บ็อบ มาร์เลย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผู้ทรงเกียรติ

บ็อบ มาร์เลย์

Black and white image of Bob Marley on stage with a guitar
มาร์เลย์ในปี 1980
เกิดรอเบิร์ต เนสตา มาร์เลย์
6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945(1945-02-06)
นายน์ไมล์ เซนต์แอนแพริช บริติชจาเมกา
เสียชีวิต11 พฤษภาคม ค.ศ. 1981(1981-05-11) (36 ปี)
ไมแอมี รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา
สาเหตุเสียชีวิตเมลาโนมา (มะเร็งผิวหนัง)
สัญชาติธงของประเทศจาเมกา จาเมกา
ชื่ออื่น
  • ดอนัลด์ มาร์เลย์
  • ทัฟ กอง
อาชีพ
  • นักร้อง
  • นักแต่งเพลง
คู่สมรสอัลฟาริตา แอนเดอร์สัน มาร์เลย์ (สมรส 1966)
บุตร9
บิดามารดา
  • นอร์วาล ซินแคลร์ มาร์เลย์
  • ซีเดลลา บูเกอร์
ญาติ
  • สกิป มาร์เลย์ (หลานชาย)
  • นิโค มาร์เลย์ (หลานชาย)
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
เครื่องดนตรี
  • เสียง
  • กีตาร์
  • เพอร์คัชชัน
ช่วงปี1962–1981
ค่ายเพลง
  • Beverley's
  • Studio One
  • JAD
  • Wail'n Soul'm
  • Upsetter
  • Tuff Gong
  • Island
เว็บไซต์bobmarley.com

รอเบิร์ต เนสตา มาร์เลย์ (อังกฤษ: Robert Nesta Marley) (6 กุมภาพันธ์ 1945 - 11 พฤษภาคม 1981) เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง และนักดนตรีชาวจาเมกา ถือเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิก เร็กเก อาชีพนักดนตรีของเขามีความโดดเด่นด้วยการผสมผสานองค์ประกอบของเร็กเก สกา และร็อกสเตดดีเข้าด้วยกัน รวมถึงรูปแบบการร้องและการแต่งเพลงที่แตกต่างจากคนอื่น[2][3] การมีส่วนร่วมในดนตรีของมาร์เลย์ช่วยทำให้ดนตรีจาเมกาและตัวเขาเป็นที่รู้จักในวัฒนธรรมประชานิยมในระดับสากลมานานกว่าทศวรรษ[4][5] ตลอดอาชีพการงานของเขา มาร์เลย์กลายเป็นที่รู้จักในฐานะสัญลักษณ์ของขบวนการราสตาฟารี และเขาได้ผสมผสานดนตรีของเขาเข้ากับจิตวิญญาณของลัทธิ[6] นอกจากนี้เขายังถือเป็นสัญลักษณ์ระดับโลกของวงการดนตรีและวัฒนธรรมจาเมกา รวมถึงอัตลักษณ์ในการสนับสนุนการใช้กัญชาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และการสนับสนุนขบวนเคลื่อนไหวที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมและเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองและผู้พลัดถิ่นที่มีเชื้อสายแอฟริกา[7]

ชีวิตและอาชีพ[แก้]

รอเบิร์ต บ็อบ เนสตา มาร์เลย์เกิดในฟาร์มของปู่ของเขาในหมู่บ้านเล็ก Nine Mile , Saint Ann Parish, ประเทศจาเมกา โดยมี Norval Sinclair Marley (พ่อ) และ Cedella Booker (แม่).[8] Norval Marley เป็นชาวยุโรปกึ่งจาเมกาและมีมรดกจากอังกฤษNorval อ้างว่าตนเป็นกัปตันอยู่ในกองนาวิกโยธิน , ในเวลาเดียวกันเขาก็ได้แต่งงานกับ Cedella Booker ชาวแอฟริกากึ่งจาเมกา หลังจากนั้นเมื่อเขาอายุได้ 18 ปี , เขาถูกว่าจ้างให้เป็นผู้ดูแลสวน[9][10] บ็อบ มาร์เลย์ถูกตั้งชื่อว่า Nesta Robert Marley พาสปอร์ตอย่างเป็นทางการของชาวจาเมกามักจะดูชื่อแรกเกิดและชื่อกลาง[11][12] Norval ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ภรรยาและลูกๆของเขา แต่ไม่ค่อยเห็นพวกเขาในขณะที่เขาก็มักจะออกไป บ็อบ มาร์เลย์ ศึกษาที่ โรงเรียนประถมศึกษา (Stepney Primary) และโรงเรียนมัธยมศึกษา (Junior High School) ซึ่งอยู่ใกล้ที่กักเก็บน้ำบริเวณเซนต์ แอน [13][14] ในปีค.ศ. 1955 ขณะที่บ็อบ มาร์เลย์มีอายุได้ 10 ขวบ , พ่อของเขาเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจขณะอายุ 70 ปี[15]

