นเรศวร 261

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นเรศวร 261
กองกำกับการ 3
กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ
กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน

เครื่องหมายหลักสูตรการต่อต้านการก่อการร้าย
อาร์มช้างศึก ต้นสังกัดหน่วยนเรศวร 261
ประจำการ18 ธันวาคม พ.ศ. 2527 (39 ปี)
ประเทศ ไทย
หน่วยงานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
รูปแบบหน่วยยุทธวิธีตำรวจ
บทบาท

บทบาทอื่น

  • ปฏิบัติการต่อต้านกองโจร
  • การคุ้มกันระยะประชิด
  • การค้นหา และกู้ภัยในการรบ
  • ปฏิบัติการ​ต่อต้านยาเสพติด
  • การตอบโต้ภัยพิบัติ
  • ผู้ตรวจการณ์หน้า
  • ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
  • การรับกลับกำลังพล
  • การค้นหาและกู้ภัย
เขตอำนาจปฏิบัติการระดับชาติ
ขึ้นกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
ทางยุทธการ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล กองบัญชาการกองทัพไทย
กองบัญชาการอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย
โครงสร้างหน่วย
กำลังปฏิบัติการ6 กองร้อย
ความสำคัญ
ปฏิบัติการสำคัญ
เว็บไซต์
กก.๓ บก.สอ.บช.ตชด.

กองกำกับการ 3 กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน หรือ หน่วยปฏิบัติการพิเศษนเรศวร 261 เป็นหน่วยตำรวจที่มีขีดความสามารถในการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ การยุทธส่งทางอากาศ การรบพิเศษ และการปฏิบัติการพิเศษ เพื่อตอบโต้ต่อภัยคุกคามที่เป็นทหารและไม่ใช่ทหาร ในการสงครามพิเศษ และการแก้ไขปัญหา การก่อความไม่สงบ, การก่อการร้าย, การแย่งชิงตัวประกัน การจับกุม ฯลฯ ทุกรูปแบบ ตามแนว "การบริหารวิกฤตการณ์" (อังกฤษ: Crisis Management) ด้วยการปฏิบัติการปกปิด โดยมีพื้นที่รับผิดชอบระดับประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2526 ปัจจุบันเป็นหน่วยระดับกองกำกับการ มีอุปกรณ์ครบมือ เช่น ปืนยิงแห, ปืนไฟฟ้า, ปืนพก, ปืนลูกซอง, ปืนกลเบา, ปืนกลมือ, ปืนเล็กยาว, ปืนเล็กสั้น, ระเบิดมือ, ระเบิดแก๊สน้ำตา, ปืนไรเฟิลซุ่มยิง, อุปกรณ์ต่อต้านการจลาจล ฯลฯ และมีผู้กำกับการเป็นหัวหน้าหน่วยราชการ ขึ้นตรงกับกองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน

การก่อตั้งหน่วย[แก้]

ในช่วงทศวรรษที่ 70 โลกต้องเผชิญภัยคุกคามที่น่าหวาดกลัวอันเนื่องมาจากการจับยึดตัวประกัน การก่อวินาศกรรม และการลอบสังหาร โดยกลุ่มที่อ้างตัวผู้ก่อการร้าย ตามแบบสงครามอสมมาตร ภัยคุกคามนี้ได้อยากตัวจากความขัดแย้งในอาหรับและอิสราเอล ไปสู่รัฐสนับสนุนต่าง ๆ ในการก่อตั้งอิสราเอล และเป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มประเทศที่นับถืออิสลาม การแนวทางที่กลุ่มก่อการร้ายใช้ ทำให้หลายประเทศตระหนักถึงความร้ายแรง และความน่ากลัวที่จะเกิดขึ้น และส่งผลกระทบต่อความสงบสุขของรัฐ จนทำให้หลายประเทศต่างตกลงกันที่จะแบ่งแยกความแตกต่างของอาชญากรรม และการก่อการร้าย เพื่อให้รัฐภาคีใช้วิธีทางกฎหมายเพื่อระงับยับยั้งและจับกุม

ประเทศไทยขณะนั้นยังไม่ได้ตระหนักถึงภัยคุกคามนี้อย่างเด่นชัด เพียงแต่มีหน่วยงานบางหน่วยที่เกี่ยวข้องอาจมีการฝึกเตรียมการใช้กำลังอยู่บ้างอันเนื่องมากจาก มีความล่อแหลมที่จะเกิดเหตุการณ์ลักษณะการปล้นยึดอากาศยานของกองทัพอากาศเท่านั้น จนกระทั่งเหตุการณ์สำคัญ เมื่อ พ.ศ. 2524 ได้มีการปล้นยืดอากาศยาน ของสายการบิน การูด้า ของประเทศอินโดนีเซีย มาลง ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพ ฯ แต่มีการใช้กำลังในท้ายที่สุด เพื่อยุติเหตุการณ์ โดยการปฏิบัติของกองทัพอากาศร่วมกองทัพอินโดนีเซ๊ย ทำให้รัฐบาลไทยขณะนั้น ตระหนักโดยทันทีว่าภัยคุกคามนี้ได้มาถึงแล้ว จึงได้สั่งการให้มีการจัดตั้ง คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายสากล ขึ้น และได้มีการกำหนดลักษณะสำคัญของการก่อการร้ายสากล ตลอดจนแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ในขั้นเตรียมการ ปฏิบัติการ ฯลฯ ทั้งนี้ตามคำสั่งลงวันที่ 1 ก.พ. 2526 ได้สั่งการให้กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และตำรวจ ได้ดำเนินการคัดสรรบุคลากรที่มีความสามารถ เพื่อประกอบกำลังในการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายดังกล่าวด้วย

