ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
14 กันยายน พ.ศ. 2486 – 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2487
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ พลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส
นายกรัฐมนตรีจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ถัดไปพลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
22 สิงหาคม พ.ศ. 2484 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2485
นายกรัฐมนตรีจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ถัดไปพลเอก มังกร พรหมโยธี
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม – 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489
นายกรัฐมนตรีปรีดี พนมยงค์
ก่อนหน้าพระยาศรีเสนา
ดำรงตำแหน่ง
24 สิงหาคม พ.ศ. 2489 – 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490
นายกรัฐมนตรีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
ถัดไปพระยาสุนทรพิพิธ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
7 มีนาคม พ.ศ. 2485 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487
นายกรัฐมนตรีจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
ดำรงตำแหน่ง
30 พฤษภาคม – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
นายกรัฐมนตรีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
ก่อนหน้าจรูญ สืบแสง
ถัดไปควง อภัยวงศ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 มีนาคม พ.ศ. 2442
เสียชีวิต9 มีนาคม พ.ศ. 2505 (62 ปี)
คู่สมรสมาลัย เชวงศักดิ์สงคราม
ประหยัด เชวงศักดิ์สงคราม

พันเอก[1] ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม หรือ หลวงเชวงศักดิ์สงคราม (10 มีนาคม พ.ศ. 2442 - 9 มีนาคม พ.ศ. 2505) นามเดิม ช่วง ขวัญเชิด อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ

ประวัติ[แก้]

พันเอก ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2442 บิดาชื่อบุญรอด มารดาชื่อทับทิม[2]

การศึกษา[แก้]

เมื่อโตได้เข้าเรียนที่โรงเรียนนครพิทยาคม ย้ายที่อยู่และเรียนที่จังหวัดชลบุรี เข้าเรียนชั้นประถม 2 ที่โรงเรียนวัดต้นสน แล้วย้ายไปโรงเรียนอุดมพิทยากร (วัดกำแพง) ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เรียนชั้นประถม 3 ที่โรงเรียนวัดเมือง ขณะนั้นรัฐบาลได้ตั้งโรงเรียนสามัญประจำมณฑลขึ้นและจัดให้มีการปรับเทียบความรู้นักเรียนประถมเป็นมัธยมทั้งหมด เมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ช่วงจึงได้รับการปรับวุฒิเข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ซึ่งเป็นโรงเรียนชายประจำจังหวัดฉะเชิงเทราต่อในทันที ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมปีที่ 6 ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเลือกที่จะเป็นทหาร จึงสอบแข่งขันเข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

การทำงาน[แก้]

พันเอกช่วง เชวงศักดิ์สงครามสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และได้รับพระราชทานยศร้อยตรีเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2464[3]แล้วเริ่มปฏิบัติราชการในกองทัพบกจนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงเชวงศักดิ์สงคราม ถือศักดินา ๘๐๐ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2475[4]และได้รับตำแหน่งที่สำคัญเรื่อยมา เช่น

นอกจากนี้ระหว่างที่ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ[9] พันเอกช่วง เชวงศักดิ์สงคราม ยังดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (31 พฤษภาคม 2490 ถึง 8 พฤศจิกายน 2490) ด้วย

นอกเหนือจากงานราชการแล้ว พันเอกช่วง เชวงศักดิ์สงคราม ยังเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ในปี พ.ศ. 2494[10] เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม และสมาชิกวุฒิสภา

สมรส[แก้]

พันเอกช่วง เชวงศักดิ์สงคราม สมรสกับ นางมาลัย เชวงศักดิ์สงคราม และ นางประหยัด เชวงศักดิ์สงคราม มีบุตร-ธิดา รวม 10 คน

ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]

พันเอกช่วง เชวงศักดิ์สงคราม ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2505 อายุได้ 63 ปี ด้วยอาการหัวใจวายเฉียบพลัน พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส 18 มิถุนายน พ.ศ. 2505

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  2. "พันเอกช่วง เชวงศักดิ์สงคราม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-06. สืบค้นเมื่อ 2015-04-19.
  3. พระราชทานยศ (หน้า ๒๘๙๘)
  4. พระราชทานบรรดาศักดิ์ ทหารบก (หน้า ๖๒๒)
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งอธิบดีกรมราชทัณฑ์
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งปลัดกระทรวงมหาดไทย และอธิบดีกรมสาธารณสุข
  7. ผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย -- Administrator of Ministry of Interior[ลิงก์เสีย]
  8. คณะรัฐมนตรี คณะที่ 10 เก็บถาวร 2007-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Secretariat of the Cabinet, THAILAND
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๖ ราย)
  10. ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๒๙๒๐, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๖
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๐๙๖, ๑ กรกฎาคม ๒๔๘๔
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๔ ง หน้า ๘๔, ๑๑ มกราคม ๒๔๘๗
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๐๘๐, ๓๐ กันยายน ๒๔๗๗
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๔๘, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๙๓๘, ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๗
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๓๐๒๔, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๖