โปเกมอนช็อก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โปเกมอนช็อก (ญี่ปุ่น: ポケモンショックโรมาจิPokemon Shokkuทับศัพท์: Pokemon Shock) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1997 ซึ่งตรงกับวันออกอากาศของอนิเมะเรื่อง โปเกมอนภาคแรก ตอนที่ 38 นักรบสมองกลโพรีกอน (ญี่ปุ่น: でんのうせんしポリゴンโรมาจิDennō Senshi Porigon) ทำให้ผู้ชมมีอาการลมชักที่เกิดจากอาการไวต่อแสงและถูกนำส่งโดยรถพยาบาลเป็นจำนวนมาก และเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เรื่องนี้ถูกระงับการออกอากาศเป็นเวลาประมาณ 4 เดือน

ที่มาและสาเหตุ[แก้]

เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1997 เวลา 18:30 น. เวลามาตรฐานญี่ปุ่น ได้ออกอากาศอนิเมะเรื่อง โปเกมอน ตอนที่ 38 นักรบสมองกลโพรีกอน เรทติ้งผู้ชมจากการสำรวจของ Video Research ในขณะนั้นอยู่ที่ 16.5% ในเขตภูมิภาคคันโต และ 10.4% ในเขตภูมิภาคคันไซ

เนื้อหาในตอนนี้คือพวกซาโตชิไปที่โปเกมอนเซ็นเตอร์ แต่เครื่องส่งโปเกมอนไม่หยุดทำงาน โดยสาเหตุมาจากไวรัสคอมพิวเตอร์ของแก๊งร็อคเก็ต จึงนำโปเกมอน CG โพลีกอน เพื่อเจาะระบบเข้าไปในระบบการถ่ายโอน ซึ่งในตอนดังกล่าวได้แสดงภาพโลกทัศน์ของคอมพิวเตอร์ โดยมีฉากการโจมตีด้วยจรวดแอนติไวรัส ที่เต็มไปด้วยแสงกะพริบสีแดงและสีฟ้า ซึ่งแสงที่ว่ามันเข้มข้นมาก (แสงกะพริบอัตราประมาณ 12 Hz ประมาณ 4 วินาที) ซึ่งฉากดังกล่าวคือพิคาชูได้ใช้ท่าหนึ่งแสนโวลต์ใส่มิชไชล์ที่สกัดแอนติไวรัส ตามรายงานข่าว คาดว่ามีผู้ชมจำนวน 3.45 ล้านคนที่มีอายุระหว่าง 4 ถึง 12 ปีรับชมตอนดังกล่าว และว่ากันว่ามีฉากที่ใช้แสงกะพริบถึง 106 ครั้งใน 4 วินาทีจาก 18:51:34 น.[1][2][3]

หลังจากการออกอากาศของตอนนี้จบลง ผู้ชมบางส่วนที่กำลังรับชมการออกอากาศต่างพูดถึงสภาพร่างกายที่รู้สึกย่ำแย่และถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน ผู้ป่วยจำนวนมากที่นำส่งโรงพยาบาลเป็นเด็กถึง 651 คนใน 30 จังหวัดในประเทศญี่ปุ่นถูกส่งตัวไปโรงพยาบาล โดยมากกว่า 130 คนต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยมีอาการปวดหัววิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ บางคนมีอาการชักและหมดสติ ผู้ชมชาวญี่ปุ่นจำนวน 700 คนถูกส่งเข้าโรงพยาบาลหลังมีอาการลมชักกะทันหัน[4] ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคลมชักที่เกิดจากอาการไวต่อแสง ซึ่งโรคดังกล่าวเป็นอาการหนึ่งของโรคลมบ้าหมู โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีแสงกะพริบกระตุ้นให้เกิดอาการชักได้ เช่น แสงไฟ วูบๆ วาบๆ เป็นจังหวะ

และจำนวนเด็กทั้งหมดที่ไม่ได้ถูกนำส่งโรงพยาบาลแต่ได้รับผลกระทบทางใดทางหนึ่งนั้นคาดว่าจะมีจำนวนประมาณหนึ่งพันคน[5] อีกทั้งผู้ชมเกือบ 700 คนที่ถูกหามส่งโรงพยาบาล จากการดูรายการโทรทัศน์เพียงรายการเดียว ซึ่งว่ากันว่าเป็นรายการโทรทัศน์แรกในประวัติศาสตร์ของโลกที่เกิดเรื่องแบบนี้[5]

การรายงานข่าวในขณะนั้น[แก้]

