จารุพรรณ กุลดิลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จารุพรรณ กุลดิลก
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 สิงหาคม พ.ศ. 2516 (50 ปี)
พรรคการเมืองเพื่อไทย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จารุพรรณ กุลดิลก อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตรองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็น บุตรสาว ของพลตำรวจโท ชัจจ์ กุลดิลก

ประวัติ[แก้]

จารุพรรณ กุลดิลก จบการศึกษาระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) สาขาวิศวกรรมเคมี จากมหาวิทยาลัยมหิดล ระดับปริญญาโททางด้านวิศวกรรมเคมี จากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม สหราชอาณาจักร และปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมกระบวนการชีวภาพและเทคโนโลยีอาหาร จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี

การทำงาน[แก้]

ดร.จารุพรรณ กุลดิลก เคยรับราชการเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในระหว่างปี พ.ศ. 2546 ถึง พ.ศ. 2552 โดยมีตำแหน่งทางวิชาการสูงสุดเป็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นอกจากนั้นแล้วยังได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารในตำแหน่งผู้ช่วยคณบดี ในระหว่างปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2549 และเป็นรองคณบดี ในระหว่างปี พ.ศ. 2549 ถึง พ.ศ. 2551 [ต้องการอ้างอิง]ต่อมาจึงได้ลาออกจากราชการ และเข้าสู่งานการเมืองโดยการร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ดร.จารุพรรณ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 56[1] และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก

ในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เขากล่าวว่าคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญลุแก่อำนาจ[2]

ในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เขาถูกคณะรักษาความสงบแห่งชาติออกคำสั่งที่ 14/2557 ให้ไปรายงานตัว[3]

นอกจากงานวิชาการ และงานการเมือง ดร.จารุพรรณ ได้ทำงานเป็นนักเขียน และนักจัดรายการวิทยุ มีผลงานอาทิ คอลัมภ์จิตวิวัฒน์ หนังสือพิมพ์มติชน คอลัมภ์พรมแดนแห่งความรู้ เครือข่ายจิตตปัญญาศึกษา รายการวิทยุชุมชนคนแท๊กซี่ รายการวิทยุชุมชนเสียงคนไทย เป็นวิทยากรรายการ มหาประชาชน People Channel และเป็นวิทยากรรายการ ที่นี่ความจริง Asia Update

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 49[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

รางวัล[แก้]

  • พ.ศ. 2541 - 2543 Doctoral Fellowship, EU-Commission on Food Technology Project, Berlin University of Technology
  • พ.ศ. 2537 - 2538 Reseach Fellowship, The University of Birmingham, UK

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  2. http://shows.voicetv.co.th/hot-topic/41040.html?page=20[ลิงก์เสีย]
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/090/1.PDF
  4. เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๘๐, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๑๔๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]