บทนิรันดร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทนิรันดร์ (อังกฤษ: eternity clause) หมายถึง บทบัญญัติของกฎหมายที่มุ่งประกันว่า รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายพื้นฐานจะไม่ถูกเปลี่ยนแปลงไปเพราะการแก้ไขเพิ่มเติมในภายหลัง จัดเป็นบทปกป้อง (entrenched clause) รูปแบบหนึ่ง และปรากฏในรัฐธรรมนูญกรีซ ตุรกี นอร์เวย์[1] โมร็อกโก[2] เยอรมนี สาธารณรัฐเช็ก[3] และอิตาลี[1]

รัฐธรรมนูญอินเดียกับรัฐธรรมนูญโคลอมเบียมีบทบัญญัติคล้ายกันซึ่งไม่ได้ห้ามแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แต่วางวิธีการที่มุ่งหมายให้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานเป็นไปอย่างยากยิ่ง[1]

ตัวอย่างของบทนิรันดร์ เช่น รัฐธรรมนูญเยอรมนี มาตรา 79 วรรค (3) บัญญัติว่า "การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายหลักนี้ซึ่งกระทบกระเทือนต่อการแบ่งแยกสหพันธรัฐออกเป็นรัฐก็ดี หรือการเข้าร่วมกระบวนการนิติบัญญัติเพื่อการดังกล่าวในชั้นรับหลักการก็ดี หรือหลักการซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 1 ถึง 20 ก็ดี ย่อมไร้ผล" (Amendments to this Basic Law affecting the division of the Federation into Länder, their participation on principle in the legislative process, or the principles laid down in Articles 1 and 20 shall be inadmissible.)[4]

ส่วนรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐเช็ก มาตรา 87 บัญญัติให้ ศาลรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐเช็กเป็นผู้วินิจฉัยขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับผลที่กฎหมายยุโรปมีต่อรัฐธรรมนูญ[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Joel Colón-Ríos (2012). Weak Constitutionalism: Democratic Legitimacy and the Question of Constituent Power (Routledge Research in Constitutional Law. p. 67. ISBN 978-0415671903.
  2. Gerhard Robbers (2006). Encyclopedia of World Constitutions. p. 626. ISBN 978-0816060788.
  3. 3.0 3.1 Kyriaki Topidi and Alexander H.E. Morawa (2010). Constitutional Evolution in Central and Eastern Europe (Studies in Modern Law and Policy). p. 105. ISBN 978-1409403272.
  4. "Basic Law for the Federal Republic of Germany". Federal Ministry of Justice. 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-11-24.