ทะเลปั๋วไห่

พิกัด: 38°42′N 119°54′E / 38.7°N 119.9°E / 38.7; 119.9
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

38°42′N 119°54′E / 38.7°N 119.9°E / 38.7; 119.9

ทะเลปั๋วไห่
ชื่อภาษาจีน
ภาษาจีน渤海
ชื่อภาษาเกาหลี
ฮันกึล
발해
ฮันจา
渤海

ทะเลปั๋วไห่ (อังกฤษ: Bohai Sea; จีน: 渤海, "ทะเลปั๋ว") หรือ อ่าวปั๋วไห่ (Bohai Gulf) เป็นอ่าวที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน[1] และข้างในสุดของทะเลเหลือง มีเนื้อที่ประมาณ 77,000 ตารางกิโลเมตร (30,000 ตารางไมล์) นับเป็นจุดที่มีการสัญจรทางทะเลคับคั่งที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ทะเลปั๋วไห่มักเรียกว่า อ่าวจื๋อลี่ (Gulf of Chihli) หรืออ่าวเป่ย์จื๋อลี่ (Gulf of Pechihli) ประกอบด้วยอ่าว 3 แห่ง คือ อ่าวไหลโจว (Laizhou Bay) ทางใต้ อ่าวเหลียวตง (Liaodong Bay) ทางเหนือ และอ่าวปั๋วไห่ (Bohai Bay) ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกตรงปลายคาบสมุทรเหลียวตงกับคาบสมุทรชานตงคือช่องแคบปั๋วไห่ (Bohai Strait) มีเกาะที่สำคัญได้แก่ ฉางชาน (Changshan) ฉางซิ่ง (Changxing) และซีจง (Xizhong) แม่น้ำที่ไหลลงทะเลแห่งนี้ได้แก่ แม่น้ำหวง แม่น้ำไห่ แม่น้ำเหลียว และแม่น้ำหลวน มีเขตติดต่อกับมณฑลซานตง มณฑลเหอเป่ย์ เทียนจิน และมณฑลเหลียวหนิง[2]

ทะเลปั๋วไห่เป็นแหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติจำนวนมาก มีบ่อหลักคือเชิ่งลี่ (Shengli) ซึ่งเป็นบ่อน้ำมันที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของจีน[3] นำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ทศวรรษ 1960 ปัจจุบันมีการผลิตกว่า 500,000 บาร์เรลต่อวัน แต่จำนวนลดน้อยลงแล้ว[4] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2011 เกิดเหตุน้ำมันรั่วในทะเล ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและมีการฟ้องร้องในเวลาต่อมา[5]

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 รัฐบาลจีนมีโครงการสร้างอุโมงค์ใต้น้ำเชื่อมระหว่างเมืองต้าเหลียนบนคาบสมุทรเหลียวตงกับเมืองยันไถบนคาบสมุทรชานตง ความยาว 106 กิโลเมตร (66 ไมล์)[6] โครงการนี้วางแผนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1994 ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2013 มีการปรับปรุงแผนและเพิ่มความยาวอุโมงค์เป็น 123 กิโลเมตร (76 ไมล์)[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. 中华人民共和国版图 แม่แบบ:Inlang
  2. "Regional Definition: Bohai Sea - UNEP" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-07-28. สืบค้นเมื่อ 2015-11-21.
  3. Enhance Foam Flooding Pilot Test in Chengdong Of Shengli Oilfield: Laboratory Experiment And Field Performance
  4. China. Background เก็บถาวร 2012-01-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. US Energy Information Administration
  5. Oil giants sued over Bohai spill
  6. Asahi Shimbun, "China To Build Undersea Tunnel Crossing Bohai Strait", 18 February 2011.
  7. "China plans world's longest sea tunnel at $42 billion -report". Reuters. 11 July 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-13. สืบค้นเมื่อ 2015-11-21.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]