ดยุกแห่งยอร์ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดยุกแห่งยอร์ก
ตราอาร์มประจำดยุกแห่งยอร์ก
เจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก
ดยุกแห่งยอร์กพระองค์ปัจจุบัน
สถาปนาค.ศ. 1385
องค์แรกเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งยอร์ก
องค์ปัจจุบันเจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก


ดยุกแห่งยอร์ก[1] (อังกฤษ: Duke of York) เป็นบรรดาศักดิ์ชั้นดยุก ที่มีมาตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ โดยมักจะพระราชทานให้กับพระราชโอรสพระองค์รอง โดยมีศักดิ์เทียบเท่ากับบรรดาศักดิ์ "ดยุกแห่งอัลบานี"ในระบบบรรดาศักดิ์ของสก็อตแลนด์ ดยุกแห่งยอร์กพระองค์แรกคือเจ้าชายเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ และพระองค์ปัจจุบันคือเจ้าชายแอนดรูว์ ในประวัติศาสตร์อังกฤษได้มีการพระราชทานบรรดาศักดิ์นี้ทั้งหมด 11 สมัย โดย 5 สมัยในฐานะ "ดยุกแห่งยอร์ก" ก่อนพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1800, 3 สมัยในฐานะ "ดยุกแห่งยอร์กและอัลบานี" ในบรรดาศักดิ์ของบริเตนใหญ่ และอีก 3 สมัยในฐานะ "ดยุกแห่งยอร์ก" ในบรรดาศักดิ์ของสหราชอาณาจักร

ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2004 เมื่อทายาทของเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งยอร์กได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษ ผู้ถือบรรดาศักดิ์นี้อีกสิบคนต่อมาไม่สามารถสืบทอดบรรดาศักดิ์นี้แก่ทายาทเลย โดยมักจะสิ้นพระชนม์โดยไร้ทายาทชาย หรือไม่ก็กลายเป็นพระมหากษัตริย์เสียเอง

รายพระนาม[แก้]

สมัยแรก (ค.ศ. 1385–1415 และ 1425–1461)[แก้]

ดยุกแห่งยอร์ก พระฉายาลักษณ์ พระราชสมภพ อภิเษกสมรส สวรรคต
เอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งยอร์ก
1385–1402[2]
เอิร์ลแห่งเคมบริดจ์ (1362)
เอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ 5 มิถุนายน 1341
คิงส์ แลงลีย์
พระราชโอรสลำดับที่ 4 ในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 กับฟีลีปาแห่งแอโน
อิซาเบลลาแห่งคาสตีล
1372
พระโอรสธิดา 3 พระองค์

โจน ฮอลแลนด์
ไม่มีโอรสธิดา

1 สิงหาคม 1402
คิงส์ แลงลีย์
พระชนมายุ 61 พรรษา

เอ็ดเวิร์ดแห่งนอริช ดยุกที่ 2 แห่งยอร์ก
1402–1415[3]
ดยุกแห่โอมาล (1397–1399), เอิร์ลแห่งเคมบริดจ์ (1362–1414), เอิร์ลแห่งรัทแลนด์ (1390–1402), เอิร์ลแห่งคอร์ก (c. 1396)
เอ็ดเวิร์ดแห่งนอริช 1373
นอริช
โอรสคนโตของดยุกที่ 1 กับพระชายา
อิซาเบลลาแห่งคาสตีล
ฟิลิปปาเดอโมฮุน
ไม่มีบุตรธิดา
25 ตุลาคม 1415
อาแฌงคูร์ต
อายุ 42 ปี
ริชาร์ด แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 3 แห่งยอร์ก
1425–1460[4]
เจ้าผู้อารักขาแห่งอังกฤษ, เจ้าชายแห่งเวลส์ และเอิร์ลแห่งเชสเตอร์, ดยุกแห่งคอร์นวอลล์ (1460, ดูเพิ่ม พระราชบัญญัติแอคคอร์ด); เอิร์ลแห่งอัลสเตอร์ (1264), เอิร์ลแห่งมาร์ช (1328), เอิร์ลแห่งเคมบริดจ์ (1414, คืน 1426), ลอร์ดแห่งแคลร์ (1066–1075), บารอนมอร์ติเมอร์แห่งวิกมอร์ (1331)
21 กันยายน 1411
หลานของดยุกที่ 2 และบุตรของริชาร์ดแห่งโคนิสเบิร์ก เอิร์ลที่ 3 แห่งเคมบริดจ์ (ผู้ถูกริบบรรดาศักดิ์และต้องโทษประหารชีวิตโทษฐานกบฏเมื่อค.ศ. 1415) และ แอนน์ เดอ มอร์ติเมอร์
ซิซิลิ เนวิลล์
1437
พระโอรสธิดา 13 พระองค์
30 ธันวาคม 1460
เวกฟิลด์
พระชนมายุ 49 พรรษา
เอ็ดเวิร์ด แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 4 แห่งยอร์ก
1460–1461[5]
also: เอิร์ลแห่งอัลสเตอร์ (1264), เอิร์ลแห่งมาร์ช (1328), เอิร์ลแห่งเคมบริดจ์ (1414), ลอร์ดแห่งแคลร์ (1066–1075), บารอนมอร์ติเมอร์แห่งวิกมอร์ (1331)
เอ็ดเวิร์ด แพลนแทเจเนต 28 เมษายน 1442
รูอ็อง
พระโอรสของดยุกที่ 3 กับพระชายา ซิซิลิ เนวิลล์; ผู้ยึดราชบัลลังก์เป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 บรรดาศักดิ์ทั้งหลายจึงผนวกรวมเข้ากับพระมหากษัตริย์
เอลิซาเบธ วูดวิลล์
1 พฤษภาคม 1464
พระโอรสธิดา 10 พระองค์
9 เมษายน 1483
เวสต์มินสเตอร์
พระชนมายุ 40 พรรษา

