จังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์

พิกัด: 52°00′N 4°40′E / 52.000°N 4.667°E / 52.000; 4.667
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์

Provincie Zuid-Holland (ดัตช์)
ธงของจังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์
ธง
ตราราชการของจังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์
ตราอาร์ม
คำขวัญ: 
วีกีลาเตเดโอกอนฟีเดนเตส
("จงเฝ้าดูโดยเชื่อมั่นในพระเจ้า")
เพลง: ลีดฟันเซยด์-โฮลลันด์
("เพลงแห่งเซาท์ฮอลแลนด์")
ที่ตั้งของจังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์ในประเทศเนเธอร์แลนด์
ที่ตั้งของจังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์ในประเทศเนเธอร์แลนด์
ที่ตั้งของจังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์
พิกัด: 52°00′N 4°40′E / 52.000°N 4.667°E / 52.000; 4.667
ประเทศ เนเธอร์แลนด์
ก่อตั้งค.ศ. 1840 (แยกจากฮอลแลนด์)
เมืองหลักเดอะเฮก
เมืองใหญ่สุดรอตเทอร์ดาม
การปกครอง
 • ข้าหลวงกษัตริย์ยาป สมิต (CDA)
 • สภาStates of South Holland
พื้นที่ (2020)[1]
 • ทั้งหมด3,307.86 ตร.กม. (1,277.17 ตร.ไมล์)
 • พื้นดิน2,700.07 ตร.กม. (1,042.50 ตร.ไมล์)
 • พื้นน้ำ607.79 ตร.กม. (234.67 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 6
ประชากร
 (1 สิงหาคม 2021)[2]
 • ทั้งหมด3,734,481 คน
 • อันดับที่ 1
 • ความหนาแน่น1,383 คน/ตร.กม. (3,580 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นที่ 1
รหัส ISO 3166NL-ZH
จีดีพี (เฉลี่ย)[3]2016
 - รวม151,000 ล้านยูโร (160,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
 - ต่อหัว41,000 ยูโร/44,000 ดอลลาร์สหรัฐ[4]
เอชดีไอ (2019)0.943[5]
สูงมาก · ที่ 4 จาก 12
เว็บไซต์www.zuid-holland.nl

เซาท์ฮอลแลนด์ (อังกฤษ: South Holland) หรือ เซาด์-โฮลลันด์ (ดัตช์: Zuid-Holland, ออกเสียง: [ˌzœyt ˈɦɔlɑnt] ( ฟังเสียง)) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลเหนือ ทางตะวันตกของประเทศเนเธอร์แลนด์ เมืองหลักของจังหวัดคือเมืองเดอะเฮก และเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือรอตเทอร์ดาม จังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์เป็นหนึ่งในที่ที่มีความหนาแน่นประชากรมากที่สุดในโลก และเป็นแหล่งอุตสาหกรรม มีประชากร 3,705,625 คน[6] (1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019) มีพื้นที่ 3,419 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดในเนเธอร์แลนด์ ตั้งอยู่บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์-เมิซ-สเกลต์ จึงเป็นที่ตั้งของท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป คือ ท่าเรือรอตเทอร์ดาม

ประวัติศาสตร์[แก้]

มีหลักฐานช่วงก่อนประวัติศาสตร์ว่ามนุษย์ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเขตเซาท์ฮอลแลนด์ตั้งแต่เมื่อ 7,500 ปีก่อนและเริ่มทำเกษตรกรรมในอีก 2,000 ปีให้หลัง ต่อมาอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมันโดยโดยเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดโลว์เออร์เจอร์เมเนีย เมื่อโรมันล่มสลาย เซาท์ฮอลแลนด์ตกเป็นของอาณาจักรฟรีเชียซึ่งต่อมาถูกอาณาจักรแฟรงก์เข้ายึดครองเมื่อปี ค.ศ. 636 ปลายคริตศตวรรษที่ 7 บาทหลวงวิลลิบรอร์ด ชาวแองโกล-แซกซอน ได้เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกโดยเริ่มสร้างโบสถ์และค่อยๆเปลี่ยนให้ประชาชนในพื้นที่แถบนี้เป็นคริสตศาสนิกชน ต่อมา ในปี ค.ศ. 843 เมื่ออาณาจักรแฟรงก์ถูกแบ่งออกเป็นสามอาณาจักรย่อยตามสนธิสัญญาแวร์เดิง เซาท์ฮอลแลนด์ตกอยู่ในส่วนของอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก และกลายเป็นจุดกำเนิดของเคาน์ตีฮอลแลนด์

ชุนชนแรกในเซาท์ฮอลแลนด์ที่ได้รับการยกฐานะให้เป็นเมืองคือ ดอร์เดรชท์ โดยได้สิทธิความเป็นเมืองในปี ค.ศ. 1220 และเริ่มเรืองอำนาจในพื้นที่ แต่ก็ต้องเผชิญกับวิกฤตการน้ำท่อมบ่อยครั้งในช่วงปลายศตวรรษที่ 14 และยังกลายเป็นสมรภูมิรบของสงครามฮุกและคอด อันเป็นสงครามกลางเมืองที่สิ้นสุดในปี ค.ศ. 1490 หากกล่าวโดยรวมแล้ว พื้นที่ส่วนใหญ่ของเซาท์ฮอลแลนด์ในยุคกลางเป็นพื้นที่ไร่นาเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่พอเข้าสู่ศตวรรษที่ 16 ฮอลแลนด์เริ่มมีอำนาจขึ้นและกลายมาเป็นดินแดนทันสมัยของเหล่าพ่อค้า และโฉมหน้าของพื้นที่แถบนี้ก็เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง เมื่อเข้าร่วมสงคราม 80 ปีกับสาธารณรัฐดัตช์ ประกาศอิสรภาพต่อการปกครองของสเปน เมื่อ ค.ศ. 1581

