ชาวฮัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรวรรดิฮันทางตะวันตกที่ครอบคลุมตั้งแต่สเต็ปป์ของเอเชียกลางไปจนถึงเยอรมนีปัจจุบันและตั้งแต่ทะเลดำไปจนถึงทะเลบอลติก

ชาวฮัน (อังกฤษ: Huns) หรือ ชาวซฺยง (จีน: 匈人 ซฺยงเหริน) เป็นกลุ่มชาติพันธ์เร่ร่อนในทุ่งกว้างที่ปรากฏตั้งแต่เลยจากแม่น้ำวอลกาออกไปผู้โยกย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในยุโรปตั้งแต่ราว ค.ศ. 370 และมาก่อตั้งจักรวรรดิอันใหญ่โตขึ้นในยุโรป ชาวฮันอาจจะสืบเชื้อสายมาจากชาวซฺยงหนู (Xiongnu) ที่ในประวัติศาสตร์เป็นประเทศเพื่อนบ้านทางตอนเหนือของประเทศจีนสามร้อยปีก่อนหน้านั้น[1] และอาจจะเป็นชนกลุ่มแรกของกลุ่มชนเตอร์กิกที่อพยพข้ามทวีปยูเรเชีย[2][3] ที่มาของภาษาฮันนิกเป็นหัวข้อที่โต้แย้งกันมาเป็นเวลานานหลายร้อยปี ทฤษฎีล่าสุดกล่าวว่าอย่างน้อยก็ผู้นำของชาวฮันพูดภาษากลุ่มเตอร์กิก[4][5] ความสามารถที่เด่นของฮั่นคือการยิงธนูจากหลังม้าที่กำลังวิ่งได้อย่างแม่นยำ

ชาวฮันอาจจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการโยกย้ายถิ่นฐานครั้งใหญ่ในยุโรปที่เป็นสาเหตุที่นำมาซึ่งการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน ชนฮั่นรวมตัวกันเป็นจักรวรรดิภายใต้การนำของอัตติลาผู้เสียชีวิตในปี ค.ศ. 453 ภายในปีเดียวจักรวรรดิฮันก็ล่มสลาย ผู้สืบเชื้อสายชาวฮันต่อมาหรือกลุ่มชนที่มีชื่อคล้ายคลึงกันได้รับการบันทึกไว้ในบันทึกของชนชาติเพื่อนบ้านทางใต้ ตะวันออก และตะวันตกว่าเป็นผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในยุโรปตะวันออกและเอเชียกลางประมาณระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 4 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 6 ชื่อเรียกต่างๆ ปรากฏในคอเคซัสจนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8

อ้างอิง[แก้]

  1. De Guignes, Joseph (1756–1758), Histoire générale des Huns, des Turcs, des Mongols et des autres Tartares
  2. Frucht, Richard C., Eastern Europe, (ABC-CLIO, 2005), 744.
  3. "Transylvania through the age of migrations". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-24. สืบค้นเมื่อ 2009-07-05.
  4. Pritsak, Omeljan. 1982 "The Hunnic Language of the Attila Clan." Harvard Ukrainian Studies, vol. 6, pp. 428–476.[1] เก็บถาวร 2009-02-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. Otto Maenchen-Helfen, Language of Huns Ch. XI.