ทาดูเคปา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนหนึ่งของบันทึกแห่งอาร์มานาในส่วนของการเจรจาขออภิเษกสมรสระหว่างอเมนโฮเทปที่ 3 กับพระนางทาดูเคปา

ทาดูเคปา, ในภาษาเฮอร์เรียนเรียกว่า ทาดู-เฮปา พระองค์เป็นพระราชธิดาของธัชรัตตา กษัติย์แห่งไมตานนี (ปกครองระว่าง 1382 - 1342 ปีก่อนคริสตกาล) กับพระมเหสีจูนิ และเป็นพระราชนัดดาของกษัตริย์อาร์ตาซูมารา พระนางจิลูเคปามีศักดิ์เป็นพระปิตุจฉาของพระองค์ซึ่งทรงอภิเษกสมรสกับฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 ในปีที่ 10 แห่งการครองราชย์ พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 ในอีกสองทศวรรษต่อมา

การอภิเษกสมรสกับฟาโรห์อเมนโฮเทปที่สาม[แก้]

มีข้อมูลค่อนข้างน้อยที่สามารถทราบถึงที่มาเจ้าหญิงไมตานนีพระองค์นี้ โดยสันนิษฐานว่าพระองค์ประสูติเมื่อปีที่ 21 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 (เมื่อ 1366 ปีก่อนคริสตกาล) ประมาณสิบห้าปีต่อมา กษัตริย์ธัชรัตตา พระบิดา องพระองค์ทรงส่งพระองค์ไปอภิเษกสมรสกับฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 ในปีที่ 36 แห่งการครองราชย์ (ราว 1352 ปีก่อนคริสตกาล) เพื่อผูกสัมพันธไมตรีต่อทั้งสองอาณาจักร พระองค์ปรากฏอยู่ในบันทึกแห่งอาร์มานาของกษัตริย์ธัชรัตตาเมื่อ 1350 - 1340 ปีก่อนคริสตกาล[1] กษัตริย์ธัชรัตตาได้ส่งคำขอให้พระราชธิดาของพระองค์ได้เป็นสมเด็จพระราชินี ถึงแม้ว่าตำแหน่งนี้เป็นของพระนางติเยก็ตาม ของกำนัลของกษํตริย์ธัชรัตตาประกอบไปด้วย ม้าจำนวนหนึ่งคู่ รถม้าศึกชุบทองคำพร้อมฝังอัญมณีมีค่า ครอกหามสำหรับอูฐตกแต่งด้วยทองคำและหินมีค่า ผ้าทอเสื้อและเครื่องประดับ อาทิ กำไลข้อมือ กำไลแขนและอื่นๆ อานม้า[2] แต่ในทางกลับกันฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 ไม่เคยส่งรูปสลักทองคำที่พระองค์เสนอและภายหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ กษัตริย์ธัชรัตตาได้สาส์นร้องขอเกี่ยวกับปัญหาการแลกเปลี่ยน[3]

การอภิเษกสมรสกับฟาโรห์อเคนาเตน[แก้]

ฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 ทรงสิ้นพระชนม์ลงได้ไม่นานหลังจากพระองค์เสด็จมาถึงอียิปต์ และในที่สุดพระองค์ก็ทรงอภิเษกสมรสกับฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 4 (อเคนาเตน) พระราชโอรสในฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 [4]

ความเกี่ยวข้องกับคิยาหรือเนเฟอร์ติติ[แก้]

นักวิชาการบางคนระบุว่า พระนางทาดูเคปาและพระนางคิยา พระมเหสีในฟาโรห์อเคนาเตน[5] มีเรื่องราวเกี่ยวกับพระนางคิยา ซึ่งอาจจะเป็นที่มาของเรื่องราวในช่วงอาณาจักรใหม่ที่เรียกว่า นิทานสองพี่น้อง นิทานนี้ได้เล่าเรื่องราวของฟาโรห์ตกหลุมรักหญิงสาวชาวต่างชาติที่สวยงามหลังจากดมผมของเธอ ถ้าพระนางทาดูเคปาซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในพระนามว่า คิยา พระองค์ก็จะมีชีวิตอยู่ที่อาร์มานาที่ซึ่งมีภาพกับฟาโรห์และพระราชธิดาอย่างน้อยหนึ่งพระองค์

และนักวิชการบางส่วนอื่น ๆ เช่น แพทรี่, ไดรโอตันและแวนเดียร์ สันนิษฐานว่าพระนางทาดูเคปาได้รับพระนามใหม่หลังจากสถาปนาเป็นพระมเหสีในฟาโรห์อเคนาเตน และจะต้องเป็นไปได้ว่าจะป็นพระนางเนเฟอร์ติติที่มีชื่อเสียง[6] สันนิษฐานนี้แสดงให้เห็นว่าพระนามของเนเฟอร์ติติที่แปลว่า "สิ่งสวยงามที่ได้มา" หมายถึงที่มาของเนเฟอร์ติติว่าเป็นพระนางทาดูเคปา

อ้างอิง[แก้]

  1. William L. Moran, The Amarna Letters, Johns Hopkins University Press, 1992, EA 23, pp. 61-62
  2. A. L. Frothingham, Jr., Archæological News, The American Journal of Archaeology and of the History of the Fine Arts, Vol. 8, No. 4 (Oct. - Dec., 1893), pp. 557-631
  3. Aldred, Cyril, Akhenaten: King of Egypt ,Thames and Hudson, 1991 (paperback), ISBN 0-500-27621-8
  4. Tyldesley, Joyce. Chronicle of the Queens of Egypt. Thames & Hudson. 2006. p. 124 ISBN 0-500-05145-3
  5. Dodson, Aidan and Hilton, Dyan. The Complete Royal Families of Ancient Egypt. Thames & Hudson. 2004. ISBN 0-500-05128-3
  6. Tyldesley, Joyce. Nefertiti: Egypt's Sun Queen. Penguin. 1998. ISBN 0-670-86998-8