ทุพโภชนาการ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทุพโภชนาการ
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-9263.9
eMedicineped/1360
MeSHD044342

ทุพโภชนาการ (อังกฤษ: malnutrition) เป็นภาวะซึ่งเกิดขึ้นจากการรับประทานอาหารไม่สมดุลกัน โดยอาจมีสารอาหารบางอย่างได้รับไม่เพียงพอ เกิน หรือผิดสัดส่วน[1][2] ผลอาจทำให้เกิดความผิดปกติทางโภชนาการต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับว่าสารอาหารที่ได้รับนั้นขาดหรือเกิน

องค์การอนามัยโลกกล่าวถึงทุพโภชนาการว่าเป็นภัยคุกคามร้ายแรงที่สุดต่อสาธารณสุขของโลก[3] การปรับปรุงสารอาหารถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นรูปแบบการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพสูงสุด[3][4] มาตรการฉุกเฉินมีทั้งการจัดสารอาหารรองที่ขาดโดยใช้ผงกระแจะ (sachet powder) เสริมอาหาร เช่น เนยถั่ว หรือผ่านผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโดยตรง[5][6] แบบจำลองการบรรเทาทุพภิกขภัยได้มีการใช้เพิ่มขึ้นโดยกลุ่มช่วยเหลือ ที่เรียกร้องให้ส่งเงินหรือคูปองเงินสดแก่ผู้หิวโหยเพื่อจ่ายชาวนาท้องถิ่น แทนที่จะซื้ออาหารจากประเทศผู้บริจาค ซึ่งมักกำหนดโดยกฎหมาย เพราะจะเสียเงินไปกับค่าขนส่ง[7][8]

มาตรการระยะยาวรวมถึงการลงทุนในเกษตรกรรมสมัยใหม่ในที่ซึ่งขาดแคลน เช่น ปุ๋ยและชลประทาน ซึ่งกำจัดความหิวโหยได้อย่างใหญ่หลวงในประเทศพัฒนาแล้ว[9] อย่างไรก็ดี ธนาคารโลกตำหนิหน่วยงานของรัฐที่จำกัดชาวนาอย่างรุนแรง และการขยายการใช้ปุ๋ยถูกขัดขวางโดยกลุ่มสิ่งแวดล้อมบางกลุ่ม[10][11]

ผล[แก้]

อัตราการตาย[แก้]

ตามข้อมูลของ Jean Ziegler ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติด้านสิทธิในอาหารตั้งแต่ พ.ศ. 2543 ถึงมีนาคม พ.ศ. 2551 อัตราการตายเนื่องจากทุพโภชนาการคิดเป็นสัดส่วน 58% ของการตายทั้งหมดใน พ.ศ. 2549 "ในโลกนี้ ประมาณ 62 ล้านคน เมื่อรวมสาเหตุการทายทุกอย่างด้วยกัน ตายในแต่ละปี หนึ่งในสิบสองคนทั่วโลกขาดอาหาร[12] ใน พ.ศ. 2549 มากกว่า 36 ล้านคนเสียชีวิตด้วยความหิวโหยหรือโรคอันเนื่องมาจากการขาดสารอาหารรอง"[13]

ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก จนถึงขณะนี้ทุพโภชนาการเป็นสาเหตุใหญ่ที่สุดของการตายในเด็ก มากถึงครึ่งหนึ่งในกรณีทั้งหมด[3] เด็กหกล้านคนเสียชีวิตด้วยความหิวโหยทุกปี[14] น้ำหนักแรกคลอดต่ำและภาวะทารกโตช้าในครรภ์เป็นเหตุการเสียชีวิตของเด็ก 2.2 ล้านคนต่อปี การไม่มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เลวทำให้เด็กเสียชีวิตอีก 1.4 ล้านคน ภาวะขาดแคลนอื่น ๆ เช่น การขาดวิตามินเอหรือสังกะสี ทำให้เด็กเสียชีวิต 1 ล้านคนต่อปี ทุพโภชนาการในช่วงหนึ่งถึงสองปีแรกจะเปลี่ยนแปลงย้อนกลับไม่ได้ เด็กที่ขาดอาหารจะโตขึ้นโดยมีสุขภาพเลวกว่าและมีสัมฤทธิ์ผลการศึกษาต่ำกว่า ลูกของเด็กเหล่านี้ก็มักมีแนวโน้มตัวเล็กกว่า ทุพโภชนาการก่อนหน้านี้เคยถูกมองว่าทำให้ปัญหาของโรคทรุดหนัก เช่น หัด ปอดบวม และท้องร่วง แต่ทุพโภชนาการเองก็อาจเป็นเหตุของโรคได้เช่นกัน และสามารถทำให้ถึงตายได้[3]