บ็อบ มาร์เลย์กับ เนวิลลิ ลิววิลสตอง (Neville Livingston) (ภายหลังคือบันนี่ วอลเตอร์ (Bunny Wailer) สมาชิกจากวงวอลเตอร์) เป็นเพื่อนกันในละแวกไนท์ ไมล์ พวกเขาเล่นดนตรีกันตั้งแต่ในโรงเรียนประถมศึกษาจนถึงโรงเรียนมัธยมศึกษา[16] บ็อบ มาร์เลย์ ได้ย้ายที่อยู่กับแม่ของเขาตอนเขาอายุ 12 ขวบไปยังย่าน Trechtown , เมืองคิงส์ตัน (ประเทศจาเมกา)

อ้างอิง[แก้]

  1. Freed, Kenneth (13 February 1995). "Bob Marley Festival Spreads Some 'Rastaman Vibration' : Anniversary: Jamaica concert marks the 50th birthday of the late reggae icon and poet-musician". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 1 August 2019.
  2. Samuels, A.J. "Bob Marley: Anatomy of an Icon". สืบค้นเมื่อ 10 October 2017.
  3. "'Marley' – a new view of a cultural icon". www.youthlinkjamaica.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2017. สืบค้นเมื่อ 10 October 2017.
  4. "7 Fascinating Facts About Bob Marley". สืบค้นเมื่อ 10 October 2017.
  5. Toynbee, Jason (8 May 2013). Bob Marley: Herald of a Postcolonial World. John Wiley & Sons. pp. 1969–. ISBN 978-0-7456-5737-0. สืบค้นเมื่อ 23 August 2013.
  6. Masouri, Jon (11 November 2009). Wailing Blues – The Story of Bob Marley's Wailers. Music Sales Group. ISBN 978-0-85712-035-9. สืบค้นเมื่อ 7 September 2013.
  7. Soni, Varun (2 July 2010). "Bob Marley's Spiritual Legacy". huffingtonpost.com. สืบค้นเมื่อ 11 July 2017.
  8. David Vlado Moskowitz (2007). Bob Marley: A Biography. Greenwood Publishing Group. pp. 13–. ISBN 978-0-313-33879-3. สืบค้นเมื่อ 10 September 2013.
  9. Bob Marley: the regret that haunted his life Tim Adams, The Observer, Sunday 8 April 2012
  10. Moskowitz 2007, p. 2
  11. Moskowitz 2007, p. 9
  12. Stephen Davis, as early as 1983, wrote that "his name was changed from Nesta Robert to Robert Nesta Marley, at the suggestion of the passport clerk, who thought Nesta sounded like a girl's name."
  13. Stepney Primary and Junior High School Bob Marley Foundation. Published 16 September 2009. Retrieved 1 September 2013.
  14. Bob Marley (31 January 2012). Listen to Bob Marley: The Man, the Music, the Revolution. Open Road Media. pp. 65–. ISBN 978-1-4532-2494-6. สืบค้นเมื่อ 1 September 2013.
  15. Moskowitz 2007, p. 4
  16. The Last Wailer - Bunny Wailer interview เก็บถาวร 2015-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at GQ. Interviewer: John Jeremiah Sullivan. Published January 2011. Retrieved 22 October 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]