ธงชัย วินิจจะกูล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาสตราจารย์

ธงชัย วินิจจะกูล
ธงชัย วินิจจะกูล ในปี 2563
เกิดธงชัย วินิจจะกูล
1 ตุลาคม พ.ศ. 2500 (66 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
การศึกษาปริญญาเอก
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยซิดนีย์
อาชีพนักประวัติศาสตร์
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2534 – ปัจจุบัน​
มีชื่อเสียงจากกำเนิดของแนวคิดชาตินิยมในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย
Siam Mapped

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ธงชัย วินิจจะกูล เป็นนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์กิตติคุณประจำภาควิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประวัติศาสตร์ไทย ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน

ประวัติ[แก้]

เกิดและโตที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ครอบครัวมีภูมิลำเนาที่อำเภอพระนคร[1] ธงชัยจบการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนอัมพรไพศาล จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีได้รับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับ 1 จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทและเอก สาขาวิชาประวัติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย อดีตรองนายกองค์การบริหารองค์การนักศึกษามหาวิทยาธรรมศาสตร์อดีตเป็นผู้นำนักศึกษาซึ่งถูกจับกุมในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ต่อมาย้ายไปสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 และได้ทำงานในตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประวัติศาสตร์ไทย ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน สหรัฐอเมริกา โดยในปัจจุบันมีตำแหน่งศาสตราจารย์กิตติคุณ[2]

เขามีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในด้านประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและวิทยาการของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยุคต้นสมัยใหม่และสมัยใหม่ (คริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20) โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับการปะทะกันทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับอารยธรรมตะวันตก ประวัติศาสตร์ความคิดและการเมืองวัฒนธรรมของสยาม/ไทย ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงปัจจุบัน ประวัติศาสตร์ชาตินิยม ประวัติศาสตร์ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ความทรงจำ ประวัติศาสตร์บาดแผล และวิธีที่สังคมจัดการกับอดีตที่เป็นปัญหาเหล่านั้น[2]

ผลงาน[แก้]

  • Siam Mapped: A History of the Geo-Body of a Nation. Honolulu: University of Hawaii Press, 1994. (Winner of the 1995 Harry J. Benda Prize in Southeast Asian Studies)[3]
  • "The Quest for 'Siwilai': A geographical discourse of Civilizational Thinking in the Late 19th and early 20th Century Siam", Journal of Asian Studies 59, 3 (August 2000): 528–549.

รางวัล[แก้]

พ.ศ. 2566[แก้]

  • รางวัลฟุกุโอกะ (Fukuoka Prize) ประเภทรางวัลสูงสุด (Grand Prize) ประจำปี 2023[4] จากการสร้างผลงานวิชาการเพื่อขับเคลื่อนการตระหนักถึงประชาธิปไตยในนักเรียน นักศึกษา และประชาชน

อ้างอิง[แก้]

  1. "บทสัมภาษณ์วัฒนชัย วินิจจะกูล ผู้จัดการอนุสรณ์สถาน ๑๔ ตุลาคนแรก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-28. สืบค้นเมื่อ 2020-10-06.
  2. 2.0 2.1 Department of History, ประวัติบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัย, University of Wisconsin-Madison, เรียกดู 6 กันยายน พ.ศ. 2550
  3. "1995 Harry J. Benda Prize in Southeast Asian Studies". Association for Asian Studies (AAS). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-27. สืบค้นเมื่อ 2019-01-20.
  4. "Thongchai WINICHAKUL". Fukuoka Prize (ภาษาอังกฤษ).

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]