ตะกอนไหล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตะกอนไหล (อังกฤษ: debris flow) เป็นการย้ายมวลแบบหนึ่งของมวลตะกอนซึ่งส่วนมากขนาดเล็กลงตั้งแต่ทรายเป็นต้นไป ลงมาตามความลาดชัน ในบางกรณีอาจเริ่มต้นด้วยการไถลตัวก่อน ดินไหลมี 2 ชนิด คือ แบบช้าอาจไหลตัวในอัตราไม่เกิน 1 เมตรต่อปี และแบบเร็วที่มีความเร็วมากกว่า 7-8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยทั่วไปดินไหลมักมีส่วนปลายเป็นรูปพัดหรือคล้ายลิ้นหรือบางครั้งมีลักษณะเป็นเส้นโค้งหลายเส้นขนานกันเหมือนการเกิดธารน้ำแข็ง ดินไหลมักเกิดตอนที่ฝนตกลงมาอย่างหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ จนทำให้พื้นดินเกิดการอิ่มตัวด้วยน้ำ แต่ถ้าขนาดตะกอนมีขนาดเล็กกว่าทรายและมีปริมาณน้ำมากกว่า ลักษณะแบบนี้เป็นการเกิดตะกอนไหลที่เรียกว่าดินไหล (earth flow) หรือดินลมหอบไหล (loess flow) ทั้งดินไหลและดินหอบไหลจะเกิดในบริเวณที่มีความลาดชันสูงและมักเกิดเนื่องจากแผ่นดินไหว และถ้าหากน้ำมากกว่าและตะกอนส่วนใหญ่มีขนาดเล็กมาก ๆ จะเรียกโคลนไหล ความหนืดของโคลนไหลขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำ ในบริเวณที่มีการระเบิดของภูเขาไฟบ่อย ๆ เถ้าถ่านของภูเขไฟอาจทำให้เกิดดินไหลเรียกว่าลาฮา (lahar) มาจากภาษาอินโดนีเซีย ซึ่งหมายถึงดินไหลในบริเวณภูเขาไฟที่ประกอบด้วนเถ้าถ่านภูเขาไฟเป็นส่วนใหญ่ เกิดตอนภูเขาไฟระเบิดหรือตอนฝนตกหนัก ๆ และอาจเคลื่อนที่มาได้ไกล ด้วยอัตราเร็ว 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

อ้างอิง[แก้]

  • ปัญญา จารุศิริ, ธรณีวิทยากายภาพ, สำนักพิมพ์ บริษัท พลัสเพลส จำกัด, 2545