ทันทีหลังจากการออกอากาศ ข่าวแรกของเหตุการณ์นี้ได้ถูกนำรายงานข่าวในรายการ "NHK News" (NHK General TV) ซึ่งออกอากาศเวลา 21:59 น. ในช่วงวันเดียวกันกับวันที่ออกอากาศ หลังจากนั้นก็มีการรายงานข่าวในรายการ "News JAPAN" (Fuji TV) ที่ออกอากาศตั้งแต่เวลา 23:30 น. ในวันเดียวกัน วันรุ่งขึ้น มีการรายงานข่าวนี้อย่างกว้างขวางในสื่อมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์และรายการทั่วไป (ทั้ง Nippon TV "The Wide", Fuji TV "FNN News 555 The Human" เป็นต้น)

และเหตุการณ์นี้ทำให้เกิดจราจลทั้งการทุบทำลายเกมและสินค้าโปเกมอนทั้งหมดที่เกิดเป็นข่าวและประนามกล่าวหา ชูโด ทาเกชิ ผู้เขียนบทอนิเมะโปเกมอนภาคแรก ว่าใช้ผลประโยชน์จากความวุ่นวายและมองว่ารู้สึกว่าพวกเขาเป็นคนไร้เหตุผล[6]

โดยก่อนหน้านี้ ได้มีเหตุการณ์กรณีเดียวกันคืออนิเมะทางโทรทัศน์เรื่อง YAT ตะลุยอวกาศ ตอนที่ 25 ที่ออกอากาศเมื่อวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 1997 ก่อนเกิดเหตุการณ์นี้ ซึ่งผู้ชมที่รับชมตอนดังกล่าวเกิดอาการเดียวกัน แต่ทว่ามีจำนวนผู้ชมที่รับผลกระทบในตอนนั้นยังไม่เยอะมากเท่าโปเกมอน

อย่างไรก็ตาม หลังจากผลกระทบของเหตุการณ์ดังกล่าวนั้น ทำให้สื่อต่างๆ ทั้งอนิเมะ, ละครไลฟ์แอ็คชัน ที่ใช้เทคนิคแสงกะพริบไวแสงนั้น ต่างก็เริ่มปรับเปลี่ยนไม่ใช้แสงกะพริบไวแสงหรือปรับปรุงลดใช้แสงลง เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยแบบโปเกมอน รวมไปถึงสื่อสำนักข่าวต่างๆ งดใช้แสงแฟลชในการถ่ายจากกล้องถ่ายรูป จนเวลาผ่านไป เหตุการณ์โปเกมอนช็อกค่อยๆ เริ่มซาลงไป

การตอบกลับในที่ต่างๆ[แก้]

การตอบกลับของทีวีโตเกียวและสถานีโทรทัศน์ในเครือ[แก้]

หลังจากเหตุการณ์นี้เป็นข่าวดังไปทั่วโลก ทางสถานีโทรทัศน์ทีวีโตเกียวต้องออกมาขอโทษและสั่งระงับการออกอากาศอนิเมะโทรทัศน์โปเกมอนเป็นการชั่วคราว รวมถึงรายการโทรทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับโปเกมอนตั้งแต่รายการพิเศษ และ รายการโอฮะสตาร์ ในช่วงเปิดเผยข้อมูลขาวสารเกี่ยวกับโปเกมอน เพื่อค้นหาสาเหตุที่เกิดขึ้น จนกว่าจะทราบผลการสอบสวน นอกจากนี้ ในวันที่ 17 ธันวาคม ปีเดียวกัน หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว ในช่วงที่ออกอากาศอนิเมะเรื่อง อูเทนะ พลิกฟ้าตามหารัก ได้มีข้อความประกาศเรียกร้องไม่ให้ผู้บันทึกเทปอนิเมะโปเกมอนตอนดังกล่าวที่ออกอากาศเมื่อวาน และวันที่ 18 ธันวาคม วันถัดไปอีกวัน โคอิจิ ยามาเดระ พิธีกรหลักของรายการโอฮะสตาร์ในขณะนั้น ได้ประกาศขอความร่วมมือไม่บันทึกเทปตอนที่เกิดขึ้นเช่นกัน

หลังผ่านครบ 1 สัปดาห์หลังจากเกิดข้อพิพาทดังกล่าว ทางสถานีโทรทัศน์ได้นำอนิเมะเรื่อง ยามาซากิ ราชันย์ชั้นเรียน มาออกอากาศแทน นอกจากนี้ทางทีวีโตเกียวสั่งงดออกอากาศรายการที่เกี่ยวข้องกับโปเกมอน รวมไปถึงทางสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นและเครือข่ายอื่นๆ ทำให้การออกอากาศล้าช้าเป็นอย่างมาก และร้องขอสั่งลบวิดีโอตอนดังกล่าวจากร้านเช่าวิดีโอออก

