ท่าอากาศยาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ท่าอากาศยาน (อังกฤษ: airport) คือ สถานที่สำหรับจอดอากาศยาน เพื่อขนส่งผู้โดยสาร ขนส่งสินค้า ซ่อมแซม บำรุงรักษา และแวะพัก โดยท่าอากาศยาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ ท่าอากาศยานพาณิชย์ และท่าอากาศยานทางการทหาร

ข้อมูลพื้นฐาน[แก้]

ท่าอากาศยานขนาดเล็กส่วนใหญ่มักจะมีทางวิ่งเดียวสั้นกว่า 1,000 เมตร (3,300 ฟุต) ท่าอากาศยานขนาดใหญ่สำหรับสายการบินโดยทั่วไปมีทางวิ่งแบบลาดยาง 2,000 เมตร (6,600 ฟุต) หรือมากกว่า ท่าอากาศยานขนาดเล็กจำนวนมากมีสนามหญ้าหรือรันเวย์กรวดมากกว่ายางมะตอยหรือคอนกรีต ทั่วโลกมีท่าอากาศยานทั้งหมดราว 44,000 ท่าอากาศยาน

ท่าอากาศยานทั้งหมดต่าง ๆ ทั่วโลก

การปฏิบัติงานของท่าอากาศยาน[แก้]

ท่าอากาศยานส่วนใหญ่จะมีบริษัทหรือหน่วยงานรัฐบาลหรือหน่วยงานทางการทหารเข้ามาทำงาน เช่น กองทัพอากาศ, บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (AOT), Heathrow Airport Holdings ฯลฯ

สิ่งก่อสร้างของท่าอากาศยาน[แก้]

บริเวณนอกพื้นที่ของท่าอากาศยานจะมีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ เช่น บริเวณลานจอดรถ สถานีขนส่งผู้โดยสาร สถานีรถไฟ และถนน ส่วนบริเวณของอากาศยานจะมีทางวิ่งเครื่องบิน ทางแท็กซี่ และมีบริเวณลานจอดอากาศยานติดอาคาร ลานจอดอากาศยานระยะยาว และหอบังคับการบิน บางท่าอากาศยานขนาดใหญ่จะมีโรงแรมเพื่อรองรับนักธุรกิจที่ต้องการเข้ามาพักเพื่อทำงานชั่วคราว

ส่วนประกอบของท่าอากาศยานหลัก

สินค้าในบริเวณท่าอากาศยาน[แก้]

การบริการสำหรับผู้โดยสารชั้นพิเศษ (VIP)[แก้]

รายชื่อท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในโลก[แก้]

อันดับ ท่าอากาศยาน เมืองหลัก พื้นที่ (ตร.กม.)
1 ซาอุดีอาระเบีย ท่าอากาศยานนานาชาติคิงฟาห์ด อัดดัมมาม 776.00 ตร.กม.
2 สหรัฐ ท่าอากาศยานนานาชาติเดนเวอร์ เดนเวอร์ 135.71 ตร.กม.
3 สหรัฐ ท่าอากาศยานนานาชาติดัลลาส-ฟอร์ตเวิร์ธ แดลลัส 69.63 ตร.กม.
4 สหรัฐ ท่าอากาศยานนานาชาติออร์แลนโด ออร์แลนโด 53.83 ตร.กม.
5 สหรัฐ ท่าอากาศยานนานาชาติวอชิงตันดัลเลส วอชิงตัน ดี.ซี. 48.56 ตร.กม.
6 สหรัฐ ท่าอากาศยานจอร์จบุชอินเตอร์คอนติเนนตัล ฮิวสตัน 44.51 ตร.กม.
7 จีน ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตง เซี่ยงไฮ้ 39.88 ตร.กม.
8 อียิปต์ ท่าอากาศยานนานาชาติไคโร ไคโร 36.25 ตร.กม.
9 ไทย ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กรุงเทพมหานคร 32.40 ตร.กม.
10 ฝรั่งเศส ท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกล ปารีส 32.37 ตร.กม.
11 สเปน ท่าอากาศยานมาดริด-บาราฆัส มาดริด 30.50 ตร.กม.
12 สหรัฐ ท่าอากาศยานนานาชาติโอแฮร์ ชิคาโก 29.13 ตร.กม.
13 สหรัฐ ท่าอากาศยานนานาชาติซอลต์เลกซิตี ซอลต์เลกซิตี 28.30 ตร.กม.
14 เนเธอร์แลนด์ ท่าอากาศยานอัมสเตอร์ดัมสคิปโฮล อัมสเตอร์ดัม 27.87 ตร.กม.
15 เยอรมนี ท่าอากาศยานแฟรงก์เฟิร์ต แฟรงก์เฟิร์ต 23.00 ตร.กม.

ท่าอากาศยานหลัก[แก้]

ทวีปยุโรป
ทวีปเอเชีย
ทวีปอเมริกาเหนือ
ทวีปอเมริกาใต้
ทวีปแอฟริกา
ทวีปโอเชียเนีย

ดูเพิ่ม[แก้]

บรรณานุกรม[แก้]

  • Bluffield, Robert. 2009. Imperial Airways - The Birth of the British Airline Industry 1914-1940. Ian Allan ISBN 978-1906537074
  • Salter, Mark. 2008. Politics at the Airport. University of Minnesota Press. This book brings together leading scholars to examine how airports both shape and are shaped by current political, social, and economic conditions.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]