ท่อไต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่อไต
ท่อไต (มุมมองทางกายวิภาค)
ท่อไต (มุมมองโครงร่าง)
1. ระบบปัสสาวะของมนุษย์: 2. ไต, 3. กรวยไต, 4. ท่อไต, 5. กระเพาะปัสสาวะ, 6. ท่อปัสสาวะ (ซ้ายมือและตัดแบ่งหน้าหลัง), 7. ต่อมหมวกไต

หลอดเลือด:
8. หลอดเลือดแดงและดำไต (Renal artery and vein), 9. ท่อเลือดดำล่าง (Inferior vena cava), 10. เอออร์ตาส่วนท้อง, 11. หลอดเลือดแดงและดำกระดูกปีกสะโพกร่วม (Common iliac artery and vein)

โปร่งแสง:
12. ตับ, 13. ลำไส้ใหญ่, 14. เชิงกราน
รายละเอียด
คัพภกรรมUreteric bud
หลอดเลือดแดงหลอดเลือดแดงกระเพาะปัสสาวะบน (Superior vesical artery), หลอดเลือดแดงช่องคลอด (Vaginal artery), แขนงท่อไตของหลอดเลือดแดงไต (Ureteral branches of renal artery)
ตัวระบุ
ภาษาละตินUreter
MeSHD014513
TA98A08.2.01.001
TA23394
FMA9704
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

ในกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ ท่อไต (อังกฤษ: ureter) เป็นท่อเกิดจากใยกล้ามเนื้อเรียบซึ่งลำเลียงปัสสาวะจากไตสู่กระเพาะปัสสาวะ ในผู้ใหญ่ ท่อไตปกติยาว 25–30 เซนติเมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3–4 มิลลิเมตร ในทางมิญชวิทยา ท่อไตมีเนื้อเยื่อบุผิวชนิดแปรเปลี่ยนและชั้นกล้ามเนื้อเรียบเพิ่มในส่วนปลายหนึ่งในสามเพื่อช่วยบีบรูด