สถานีโทรทัศน์อื่นๆ[แก้]

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ทาง NHK ได้เปิดตัวโครงการ ทบทวนปัญหาแอนิเมชัน โดยได้เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้มีผู้ชมที่เป็นเด็กถึง 4 คน มีอาการสภาพร่างกายไม่ดี หลังจากชมอนิเมะเรื่อง YAT ตะลุยอวกาศ และเป็นสาเหตุเดียวกันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้มีคำกล่าวขอโทษว่า หากเราตรวจสอบสาเหตุในเวลานั้น เหตุการณ์นี้อาจไม่เกิดขึ้น

ในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1998 NHK และ สมาคมผู้ประกอบการแพร่ภาพกระจายเสียงเชิงพาณิชย์แห่งประเทศญี่ปุ่น ได้มีกำหนดข้อหลักเกณฑ์สำหรับแอนิเมชันและเทคนิคภาพยนตร์ โดยผู้ประกอบธุรกิจแต่ละรายให้ความสำคัญการแสดงออกของสื่อด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  1. ภาพฉากแสงกะพริบ ต้องให้เป็นสีแดงสดเท่านั้น
  2. การใช้พลิกกลับหน้าจอ ด้วยการใช้คอนทราสต์ที่สูงที่สุด ด้วยการเปลี่ยนแปลงฉากอย่างกระทันหัน
  3. การใช้รูปแบบปกติ

เพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทาง NHK ได้ออกรายการพิเศษฉุกเฉินชื่อว่า TV อนิเมะ ~ทำไมเด็กๆ ถึงล้มลง~ นอกจากนี้ เพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์นี้ NHK ได้เพิ่มข้อกำหนดว่า "การพิจารณาผลกระทบของเทคนิควิดีโอ เช่น แอนิเมชั่นบนร่างกาย" ได้ถูกเพิ่มเข้าไปใน "มาตรฐานรายการในประเทศของสมาคมผู้ประกอบการแพร่ภาพกระจายเสียงเชิงพาณิชย์แห่งประเทศญี่ปุ่น" บทที่ 1 ส่วนที่ 11 "การแสดงออก" บังคับใช้เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ภายหลังการปรึกษาหารือและการรายงานต่อสภารายการกระจายเสียงกลางและมติของคณะกรรมการบริหาร NHK

รัฐบาลญี่ปุ่น[แก้]

ทางรัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้ กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งกลุ่มวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับอาการชักจากแสง, กระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคมประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งกลุ่มวิจัยด้านกิจการกระจายเสียงและโสตทัศนูปกรณ์ รวมไปถึง NHK และสหพันธ์กิจการกระจายเสียงและกระจายเสียงเชิงพาณิชย์แห่งประเทศญี่ปุ่น ได้ทำการตกลงที่จะกำหนดแนวปฏิบัติร่วมกัน

ในส่วนกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคมออกประกาศเตือนอย่างเข้มงวดเมื่อวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1998 ในนามอธิบดีกรมกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฐานฝ่าฝืนวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติกิจการกระจายเสียงและกิจการวิทยุกระจายเสียง ขอเรียกร้องให้ TV Tokyo ดำเนินมาตรการการกำหนดแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำอีกครั้ง[7]

การกลับมาออกอากาศอีกครั้ง[แก้]

หลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเริ่มซาลง มีเสียงของผู้ชมหลายคนที่ต้องการเรียกร้องให้อนิเมะโปเกมอนกลับมาออกอากาศอีกครั้ง และจากความคิดเห็นทั้งหมด 3,076 ความคิดเห็นจากทีวีโตเกียว พบว่า 2,223 ความคิดเห็น หรือ 72% ต้องการให้กลับมาออกอากาศต่อ ทำให้อนิเมะโปเกมอน ถูกอนุมัติกลับมาออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ทีวีโตเกียวอีกครั้ง ต่อมาเมื่อวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1998 NHK และสมาคมผู้ประกอบการแพร่ภาพกระจายเสียงเชิงพาณิชย์แห่งประเทศญี่ปุ่น ได้ประกาศว่าจะกลับมาออกอากาศภายในวันที่ 16 เมษายน