ทางจิตวิทยา[แก้]

ทุพโภชนาการ ในรูปของการขาดไอโอดีน เป็น "สาเหตุที่ป้องกันได้ที่พบมากที่สุดของภาวะความบกพร่องด้านจิตใจทั่วโลก"[15] แม้การขาดไอโอดีนปานกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสตรีมีครรภ์และทารก อาจทำให้ระดับสติปัญญา (ไอคิว) ลดลงได้ถึง 10 ถึง 15 จุด ซึ่งลิดศักยภาพการพัฒนาประเทศอย่างไม่อาจคำนวณได้[15] ผลกระทบที่มองเห็นได้ชัดเจนที่สุดและรุนแรงที่สุด คอพอก เครทินิซึมและสภาพแคระ มีผลต่อชนกลุ่มน้อยขนาดเล็ก โดยมักเกิดในหมู่บ้านภูเขา แต่ 16% ของประชากรโลกอย่างน้อยมีคอพอกอย่างอ่อนซึ่งเป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ในคอขยายใหญ่[15]

มะเร็ง[แก้]

ปัจจุบันมะเร็งพบได้ทั่วไปในประเทศกำลังพัฒนา ตามการศึกษาของสำนักงานเพื่อการวิจัยมะเร็งนานาชาติ "ในโลกกำลังพัฒนา มะเร็งตับ กระเพาะอาหารและหลอดอาหารพบได้มากกว่า โดยมักเชื่อมโยงกับการบริโภคอาหารแปรรูปที่มีสารก่อมะเร็ง เช่น อาหารรมควันหรือใส่เกลือ และการติดเชื้อปรสิตซึ่งโจมตีอวัยวะ" อัตรามะเร็งปอดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศยากจนเพราะมีการใช้ยาสูบเพิ่มขึ้น สำหรับประเทศพัฒนาแล้ว "มีแนวโน้มจะเป็นมะเร็งที่เชื่อมโยงกับความร่ำรวยหรือ 'วิถีชีวิตตะวันตก' มะเร็งลำไส้ใหญ่ ไส้ตรง เต้านมและต่อมลูกหมาก ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากความอ้วน การขาดการออกกำลังกาย อาหารและอายุ"[16]

อ้างอิง[แก้]

  1. malnutrition ใน พจนานุกรมศัพท์การแพทย์ดอร์แลนด์
  2. Sullivan, arthur (2003). Economics: Principles in action. Upper Saddle River, New Jersey 07458: Prentice Hall. p. 481. ISBN 0-13-063085-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 2021-02-26. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)CS1 maint: location (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Malnutrition The Starvelings". The Economist.
  4. "The Hidden Hunger". New York Times. 2009-05-24.
  5. "Firms target nutrition for the poor". BBC News.
  6. "Can one pill tame the illness no one wants to talk about?". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-26. สืบค้นเมื่อ 2011-11-20.
  7. "UN aid debate: give cash not food?". Christian Science Monitor. 2008-06-04.
  8. "Cash roll-out to help hunger hot spots". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-12. สืบค้นเมื่อ 2011-11-20.
  9. "Obama enlists major powers to aid poor farmers with $15 billion". 2009-07-09.
  10. "Ending Famine, Simply by Ignoring the Experts". New York Times. 2007-12-02.
  11. "Forgotten benefactor of humanity". The Atlantic.
  12. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-18. สืบค้นเมื่อ 2011-11-20.
  13. Ziegler, Jean (2007). L'Empire de la honte. Fayard. p. 130. ISBN 978-2-253-12115-2.
  14. http://edition.cnn.com/2009/WORLD/europe/11/17/italy.food.summit/
  15. 15.0 15.1 15.2 "In raising the world's IQ the secret is in salt". New York Times. 2006-12-16.
  16. Coren, Michael (2005-03-10). "Study: Cancer no longer rare in poorer countries". CNN. สืบค้นเมื่อ 2007-01-01.