ทะเลสาบฮิลเลียร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทะเลสาบฮิลเลียร์

ทะเลสาบฮิลเลียร์ (อังกฤษ: Lake Hillier) เป็นทะเลสาบน้ำเค็ม ตั้งอยู่บนเกาะมิดเดิล (Middle Island) ซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาเกาะและเกาะเล็ก ๆ ที่รวมกันเป็นหมู่เกาะรีเชิร์ช (Recherche Archipelago) ในแถบโกลด์ฟิลส์-เอสเปอแรนซ์ (Goldfields-Esperance) นอกชายฝั่งทางตอนใต้ของออสเตรเลียตะวันตก มีลักษณะเด่นคือมีสีชมพู มีชายฝั่งยาวและแคบคั่นมหาสมุทรใต้กับทะเลสาบ

รายละเอียด[แก้]

ทะเลสาบฮิลเลียร์มีความยาวประมาณ 600 เมตร (2,000 ฟุต) และกว้างประมาณ 250 เมตร (820 ฟุต)[1] ทะเลสาบล้อมรอบไปด้วยหาดทรายและป่าเปเปอร์บาร์ก (paperbark) และยูคาลิปตัส (eucalyptus) อย่างแน่นหนา[2] มีแนวเนินทรายปกคลุมด้วยพืชพรรณที่แยกชายแดนตอนเหนือออกจากชายฝั่งตอนเหนือของเกาะมิดเดิล ลักษณะที่เด่นที่สุดของทะเลสาบแห่งนี้คือมีสีชมพู เป็นสีที่คงอยู่ถาวร และไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อนำน้ำทะเลสาบใส่ในภาชนะ ที่มาของสีชมพูนี้กล่าวกันว่ามาจากสิ่งมีชีวิต Dunaliella salina การเดินทางให้เห็นทิวทัศน์ของทะเลสาบที่ดีที่สุดคือทางอากาศ

ชนิดของสิ่งมีชีวิต[แก้]

สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบฮิลเลียร์คือ Dunaliella salina เป็นจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุให้ปริมาณเกลือในทะเลสาบสร้างสีย้อมสีแดง จนทำให้เกิดสีดังกล่าว อีกสมมติฐานหนึ่งกล่าวว่า สีชมพูมาจากแบคทีเรียเฮโลฟิลิกสีแดงในสะเก็ดเกลือ แม้ว่าจะมีสีที่ผิดปกติ แต่ทะเลสาบไม่มีผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ หากมองจากด้านบน ทะเลสาบมีสีชมพูเหมือนหมากฝรั่ง แต่จากแนวชายฝั่งจะมีสีชมพูที่ชัดเจนกว่า ชายฝั่งยังปกคลุมด้วยสะเก็ดเกลือด้วย

ความปลอดภัยและการเข้าถึง[แก้]

แม้ว่าจะมีระดับของเกลือสูง (เมื่อเทียบกับระดับของเกลือในทะเลเดดซี)[3] ทะเลสาบเป็นที่ที่ปลอดภัยสำหรับการว่ายน้ำ แต่การเดินทางเข้าถึงทะเลสาบฮิลเลียร์นั้นมีน้อย การเดินทางด้วยเฮลิคอปเตอร์เป็นวิธีที่พบบ่อยที่สุด การเดินเรือก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้โดยสารที่ต้องการเยี่ยมชมทะเลสาบห่างไกล และป่ารอบ ๆ แห่งนี้

สถานะพื้นที่คุ้มครอง[แก้]

เมื่อ ค.ศ. 2012 ทะเลสาบฮิลเลียร์ตั้งอยู่ภายในบริเวณของเขตสงวนธรรมชาติหมู่เกาะรีเชิร์ช ตั้งแต่ปี 2002 ทะเลสาบแห่งนี้ยังได้รับการพิจารณาให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำของอนุภูมิภาคที่สำคัญ[4][5]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Lake Hillier". สืบค้นเมื่อ 2 March 2015.
  2. "Ten Random Facts - Lake Hillier". 2014. สืบค้นเมื่อ 2 March 2015.
  3. "Swim in Lake Hillier, Australia". สืบค้นเมื่อ 2 March 2015.
  4. Esperance and Recherche parks and reserves draft management plan 2012 (PDF). Department of Environment and Conservation, Government of Western Australia. October 2012. pp. 15 & 108. สืบค้นเมื่อ 1 March 2015.
  5. A Biodiversity Audit of Western Australia’s 53 Biogeographical Subregions in 2002 (PDF). Department of Conservation and Land Management. 2003. p. 211. ISBN 0 7307 5534 7. สืบค้นเมื่อ 1 March 2015.