กรมตำรวจ จึงได้พิจารณาหน่วยงานที่มีขีดความสามารถสูง และมีอาวุธยุทโธปรณ์เพียงพอ จึงได้พิจารณาสั่งการให้ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน รวบรวมข้าราชการตำรวจที่สมัครใจเข้ารับการฝึกฝนเพื่อเป็นบุคลากรของหน่วยปฏิบัติการพิเศษที่จะตั้งขึ้นนี้ โดยอาศัยครูฝึกของกองกำกับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เป็นหลักในการดำเนินการฝึก และเริ่มการฝึกโดยใช้พื้นที่ของ กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศ (ค่ายนเรศวร) อ.ชะอำ จว.เพชรบุรี และเริ่มการฝึกครั้งแรกเมื่อ 19 ก.ย. 2526 จนได้รับคำสั่งอนุมัติให้จัดตั้งหน่วยใน วันที่ 18 ธ.ค. 2527 เป็นหน่วยงานพิเศษในสังกัดกองกำกับการสนับสนุนทางอากาศตำรวจตระเวนชายแดน ต่อมาปลายปี 2529 ตามพระราช กฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 14 หน่วยปฏิบัติการพิเศษนเรศวร 261 ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนราชการระดับ กองร้อย ในอัตราการจัดของกองกำกับการสนับสนุนทางอากาศตำรวจตระเวนชายแดน คือ กองร้อยที่ 4 กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ต่อมาในปี 2548 ได้มี พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ยกฐานะขึ้นเป็นหน่วยระดับ " กองกำกับการ " คือ " กองกำกับการ 3 กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน " มาจนปัจจุบัน

ความหมายของชื่อหน่วย[แก้]

คณะผู้ดำเนินการฝึก และ คณะครูฝึก ได้ร่วมกันพิจารณาชื่อเรียกหน่วยที่เหมาะสม ซึ่งพิจารณาจากความหมายที่เป็นมงคลแก่หน่วย เป็นที่เคารพยึดมั่นของ " เหล่านักรบแห่งค่ายนเรศวร " ประกอบกับเป็นพระนามของกษัตริย์นักรบ " สมเด็จพระนเรศวรมหาราช " และยังเป็นนามค่ายซึ่งได้รับ พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงให้ชื่อหน่วยปฏิบัติการพิเศษนี้ว่า " นเรศวร " ส่วนเลข " 261 " มีที่มาจาก ปีที่ได้รับเริ่มการฝึก พ.ศ. 2526 และ เลข 1 มาจากรุ่นที่ทำการฝึก คือ รุ่นที่ 1 นั้นเอง แต่ในเวลาต่อมา หลังจากที่มีการฝึกได้แล้วหลายรุ่นก็ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงชื่อหน่วยไปเป็นอย่างอื่น เพราะเลขดังกล่าว ยังประกอบกับได้เลข 9 ซึ่งถือเป็นเลขมงคล จึงใช้สืบต่อมาจนปัจจุบัน

ภารกิจ[แก้]

นเรศวร 261 มีภารกิจด้านการปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากลและการก่อการร้ายในเมืองทุกรูปแบบ นอกจากนั้นยังมีภารกิจการถวายความปลอดภัยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถและ พระบรมวงศานุวงศ์ เมื่อเสด็จแปรพระราชฐานประทับแรม ณ พระตำหนักต่าง ๆ ทั่วประเทศ รักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ และสถานที่สำคัญซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ งานเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด และงานกู้ภัยทางยุทธวิธี

โครงสร้างหน่วย[แก้]

  • กองร้อยปฏิบัติการพิเศษ (ร้อย ปพ.)
    • กองร้อยปฏิบัติการพิเศษที่ 1 (ร้อย ปพ.1)
    • กองร้อยปฏิบัติการพิเศษที่ 2 (ร้อย ปพ.2)
    • กองร้อยปฏิบัติการพิเศษที่ 3 (ร้อย ปพ.3)
  • กองร้อยกู้ชีพ
  • กองร้อยงานเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด
  • กองร้อยระวังป้องกัน

การสั่งใช้กำลัง[แก้]

ปฏิบัติทางยุทธวิธีต่อเมื่อ ได้รับคำสั่งโดยตรงจาก ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในการสั่งใช้กำลัง

ผลการปฏิบัติที่สำคัญ[แก้]

สมุดภาพ[แก้]

อาร์มช้างศึก อาร์มสังกัด
อาร์มสังกัดตำรวจพลร่ม ประดับโดยหน่วยนเรศวร 261
พรางไทเกอร์ (Tigerstripe)

อ้างอิง[แก้]

  • พระราชกฤษฎีการแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2548
  • เอกสารบรรยายสรุป กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน พ.ศ. 2556

ดูเพิ่ม[แก้]