน (孫逸仙)
  • ประธานาธิบดีตามรัฐธรรมนูญ:
    เจียง ไคเชก หรือ เจี่ยง เจี้ยฉือ (蔣介石)
รอง
เงินตอบแทน6,428,282 ดอลลาร์ไต้หวันใหม่ ต่อปี[1]
เว็บไซต์english.president.gov.tw
ประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน
อักษรจีนตัวเต็ม中華民國總統
อักษรจีนตัวย่อ中华民国总统

ประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน (จีน: 中華民國總統; พินอิน: Zhōnghuá Mínguó Zǒngtǒng; อังกฤษ: President of the Republic of China) โดยทั่วไปเรียก ประธานาธิบดีไต้หวัน (จีน: 台灣總統; พินอิน: Táiwān Zǒngtǒng; อังกฤษ: President of Taiwan) เป็นประมุขแห่งรัฐประจำสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และเป็นจอมทัพสาธารณรัฐจีน

พรรคชาตินิยม (國民黨) ก่อตั้ง "สาธารณรัฐจีน" (中華民國) ขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1912 เพื่อปกครองประเทศจีนทั้งหมด ภายหลังเกิดสงครามโลกครั้งที่สองและสงครามกลางเมืองจีน พรรคชาตินิยมสูญเสียอำนาจในจีนแผ่นดินใหญ่ให้แก่พรรคสังคมนิยม (共产党) พรรคชาตินิยมล่าถอยมายังเกาะไต้หวันและสถาปนาการปกครองขึ้นเป็น "สาธารณรัฐจีน" อ้างว่า บังคับบัญชาเกาะไต้หวันและเกาะปริมณฑลในฐานะรัฐเอกราช ส่วนพรรคสังคมนิยมจัดตั้ง "สาธารณรัฐประชาชนจีน" (中华人民共和国) ขึ้นบนแผ่นดินใหญ่ และถือเอาเกาะไต้หวันกับทั้งเกาะปริมณฑลเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินใหญ่ต่อไป ขณะที่สถานะของสาธารณรัฐจีนเองก็ไม่เป็นที่รับรองของประชาคมโลกมาจนบัดนี้

ตำแหน่งประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีนนั้นสถาปนาขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1948 ตามรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1947 ผู้ประเดิมตำแหน่ง คือ เจียง ไคเช็ก หรือ เจี่ยง เจี้ยฉือ (蔣介石) ส่วนผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน คือ ไช่ อิงเหวิน (蔡英文)

อ้างอิง[แก้]

  1. Yi, Wang (12 March 2015). "13 國元首薪水大車拚". 中時電子報 (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). สืบค้นเมื่อ 18 January 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]