จุลมงกุฎเจ้าชายชาลส์แห่งเวลส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จุลมงกุฎเจ้าชายชาลส์แห่งเวลส์
Coronet of Charles, Prince of Wales

จุลมงกุฎ
รายละเอียด
สำหรับ สหราชอาณาจักร
ผลิตเมื่อค.ศ. 1969
ผู้ครอบครองพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร
จำนวนโค้ง1 โค้ง (2 ก้าน)
วัตถุดิบหลักทองคำ
วัสดุซับในผ้ากำมะหยี่สีม่วงกรุขอบด้วยขนเออร์มิน
องค์ก่อนหน้าจุลมงกุฎเจ้าชายจอร์จแห่งเวลส์

จุลมงกุฎเจ้าชายชาลส์แห่งเวลส์ (อังกฤษ: Coronet of Charles, Prince of Wales) เป็นจุลมงกุฎที่เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งเวลส์ และเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งจุลมงกุฎองค์นี้สร้างขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีเฉลิมพระอิสริยยศของเจ้าชายชาลส์ เป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ในปีค.ศ. 1969 แม้ว่าเป็นทางการแล้วจะถือเป็น “จุลมงกุฎ” แต่ก็มักจะใช้คำว่า มงกุฎ ในการกล่าวถึง “จุลมงกุฎเจ้าชายชาลส์แห่งเวลส์”

ที่มา[แก้]

เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 เสด็จลี้ภัยในหลังจากทรงสละราชสมบัติในฐานะดยุคแห่งวินเซอร์ในปี ค.ศ. 1936 พระองค์ได้นำจุลมงกุฎเจ้าชายจอร์จแห่งเวลส์ ซึ่งเป็นจุลมงกุฎที่ใช้ในพระราชพิธีเฉลิมพระอิสริยยศของพระองค์ไปด้วยซึ่งเป็นเรื่องที่ขัดแย้งกันอย่างกว้างขวาง และขัดกฎมณเฑียรบาลของราชสำนักอังกฤษ ซึ่งจุลมงกุฎองค์ที่นำติดพระองค์ไปด้วยนั้น ได้ถูกใช้ในพระราชพิธีเฉลิมพระอิสริยยศของเจ้าชายแห่งเวลส์มาตั้งแต่ปีค.ศ. 1902 รวมทั้งในพระราชพิธีของพระองค์เองในปีค.ศ. 1911

ตามกฎหมายของสหราชอาณาจักร จุลมงกุฎเจ้าชายจอร์จแห่งเวลส์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร ถือเป็นสิ่งต้องห้ามมิให้นำออกจากสหราชอาณาจักรอย่างเด็ดขาด ไม่ว่าในกรณีใดใดทั้งสิ้น แม้แต่การใช้ที่ดูเหมือนจะถูกกฎหมายนอกสหราชอาณาจักรก็ยังห้าม เช่น ในกรณีของมงกุฎใหม่ คือ มงกุฎแห่งอินเดีย ที่ต้องสร้างขึ้นสำหรับสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 เพื่อทรงในฐานะจักรพรรดิแห่งอินเดีย ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่เดลี (Delhi Durbar) เพราะมงกุฎอิมพีเรียลสเตทที่ใช้สำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกไม่สามารถนำออกนอกประเทศได้

ถึงกระนั้นก็เป็นการไม่เหมาะสมที่จะกล่าวหาพระองค์ในข้อหายักยอกเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ซึ่งต่อมาในที่สุด จุลมงกุฎเจ้าชายจอร์จแห่งเวลส์ก็ได้ถูกส่งคืนมาหลังจากการสิ้นพระชนม์ของดยุคแห่งวินเซอร์ในปี ค.ศ. 1972 และในปัจจุบันนั้นเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งเวลส์ที่ตั้งแสดงอยู่ในเวลส์

การสร้างจุลมงกุฎองค์ใหม่[แก้]

ในเมื่อไม่มีจุลมงกุฎองค์เดิม ส่วนจุลมงกุฎเจ้าชายเฟรดเดอริคแห่งเวลส์ ซึ่งเป็นองค์ที่สร้างก่อนหน้านั้นเก่าเกินกว่าที่จะใช้ได้ จึงมีความจำเป็นต้องสร้างจุลมงกุฎเจ้าชายแห่งเวลส์องค์ใหม่ในการสถาปนารัชทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง (Heir Apparent) ขึ้นเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ โดยอันที่จริงแล้วเจ้าชายชาลส์ทรงเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1958 เมื่อพระชนมายุ 9 พรรษา แต่มิได้มีพิธีอย่างเป็นทางการจนกระทั่งราวสองเดือนก่อนที่มีพระชนมายุครบ 21 พรรษา[1]

การออกแบบ[แก้]

จุลมงกุฎใหม่นี้ออกแบบตามกฎที่วางไว้โดยสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 2 โดยให้มีโค้งเพียงโค้งเดียวคาดผ่านเหนือตัวมงกุฎแทนที่จะเป็นสองโค้งตามธรรมเนียมของมงกุฎแบบอังกฤษองค์อื่นๆ เหนือโค้งนั้นเป็นลูกโลกประดับกางเขน โครงมงกุฎทำจากเงินและทองคำ ภายในโครงเป็นหมวกผ้ากำมะหยี่ที่มีขอบเป็นขนเออร์มิน