เมื่อวันที่ 8 เมษายน NHK และสมาคมผู้ประกอบการแพร่ภาพกระจายเสียงเชิงพาณิชย์แห่งประเทศญี่ปุ่น ได้ประกาศสร้างกฏหลักเกณฑ์ปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สื่อประกอบต่างๆ เช่นฉากแสงกระพริบ และเมื่อวันที่ 11 เมษายน เวลา 13:00 น. ถึง 14:00 น. ได้มีรายการพิเศษ รายงานการตรวจสอบปัญหาอนิเมะโปเกมอน (アニメポケットモンスター問題検証報告) ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ทีวีโตเกียวและสถานีในเครือทั้ง 6 แห่ง และอนิเมะโปเกมอนได้ย้ายวันและเวลาออกอากาศจากทุกวันอังคารเป็นทุกวันพฤหัสบดี ในช่วงเวลาไพร์มไทม์ เวลา 19:00 น. เมื่อวันที่ 16 เมษายน ตามประกาศกำหนดการณ์ไว้ ซึ่งตอนที่ออกอากาศตอนใหม่นั่นก็คือ ป่าของพิคาชู และ 4 พี่น้องอีวุย โดยออกอากาศ 2 ตอนใน 1 ชั่วโมงเพื่อกลับมาออกอากาศอีกครั้ง ผลการสำรวจของ Video Research ในช่วงนั้น เรทติ้งของตอนใหม่ที่ได้กลับมาออกอากาศอยู่ที่ 16.2%[8]

กรณีหลังเกิดเหตุตอนทื่ 38 และตัวละครโพรีกอน[แก้]

หลังจากที่อนิเมะโปเกมอนกลับมาออกอากาศอีกครั้ง จุดเปลี่ยนแปลงของตัวอนิเมะคือ ฉากพิคาชูที่ใช้ท่าไม้ตายหนี่งแสนโวลต์ ได้ปรับเปลี่ยนเอฟเฟกต์ให้แสงสว่างจากกระแสไฟฟ้าลดลง และภาพในเพลงเปิดได้ปรับเปลี่ยนบางส่วน โดยภาพฉากโปเกมอนได้เปลี่ยนจากภาพโปเกมอนภาพต่อภาพมาเป็นภาพเรียง 4 ตัว และในเวอร์ชันที่ออกอากาศทางช่องทีวีดาวเทียมญี่ปุ่นคิดส์สเตชัน ภาพอินโทรของเพลงเปิด เมะซาเสะ โปเกมอนมาสเตอร์ ได้เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน รวมไปถึงฉากพักโฆษณาตัดส่วนเอฟเฟกต์ไฟฟ้าออกไปหมด

ในส่วนของโพรีกอน หลังจากเกิดเรื่อง โพรีกอน ไม่มีบทบาทและปรากฏตัวในอนิเมะตอนอื่นอีกเลย รวมไปถึงร่างพัฒนาเพิ่มเติมอย่าง โพรีกอน 2 และ โพรีกอน Z แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งโพรีกอนและร่างพัฒนาก็มีปรากฏตัวในภาพยนตร์โปเกมอน จากฉากช่วงเกริ่นนำของเรื่อง

ผลกระทบต่อผลงานอื่นๆ[แก้]

การแจ้งคำเตือนระหว่างออกอากาศ[แก้]

ผลกระทบหลังจากนั้น[แก้]

ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเกม[แก้]

การโต้ตอบในสื่อต่างประเทศ[แก้]

จากเหตุการณ์นี้ทำให้มีสื่อล้อเลียนโปเกมอนเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยปรากฏการเย้ยหยันในเรื่องเดอะซิมป์สันส์ ตอน Thirty Minutes over Tokyo[9] และเรื่องเซาท์พาร์ก ตอน Chinpokomon[10]

อื่นๆ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. https://www.excite.co.jp/news/article/E1488800805939/
  2. 1997年12月18日サンケイスポーツ16面
  3. ポケモン騒動を検証する(TVアニメ資料館)
  4. 日本放送協会放送文化研究所 編集 (1998), NHK年鑑'98, 日本放送出版協会, p. 17 {{citation}}: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help)
  5. 5.0 5.1 [検証ポケモン事件]ピカチュウからの警告』(『GALAC』1998年4月号) - 坂本衛ウェブサイト
  6. WEBアニメスタイル_COLUMN 第162回「ポケモン事件、関係者たちは……」 - 首藤剛志 2014年10月7日閲覧。
  7. 村上聖一. "戦後日本における放送規制の展開―規制手法の変容と放送メディアへの影響―" (PDF). NHK放送文化研究所 年報2015 第59集. pp. 86, 88. สืบค้นเมื่อ 2019年12月25日. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. 日本放送協会放送文化研究所 編集 (1998), NHK年鑑'98, 日本放送出版協会, p. 18 {{citation}}: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help)
  9. "Thirty Minutes Over Tokyo". The Simpsons Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-27. สืบค้นเมื่อ July 16, 2008.
  10. "South Park Goes Global: Reading Japan in Pokemon". University of Auckland. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-17. สืบค้นเมื่อ September 30, 2008.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)