บทบาททางเพศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชายและหญิงในอาชีพที่ไม่ได้เป็นไปตามบทบาททางเพศที่สังคมคาดหวัง จากบนซ้ายไปล่างขวา หรือ บนลงล่าง(ในมือถือ) - หมอตำแยชายในออสโล นอร์เวย์, ตำรวจหญิงในอัฟกานิสถาน, หญิงก่อสร้างในหมู่เกาะโซโลมอน และครูอนุบาลชายในโคโลราโดกำลังเล่นอูคูเลเล่

บทบาททางเพศ (อังกฤษ: gender role หรือ sex role)[1] คือบทบาททางสังคม ครอบคลุมทั้งพฤติกรรมและทัศนคติของแต่ละคนที่เชื่อว่าเหมาะสม เป็นที่ยอมรับและน่าชื่นชมโดยใช้เพศสภาพเป็นตัวกำหนด[2][3] บทบาททางเพศนั้นเน้นแนวคิดของความเป็นผู้หญิงและความเป็นผู้ชาย[2] แม้ว่าจะมีข้อยกเว้นและรูปแบบหลากหลาย ซึ่งอาจแตกต่างไปแล้วแต่วัฒนธรรม

หลายกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มเคลื่อนไหวสิทธิสตรีพยายามเปลี่ยนแปลงบทบาททางเพศนี้ที่พวกเขาเชื่อว่าเป็นการกดขี่หรือไม่ถูกต้อง

ประวัติ[แก้]

องค์การอนามัยโลกอธิบายความหมายของบทบาททางเพศไว้ว่า เป็นบทบาทที่สังคมกำหนดไว้ว่าเป็นพฤติกกรม การกระทำ และคุณลักษณะที่เหมาะสมกับผู้ชายและผู้หญิง[4] อย่างไรก็ตามยังมีการโต้เถียงกันอยู่ว่าบทบาททางเพศนั้น สังคมเป็นผู้กำหนดมากน้อยแค่ไหนและบทบาทที่สังคมกำหนดนั้นเด็ดขาดหรือเปลี่ยนแปลงได้[5][6][7][8][9] เพราะฉะนั้นคำนิยามที่แท้จริงของบทบาททางเพศนั้นยากที่จะอธิบาย

ผู้หญิงไม่มีสิทธิ์ในการออกคะแนนเสียงเลือกตั้งในหลายประเทศในโลกจนกระทั่งศตวรรษที่ 19 หรือ 20[10][11][12] และยังมีหญิงบางส่วนที่ยังไม่มีสิทธิ์จนเข้าศตวรรษที่ 21[13] ผู้หญิงทั่วโลกยังไม่ได้รับการปกป้องหรืออิสรภาพภายใต้กฎหมาย และผู้ชายที่ถูกมองว่าเป็นคนหาเลี้ยงครอบครัว มักไม่ได้ลาพักเมื่อลูกคลอด(Paternity leave)[14]

อย่างไรก็ตามบทบาททางเพศบางอย่างก็มีผลทางบวกและการไม่มีบทบาททางเพศเหล่านี้อาจเป็นเรื่องยาก แม้บทบาททางเพศอาจถูกใช้เป็นค่านิยมทางเพศที่ไม่ดี บางครั้งก็เป็นประโยชน์ในการกำหนดและตรวจสอบพฤติกรรมที่เป็นที่ยอมรับของสังคม ยิ่งไปกว่านั้นการเติมเต็มบทบาททางเพศนี้ก็เกี่ยวโยงกับการมีความภูมิใจในตนที่มากขึ้นและในทางกลับกัน[15]

อ้างอิง[แก้]

  1. Levesque R.J.R. (2011) Sex Roles and Gender Roles. In: Levesque R.J.R. (eds) Encyclopedia of Adolescence. Springer, New York, NY. ISBN 978-1-4419-1695-2. Retrieved January 22, 2018.
  2. 2.0 2.1 Sandra Alters, Wendy Schiff (2009). Essential Concepts for Healthy Living. Jones & Bartlett Publishers. p. 143. ISBN 0763756415. สืบค้นเมื่อ January 3, 2018.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  3. David S. Gochman (2013). Handbook of Health Behavior Research II: Provider Determinants. Springer Science & Business Media. p. 424. ISBN 1489917608. สืบค้นเมื่อ January 3, 2018.
  4. "What do we mean by "sex" and "gender"?". WHO.int. World Health Organization. 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 August 2015. สืบค้นเมื่อ 18 August 2015.
  5. The social construction of race. The Atlantic. https://www.theatlantic.com/national/archive/2013/05/the-social-construction-of-race/275974/
  6. Henry, S. (2009) Social construction of crime. In J. Miller (Ed.), 21st Century criminology: A reference handbook. (pp. 296-306). Thousand Oaks: SAGE Publications, Inc. doi:10.4135/9781412971997.n34
  7. Hacking, I (1999) The social construction of what?. Harvard University Press.
  8. http://www.aifs.gov.au/conferences/aifs7/francis.html
  9. Francis, B. (2000) Is gender a social construct or a biological imperative? Family Futures : Issues in Research and Policy 7th Australian Institute of Family Studies Conference http://www.aifs.gov.au/conferences/aifs7/francis.html
  10. 'New Zealand women and the vote', URL: http://www.nzhistory.net.nz/politics/womens-suffrage, (Ministry for Culture and Heritage), updated 17 July 2014.
  11. Karlsson Sjögren, Åsa, Männen, kvinnorna och rösträtten: medborgarskap och representation 1723-1866 [Men, women and suffrage: citizenship and representation 1723-1866], Carlsson, Stockholm, 2006 (in Swedish)
  12. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-26. สืบค้นเมื่อ 2018-04-21.
  13. "In Saudi Arabia, a Quiet Step Forward for Women". The Atlantic. Oct 26 2011
  14. James Poniewozik (10 June 2014). "it's time for paternity leave for working fathers". TIME.com. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  15. Frome, P. & Eccles (1996) Gender roles identity and self-esteem. Poster presented at the biannual meeting of the Society for Research on Adolescence.