แม้ว่าโครงสร้างจะออกแบบตามแบบโบราณที่วางไว้ แต่ลักษณะที่ออกมานั้นถือเป็นแบบที่ล้ำสมัย ซึ่งนิยมกันในในการออกแบบในช่วงค.ศ. 1960 โดยจุลมงกุฎองค์นี้สร้างโดยคณะกรรมการที่มีแอนโทนี อาร์มสตรอง-โจนส์, ลอร์ดสโนว์ดอน ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระสวามีของเจ้าหญิงมาร์กาเร็ต เคานท์เตสแห่งสโนว์ดอนเป็นประธาน ลอร์ดสโนว์ดอนเปิดเผยถึงวิธีการออกแบบบางอย่างที่ไม่ตรงตามวิธีโบราณ อาทิเช่น ขนาดของลูกโลกเหนือโค้งนั้นมีขนาดเดียวกับลูกกอล์ฟ เป็นต้น

พระราชพิธีสถาปนาเจ้าชายชาลส์ขึ้นเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ ทำขึ้นที่ปราสาทคายร์นาร์วอน ในเวลส์ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1969

การใช้[แก้]

จุลมงกุฎสำหรับเจ้าชายแห่งเวลส์นั้นปกติเป็นจุลมงกุฎที่มิได้เห็นบ่อยนัก และยังไม่ทราบแน่ว่าเจ้าชายเฟรดเดอริคแห่งเวลส์ จะมีโอกาสได้ทรงจุลมงกุฎเจ้าชายเฟรดเดอริคแห่งเวลส์หรือไม่ และจุลมงกุฎเจ้าชายจอร์จแห่งเวลส์ก็ใช้ทรงเพียงไม่กี่ครั้งโดยเจ้าชายจอร์จแห่งเวลส์ ซึ่งต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 และเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดแห่งเวลส์ซึ่งต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 จนสละราชสมบัติเป็น ดยุคแห่งวินด์เซอร์ และเจ้าชายแห่งเวลส์พระองค์ปัจจุบันก็มิได้สวมจุลมงกุฎองค์นี้มาตั้งแต่พระราชพิธีสถาปนาถึงแม้ว่าจะทรงมีสิทธิที่จะทำเช่นนั้นได้

ในปี ค.ศ. 1974 สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระราชทานจุลมงกุฎเจ้าชายแห่งเวลส์ให้พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์แห่งชาติแห่งเวลส์ยืม

เจ้าชายแห่งเวลส์[แก้]

ขณะที่พระอัครมเหสีทรงมงกุฎพระอัครมเหสีเคียงข้างพระมหากษัตริย์ แต่พระชายาในเจ้าชายแห่งเวลส์นั้นไม่มีจุลมงกุฎสำหรับฐานะเจ้าหญิงแห่งเวลส์ ดังนั้น ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ พระชายาองค์แรกและคามิลลา ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ พระชายาองค์ปัจจุบันต่างก็ไม่มีจุลมงกุฎทั้งสิ้น

ส่วน "เจ้าหญิงผู้เป็นรัชทายาทโดยสันนิษฐาน" (Heir Presumptive) ของราชบัลลังก์อังกฤษเมื่อไม่มีรัชทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงจะไม่ได้รับตำแหน่งเป็น “เจ้าหญิงแห่งเวลส์” และไม่ได้สวมมงกุฎในฐานะ “ประมุขของเวลส์” แต่พระมหากษัตริย์ทรงมีสิทธิในการพระราชทานสิทธิในการสวมจุลมงกุฎแก่รัชทายาทที่เป็นสตรีได้

การใช้ในอนาคต[แก้]

ตั้งแต่ปีค.ศ. 1831 เป็นต้นมา พระอัครมเหสีของพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรต่างก็ได้รับมงกุฎพระอัครมเหสี (consort crown) ที่สร้างขึ้นเฉพาะสำหรับแต่ละพระองค์ แต่จุลมงกุฎเจ้าชายแห่งเวลส์มีด้วยกันเพียงสามองค์เท่านั้น ซึ่งตั้งแต่ปีค.ศ. 1911 ก็มีเจ้าชายแห่งเวลส์เพียงสามพระองค์ที่ได้สวมจุลมงกุฎ

โดยหลังจากที่ได้จุลมงกุฎเจ้าชายจอร์จแห่งเวลส์คืนมาแล้ว สหราชอาณาจักรก็มีจุลมงกุฎเจ้าชายแห่งเวลส์ทั้งหมดสององค์ที่ยังมีสภาพค่อนข้างใหม่ ฉะนั้นเจ้าชายแห่งเวลส์ในอนาคตจึงทรงมีจุลมงกุฎสององค์ให้เลือกแต่อย่างไรก็ตาม อาจจะมีพระบรมราชวินิจฉัยให้ทรงจัดทำขึ้นใหม่เป็นกรณีพิเศษก็ได้

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Prince of Wales - Biography". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-24. สืบค้นเมื่อ 2009-04-22.
  1. ^ Prior to her marriage both Clarence House and the Lord Chancellor confirmed that Camilla would automatically and legally be Princess of Wales, but had chosen to be referred to as Duchess of Cornwall.
  2. ^ The only possible exception occurred in 1525 when King Henry VIII of England gave his only surviving child to that point, Mary I of England, certain Royal Prerogatives due to a Prince of Wales, including a Royal Court, and called her Princess of Wales. There is no record of either the existence of a Prince of Wales' crown at that time, nor of a formal patent granting the title.[1]

ดูเพิ่ม[แก้]