สมัยที่ 2 (ค.ศ. 1474)[แก้]

ดยุกแห่งยอร์ก พระฉายาลักษณ์ พระราชสมภพ อภิเษกสมรส สวรรคต
ริชาร์ดแห่งชรูว์สบรี ดยุกแห่งยอร์ก
1474–1483
ดยุกแห่งนอร์ฟอล์ก (1477), เอิร์ลแห่งนอร์ฟอล์ก (1477), เอิร์ลแห่งนอตทิงแฮม (1476), และอาจจะเอิร์ลแห่งเซอร์รีย์ (1477)
ริชาร์ดแห่งชรูว์สบรี 17 สิงหาคม 1473
ชรูว์สบรี
พระราชโอรสพระองค์รองในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 กับสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ
แอนน์แห่งมอวเบรย์
15 มกราคม 1478
ไม่มีพระโอรสธิดา
หายสาปสูญในหอคอยแห่งลอนดอน พร้อมกับพระเชษฐา โดยทั้งสองพระองค์เป็นเจ้าชายในหอคอย สิ้นพระชนม์โดยไม่มีรัชทายาท จึงทำให้บรรดาศักดิ์นี้สิ้นสุดลง

สมัยที่ 3 (ค.ศ. 1494)[แก้]

ดยุกแห่งยอร์ก พระฉายาลักษณ์ พระราชสมภพ อภิเษกสมรส สวรรคต
เจ้าชายเฮนรี ทิวดอร์
ราชวงศ์ทิวดอร์
1494–1509[6]
เจ้าชายแห่งเวลส์ (1504), ดยุกแห่งคอร์นวอลล์ (1502)
Henry Tudor 28 มิถุนายน 1491
พระราชวังกรีนิช ลอนดอน
พระราชโอรสในพระเจ้าเฮนรีที่ 7 กับสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ
กาตาลินาแห่งอารากอน
11 มิถุนายน 1509 – 23 พฤษภาคม 1533
(หย่า)
พระโอรสธิดา 2 พระองค์

แอนน์ บุลิน
25 มกราคม 1533 – 17 พฤษภาคม 1536
(หย่า)
พระธิดา 2 พระองค์

เจน ซีมอร์
30 พฤษภาคม 1536 – 24 ตุลาคม 1537
พระโอรส 1 พระองค์

แอนน์แห่งคลีฟส์
6 มกราคม 1540 – 9 กรกฎาคม 1540
(หย่า)
ไม่มีพระโอรสธิดา

แคเทอริน เฮาเวิร์ด
28 กรกฎาคม 1540 – 23 พฤศจิกายน 1541
(หย่า)
ไม่มีพระโอรสธิดา

แคเทอริน พาร์
12 กรกฎาคม 1543
ไม่มีพระโอรสธิดา
28 มกราคม 1547
พระราชวังไวต์ฮอล ลอนดอน
พระชนมายุ 55 พรรษา
เจ้าชายเฮนรีขึ้นเสวยราชย์เป็น พระเจ้าเฮนรีที่ 8 ในปีค.ศ. 1509 ต่อจากพระราชบิดา และทำให้บรรดาศักดิ์ทั้งหลายถูกผนวกเข้ากับพระมหากษัตริย์

