บังเต๊ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บังเต๊ก (ผัง เต๋อ)
龐德 / 龐悳
ภาพวาดบังเต๊กในยุทธการที่อ้วนเสียสมัยราชวงศ์ชิง
ขุนพลสถาปนาคุณธรรม
(立義將軍)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 216 (216) – ค.ศ. 219 (219)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
หัวหน้ารัฐบาลโจโฉ
ขุนพลราชองครักษ์ (中郎將)
(ภายใต้ม้าเท้ง)
ดำรงตำแหน่ง
202–?
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
เจ้าหน้าที่ผู้ช่วย (從事)
ดำรงตำแหน่ง
?–?
กษัตริย์พระเจ้าเลนเต้
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ปรากฏ
อำเภอหล่งซี มณฑลกานซู่
เสียชีวิตค.ศ. 219
เซียงหยาง มณฑลหูเป่ย์
บุตร
  • บังโฮย
  • บุตรชายอีกสามคน
ความสัมพันธ์บังยิว (ลูกพี่ลูกน้อง)
อาชีพขุนพล
ชื่อรองลิ่งหมิง (令明)
สมัญญานามจวั้งโหฺว (壯侯)
บรรดาศักดิ์กวันเหมินถิงโหฺว (關門亭侯)

บังเต๊ก (เสียชีวิต ค.ศ. 219) หรือชื่อภาษาจีนกลางว่า ผัง เต๋อ (จีน: 龐德 / 龐悳; พินอิน: Páng Dé; pronunciation) ชื่อรอง ลิ่งหมิง (จีน: 令明) เป็นขุนพลที่มีชีวิตอยู่ในสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของจีน บังเต๊กเริ่มรับราชการภายใต้ขุนศึกม้าเท้งซึ่งมีที่มั่นในมณฑลเลียงจิ๋ว ในปี ค.ศ. 211 บุตรชายของม้าเท้ง ม้าเฉียว พร้อมด้วยกลุ่มขุนศึกจากเลียงจิ๋ว เริ่มก่อกบฏต่อราชสำนักฮั่นซึ่งถูกควบคุมโดยขุนศึกโจโฉ หลังจากโจโฉชนะม้าเฉียวและพันธมิตรที่ยุทธการที่ด่านตงก๋วน ม้าเฉียวหนีไปฮันต๋ง และเข้าพึ่งขุนศึกเตียวฬ่อ บังเต๊กติดตามไปด้วย เมื่อม้าเฉียวแปรพักตร์จากฝ่ายเตียวฬ่อเพื่อเข้าร่วมกับขุนศึกเล่าปี่ บังเต๊กยังคงอยู่ในฮันต๋งและในที่สุดก็มารับใช้โจโฉหลังจากโจโฉชนะเตียวฬ่อที่ยุทธการที่เองเปงก๋วนและเข้ายึดฮันต๋ง ในปี ค.ศ. 219 บังเต๊กต่อสู้ใน ยุทธการที่อ้วนเสียภายใต้การบัญชาการของโจหยิน ต่อต้านกองกำลังของเล่าปี่ที่นำโดยกวนอู บังเต๊กถูกจับในการต่อสู้และในที่สุดก็ถูกประหารโดยกวนอูเมื่อเขาไม่ยอมจำนน[1]

ประวัติ[แก้]

บังเต๊กเป็นชาวอำเภอหฺวันเต้า (狟道縣; หฺวันเต้าเซี่ยน) เมืองลำอั๋นหรือลำหัน (南安郡; หนันอัน) มณฑลเลียงจิ๋ว ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของอำเภอหล่งซี มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน บังเต๊กในวัยเยาว์รับราชการเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ช่วย (從事; ฉงฉื่อ) ในที่ว่าการเมืองบ้านเกิด

การรับราชการทหารในช่วงต้น[แก้]

ในช่วงรัชศกชูผิง (ค.ศ. 190–193) ในรัชสมัยพระเจ้าเหี้ยนเต้ เกิดกบฏเลียงจิ๋วก่อการ บังเต๊กเข้าร่วมกับขุนศึกม้าเท้งในการปราบปรามกลุ่มกบฏของชนเผ่าเกี๋ยงและตี และได้รับการเลื่อนขั้นเป็นนายกอง (校尉; เซี่ยวเว่ย์) สำหรับความชอบในการศึก[2]

ยุทธการที่ด่านตงก๋วนและยอมสวามิภักดิ์ต่อโจโฉ[แก้]

ยุทธการที่อ้วนเสียและเสียชีวิต[แก้]

การประเมินค่า[แก้]

ทายาท[แก้]

ในวัฒนธรรมประชานิยม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. de Crespigny (2007), p. 685.
  2. (龐德字令明,南安狟道人也。少為郡吏州從事。初平中,從馬騰擊反羌叛氐。數有功,稍遷至校尉。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 18.

บรรณานุกรม[แก้]

  • ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อ).
  • de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD. Leiden: Brill. ISBN 9789004156050.
  • ล่อกวนตง (ศตวรรษที่ 14). สามก๊ก (ซันกั๋วเหยี่ยนอี้).
  • เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อจู้).
  • ซือหม่า กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.

ดูเพิ่ม[แก้]