ฌาอีร์ โบลโซนารู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฌาอีร์ โบลโซนารู
โบลโซนารูใน พ.ศ. 2562
ประธานาธิบดีบราซิล คนที่ 38
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม พ.ศ. 2562 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565
รองประธานาธิบดีอามิลตง โมเรา
ก่อนหน้ามีแชล เตเมร์
ถัดไปลูอิส อีนาซียู ลูลา ดา ซิลวา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบราซิล
ดำรงตำแหน่ง
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561
เขตเลือกตั้งรัฐรีโอเดจาเนโร
เทศมนตรีนครรีโอเดจาเนโร
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม พ.ศ. 2532 – 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
เขตเลือกตั้งอิสระ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ฌาอีร์ เมซีอัส โบลโซนารู

21 มีนาคม พ.ศ. 2498 (69 ปี)
กลีแซรียู, รัฐเซาเปาลู, บราซิล
พรรคการเมืองเสรีนิยม (2564–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
คู่สมรส
  • โรแฌรียา นังชิส บรากา (สมรส 1978; หย่า 1997)
  • อานา กริสชีนา วาลี (สมรส 1997; หย่า 2007)
  • มีเชลี ดึ เปาลา (สมรส 2007)
บุตร5 คน รวมถึงFlávio, Carlos และเอดัวร์ดู
ศิษย์เก่าสถาบันเตรียมทหารอากุลยัสเนกรัส
ลายมือชื่อ
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ บราซิล
สังกัดบราซิล กองทัพบราซิล
ประจำการพ.ศ. 2514–2531
ยศ ร้อยเอก
บังคับบัญชา
  • กองทหารปืนใหญ่ภาคสนามที่ 21
  • กองทหารปืนใหญ่ภาคสนามที่ 9
  • กองพลร่มทหารปืนใหญ่ที่ 8

ฌาอีร์ เมซีอัส โบลโซนารู (โปรตุเกส: Jair Messias Bolsonaro; เกิด 21 มีนาคม พ.ศ. 2498) เป็นนักการเมืองและเป็นอดีตทหารกองทัพบกบราซิล เขาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบราซิลตั้งแต่ พ.ศ. 2534 และปัจจุบันเป็นสมาชิกพรรคสังคมเสรีนิยม โบลโซนารูเป็นบุคคลหนึ่งที่เป็นประเด็นโต้เถียงในบราซิล โดยเป็นที่รู้จักจากมุมมองทางการเมืองฝ่ายขวาจัดและประชานิยม รวมทั้งการแสดงความเห็นเชิงสนับสนุน ระบอบเผด็จการทหารระหว่าง พ.ศ. 2507–2528[1][2][3][4]

โบลโซนารูเข้าร่วมกองทัพบราซิลในปี พ.ศ. 2516 และสำเร็จการศึกษาวิชาทหารจากสถาบันเตรียมทหารอากุลยัสเนกรัสในปี พ.ศ. 2520 ในปี พ.ศ. 2529 เขามีชื่อเสียงจากการลงบทความในนิตยสารชื่อดังภายในประเทศวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับปัญหารายได้ต่ำของทหารชั้นผู้น้อย[5] ส่งผลให้เขาถูกจับกุมและถูกจำคุก 15 ปีและถูกปลดออกจากกองทัพ เขาจึงหันเข้าสู่สนามการเมืองโดยเริ่มต้นจากการดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากรัฐรีโอเดจาเนโรในปี พ.ศ. 2533 และดำรงตำแหน่งนี้ร่วม 27 ปี จากนั้นเขาได้ลงสมัครเป็นตัวแทนพรรคในการเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ. 2561 และได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีในการเลือกครั้งที่สอง[4] ซึ่งในสมัยที่เขาดำรงตำแหน่ง เขาดำเนินนโยบายแก้ปัญหาความยากจนของชาวบราซิลรวมทั้งลดปัญหาอาชญากรรมในประเทศ อย่างไรก็ตามด้วยนโยบายของเขาที่เอื้อให้เกิดการทำลายระบบนิเวศในเขตพื้นที่ป่าดิบชื้นแอมะซอน[6] และการบริหารในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ที่ไร้ประสิทธิภาพโดยรัฐบาลของเขา ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์จนเกิดการประท้วงต่อต้านเขาและรัฐบาลของเขาทั่วประเทศ[7] โดยมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสโคโรนาในประเทศบราซิลร่วม 500,000 คน[8][9] ส่งผลให้เขาถูกฟ้องร้องในข้อหาอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติจากการบริหารสถานการณ์ดังกล่าวที่เป็นไปอย่างไม่สู้ดีนัก

ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีบราซิลเมื่อปี พ.ศ. 2565 เขาพ่ายแพ้ให้แก่ลูอิส อีนาซียู ลูลา ดา ซิลวาซึ่งส่งผลให้ลูลาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สอง[10] หลังจากนั้นเขาได้ไปใช้ชีวิตอยู่ที่รัฐฟลอริดา สหรัฐเป็นส่วนใหญ่[11][12] และเกิดการจลาจลในปีเดียวกันจากฝ่ายผู้สนับสนุเขาที่บุกเข้าไปในรัฐสภาของบราซิลเพื่อแสดงจุดยืนคัดค้านการดำรงตำแหน่งของลูลา[13]

ในทัศนคติทางการเมืองของเขาจัดอยู่ในกลุ่มขวาจัด และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหรัฐ[14]และประเทศอิสราเอล[15]

อ้างอิง[แก้]

  1. Brooke, James. "Conversations/Jair Bolsonaro; A Soldier Turned Politician Wants To Give Brazil Back to Army Rule". สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "Brazil's Trump? A congressman with presidential ambitions is being compared to Donald Trump. Can he win?". USnews.com. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  3. "O inquietante 'fenômeno Bolsonaro'". brasil.elpais.com (ภาษาโปรตุเกส). สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  4. 4.0 4.1 "Brazil's congress starts to reform itself". The Economist. 14 ตุลาคม 2560.
  5. "O salário está baixo" (PDF). Arqanalagoa.ufsacr.br. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 25 January 2018. สืบค้นเมื่อ 7 September 2018.
  6. "Brazil's new president makes it harder to define indigenous lands". Global News. 2 January 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2019. สืบค้นเมื่อ 17 January 2019.
  7. "COVID-19: Bolsonaro doesn't believe in social distancing, masks or vaccines. That wasn't lost on those protesting". Sky News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2021. สืบค้นเมื่อ 5 August 2021.
  8. "Fresh bid to impeach Brazil's Bolsonaro over Covid response". France 24. 30 June 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2022. สืบค้นเมื่อ 6 August 2021.
  9. "Fresh bid to impeach Brazil's Bolsonaro over Covid response". Radio France Internationale. 30 June 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2021. สืบค้นเมื่อ 6 August 2021.
  10. "Bolsonaro é 1º presidente a perder reeleição e deixará cargo em 31 de dezembro". Folha de S.Paulo (ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล). 30 October 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2022. สืบค้นเมื่อ 5 November 2022.
  11. "Brazil's Bolsonaro lands in Florida, avoiding handover to Lula". NBC News. Reuters. 31 December 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 January 2023. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
  12. Dias, Isabela (8 February 2023). "Bolsonaro is living the American Dream: Retired in Florida and posting on TikTok". Mother Jones. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 February 2023. สืบค้นเมื่อ 16 February 2023.
  13. กลุ่มหนุนอดีตผู้นำบราซิลบุกรัฐสภา-ทำเนียบประธานาธิบดี
  14. Wierson, Arick (7 October 2018). "Will Brazil's Jair Bolsonaro Become Trump's New Best Friend?". The New York Observer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2018. สืบค้นเมื่อ 11 October 2018.
  15. Staff (6 October 2018). "Brazil's Workers' Party likens pro-Israel presidential front-runner to Hitler". The Times of Israel. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2018. สืบค้นเมื่อ 11 October 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]