สมัยที่ 4 (ค.ศ. 1605)[แก้]

ดยุกแห่งยอร์ก พระฉายาลักษณ์ พระราชสมภพ อภิเษกสมรส สวรรคต
เจ้าชายชาลส์
ราชวงศ์สจวต
1605–1625[7]
ดยุกแห่งออลบานี (1600);
เจ้าชายแห่งเวลส์ (1616), ดยุกแห่งคอร์นวอลล์ และ ดยุกแห่งรอธซี (1612)
ชาลส์ สจวต 19 พฤศจิกายน 1600
พระราชวังดันเฟิร์มลิน ดันเฟิร์มลิน
พระโอรสในพระเจ้าเจมส์ที่ 1 กับแอนน์แห่งเดนมาร์ก
อ็องเรียต มารีแห่งฝรั่งเศส
13 มิถุนายน 1625
พระโอรสธิดา 9 พระองค์
30 มกราคม 1649
พระราชวังไวต์ฮอล ลอนดอน
พระชนมายุ 48 พรรษา
เจ้าชายชาลส์เสวยราชย์เป็นพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ในปีค.ศ. 1625 ต่อจากการสวรรคตของพระราชบิดา บรรดาศักดิ์นี้จึงผนวกเข้ากับพระมหากษัตริย์

สมัยที่ 5 (ค.ศ. 1633/1644)[แก้]

ดยุกแห่งยอร์ก พระฉายาลักษณ์ พระราชสมภพ อภิเษกสมรส สวรรคต
เจ้าชายเจมส์
ราชวงศ์สจวต
1633/1644–1685[8]
ดยุกแห่งออลบานี (1660) เอิร์ลแห่งอัลสเตอร์ (1659)
เจมส์ สจวต 14 ตุลาคม 1633
พระราชวังเซนต์เจมส์ ลอนดอน
พระโอรสในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 กับสมเด็จพระราชินีแมรี
แอนน์ ไฮด์
3 กันยายน 1660
พระราชโอรสธิดา 8 พระองค์

แมรีแห่งโมดีนา
21 พฤศจิกายน 1673
พระราชโอรสธิดา 7 พระองค์
16 กันยายน 1701
พระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล ปารีส
พระชนมายุ 67 พรรษา
เจ้าชายเจมส์ทรงถือบรรดาศักดิ์ดยุกแห่งยอร์กตั้งแต่พระราชสมภพ และได้รับพระราชทานในปีค.ศ. 1644 ซึ่งต่อมาได้เสวยราชย์เป็น พระเจ้าเจมส์ที่ 2 เมื่อค.ศ. 1685 เมื่อพระเชษฐาเสด็จสวรรคต และบรรดาศักดิ์นี้จึงผนวกเข้ากับพระมหากษัตริย์

สมัยจาโคไบต์ (ค.ศ. 1725)[แก้]

ดยุกแห่งยอร์ก พระฉายาลักษณ์ พระราชสมภพ อภิเษกสมรส สวรรคต
พระคาร์ดินัลสจวต
ราชวงศ์สจวต
1725-1788[8]
พระคาร์ดินัล (1747), หัวหน้าแห่งคณะพระคาร์ดินัล (1803)
พระคาร์ดินัลสจวต 6 มีนาคม 1725
ปาลาซโซมูติ
โรม
รัฐสันตะปาปา
โอรสของ"เจมส์ที่ 3 และ 8" (ผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์สายจาโคไบต์) กับมาเรีย คลีเม็นทินา โซบิเอสกา
____ 13 กรกฎาคม 1807
ฟรัสกาตี โรม
อายุ 82 ปี
พระคาร์ดินัลดยุกแห่งยอร์กควรจะเป็นผู้ได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเฮนรีที่ 9 ตามสิทธิในราชบัลลังก์สายจาโคไบต์ อย่างไรก็ตามบรรดาศักดิ์นี้ไม่ได้รับการยอมรับในระบบบรรดาศักดิ์อังกฤษ เมื่อละสังขารพระคาร์ดินัลถือเป็นสมาชิกคนสุดท้ายในราชวงศ์สจวต

สมัยที่ 6 (ค.ศ. 1892)[แก้]

ดยุกแห่งยอร์ก พระฉายาลักษณ์ ตราอาร์ม พระราชสมภพ อภิเษกสมรส สวรรคต
เจ้าชายจอร์จ
ราชวงศ์ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา
1892–1910
เอิร์ลแห่งอินเวอร์นิส และ บารอนคิลลาร์นีย์ (1892);
เจ้าชายแห่งเวลส์, ดยุกแห่งคอร์นวอลล์, และ ดยุกแห่งรอธซี (1901)
เจ้าชายจอร์จ 3 มิถุนายน 1865
พระตำหนักมาร์ลโบโรห์
พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 และสมเด็จพระราชินีอเล็กซานดรา
เจ้าหญิงวิกตอเรีย แมรีแห่งเท็ก
6 กรกฎาคม 1893
พระโอรสธิดา 6 พระองค์
20 มกราคม 1936
ตำหนักซานดริงแฮม ซานดริงแฮม
พระชนมายุ 70 พรรษา
เจ้าชายจอร์จได้ขึ้นเสวยราชย์เป็น สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 ในปี ค.ศ. 1910 เมื่อพระราชบิดาเสด็จสวรรคต และบรรดาศักดิ์นี้ผนวกเข้ากับพระมหากษัตริย์

สมัยที่ 7 (ค.ศ. 1920)[แก้]

ดยุกแห่งยอร์ก พระฉายาลักษณ์ ตราอาร์ม พระราชสมภพ อภิเษกสมรส สวรรคต
เจ้าชายอัลเบิร์ต
ราชวงศ์วินด์เซอร์
1920–1936[9]
เอิร์ลแห่งอินเวอร์นิส และ บารอนคิลลาร์นีย์ (1920)
14 ธันวาคม 1895
ตำหนักซานดริงแฮม ซานดริงแฮม
พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 และสมเด็จพระราชินีแมรี
เลดีเอลิซาเบธ โบวส์-ลีออน
26 เมษายน 1923
พระธิดา 2 พระองค์
6 กุมภาพันธ์ 1952
ตำหนักซานดริงแฮม ซานดริงแฮม
พระชนมายุ 56 พรรษา
เจ้าชายอัลเบิร์ตได้ขึ้นเสวยราชย์เป็น สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 ในปี ค.ศ. 1936 หลังจากที่พระเชษฐาทรงสละราชสมบัติ ทำให้บรรดาศักดิ์นี้ผนวกเข้ากับพระมหากษัตริย์


สมัยที่ 8 (ค.ศ. 1986)[แก้]

ดยุกแห่งยอร์ก พระฉายาลักษณ์ ตราอาร์ม พระราชสมภพ อภิเษกสมรส สวรรคต
เจ้าชายแอนดรูว์
ราชวงศ์วินด์เซอร์
1986–ปัจจุบัน[10]
เอิร์ลแห่งอินเวอร์นิส และ บารอนคิลลีลี (1986)
19 กุมภาพันธ์ 1960
พระราชวังบักกิงแฮม
พระราชโอรสในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ
ซาราห์ เฟอร์กูสัน
23 กรกฎาคม 1986 – 30 พฤษภาคม 1996
(หย่า)
พระธิดา 2 พระองค์
 –
พระชนมายุ 64 ปี 57 วัน

อ้างอิง[แก้]

  1. ข่าวในพระราชสำนัก[ลิงก์เสีย], สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์, เผยแพร่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2555, เรียกข้อมูลวันที่ 5 กรกฎาคม 2555
  2. Encyclopædia Britannica Edmund of Langley First Duke of York
  3. Encyclopædia Britannica Edward of Norwich Second Duke of York
  4. English Monarchs
  5. BBC Edward IV
  6. Scarisbrick, J. J. (1997). Henry VIII (2nd ed.). Yale University Press. ISBN 0300071582.
  7. Gregg, Pauline (1981), King Charles I, London: Dent
  8. 8.0 8.1 Callow, John, The Making of King James II: The Formative Years of a King, Sutton Publishing, Ltd, Stroud, Gloucestershire, 2000. Page
  9. https://www.thegazette.co.uk/London/issue/31931/supplement/6313
  10. https://www.thegazette.co.uk/London/issue/50606/supplement/1

ดูเพิ่ม[แก้]