สภาบินเนนโฮฟ เมื่อปี ค.ศ. 1625

ในยุคสาธารณรัฐดัตช์ หลายเมืองในเขตเซาท์ฮอลแลนด์เริ่มมีบทบาทในฐานะเมืองแห่งการค้า ไม่ว่าจะเป็นไลเดิน เดลฟท์ เคาดา และดอร์เดรชท์ เจ้าชายวิลเลียมแห่งออเรนจ์ได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งแรกขึ้นในเนเธอร์แลนด์ที่ไลเดิน นครเฮกที่เคยเป็นที่ตั้งของปราสาทของเคานต์ฮอลแลนด์ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางของบริหารบ้านเมืองของประเทศ โดยมีรัฐบาลและรัฐสภาอยู่ที่อาคารบินเนนโฮฟ ก่อนจะเข้าสู่ช่วงยุคทองของเนเธอร์แลนด์ในศตวรรษที่ 17 พื้นที่ทางใต้ของฮอลแลนด์นิยมเรียกกันในชื่อ เซาเดอร์ควาเทียร์ อันหมายถึงพื้นที่หนึ่งในสี่ที่อยู่ทางใต้ เป็นดินแดนที่เป็นบ้านของนักวิทยาศาสตร์และนักปรัชญาที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น อันโตนี ฟัน เลเวินฮุก ผู้พัฒนากล้องจุลทรรศน์ คริสตียาน เฮยเคินส์ ผู้ค้นพบดวงจันทร์บริวารของดาวเสาร์ บารุค สปิโนซา หรือจิตรกรอย่าง โยฮันเนิส เฟอร์เมร์ แร็มบรันต์ และยัน สเตน

เรื่องราวการเกิดขึ้นของจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์ มีจุดเริ่มต้นจากยุคที่จักรพรรดินโปเลียนได้เข้ายึดครองเนเธอร์แลนด์และปกครองในช่วง ค.ศ. 1795 ถึง 1813 ซึ่งเป็นช่วงที่เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองแบบจังหวัดของชาวดัตช์อย่างมาก ในปี ค.ศ. 1795 นั้น ได้มีการล้มล้างระบบเดิมทิ้งไปและสถาปนาสาธารณรัฐปัตตาเวียขึ้น ประกอบไปด้วย 8 จังหวัด (département) ตามระบบการปกครองของฝรั่งเศส แต่ละจังหวัดมีจำนวนประชากรเท่า ๆ กัน ดินแดนทางใต้ของฮอลแลนด์จึงถูกแบ่งออกเป็น 3 จังหวัด เกาะต่างๆถูกผนวกเข้ากับจังหวัดเซลันด์ ทางตะวันออกถูกรวมเข้ากับจังหวัดสเกลต์เอ็นเมิซ และทางตอนเหนือกลายเป็นจังหวัดเดลฟท์ นอกจากนี้ พื้นที่เล็กๆบางส่วนทางตะวันออกถูกโอนไปยังจังหวัดไรน์ ระบบนี้คงอยู่มาจนถึงปี ค.ศ. 1801 เมื่อได้มีการรวมดินแดนหลายส่วนเป็นจังหวัดฮอลแลนด์ แต่อยู่ได้ไม่นานนักเพราะหลังจากนั้นได้มีการแบ่งฮอลแลนด์ออกเป็นสองส่วน คือ อัมสเทิลลันด์ (นอร์ทฮอลแลนด์ในปัจจุบัน) และมาสลันด์ (เซาท์ฮอลแลนด์ในปัจจุบัน) แต่ก็อยู่ได้ไม่นานอีกเช่นกัน เมื่อได้มีการผนวกรวมเนเธอร์แลนด์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิฝรั่งเศส อัมสเทิลลันด์ถูกผนวกรวมกับยูเทรกต์กลายเป็นจังหวัด "เซาเดอร์เซ" (ฝรั่งเศส: Zuyderzée) และมาสลันด์เปลี่ยนชื่อเป็น "โมนเดน ฟอน เดอ มาส" (ฝรั่งเศส: Bouches-de-la-Meuse) ในปี ค.ศ. 1810

แต่เมื่อจักรพรรดินโปเลียนพ่ายแพ้ในการรบเมื่อปี ค.ศ. 1813 ระบบการบริหารยังคงเดิม จนกระทั่งปีต่อมา เนเธอร์แลนด์ได้มีรัฐธรรมนูญใหม่ มีการจัดระบบระเบียบจังหวัดและภูมิภาคใหม่ทั้งประเทศ จังหวัดเซาเดอร์เซและโมนเดน ฟอน เดอ มาสได้ถูกผนวกรวมเข้าเป็นจังหวัด"ฮอลแลนด์" แต่ยังมีผู้ว่าราชการจังหวัด 2 คน คนหนึ่งรับผิดชอบจังหวัดอัมสเทิลลันด์เดิม และอีกคนรับผิดชอบจังหวัดมาสลันด์เดิม ดังนั้น แม้จะมีการรวมจังหวัด แต่พื้นที่ทั้งสองส่วนยังมีระบบที่แตกต่างกันอย่างมาก ทำให้แนวคิดการแบ่งฮอลแลนด์ยังคงมีอยู่ เมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในปี ค.ศ. 1840 จังหวัดฮอลแลนด์จึงถูกแบ่งเป็นสองจังหวัดอีกครั้ง มีชื่อว่า "นอร์ทฮอลแลนด์"และ"เซาท์ฮอลแลนด์"

ในปี ค.ศ. 1863 ได้มีการปรับปรุงระบบชลประทานใหม่ เป็นจุดกำเนิดของการเติบโตของท่าเรือรอตเทอร์ดาม ต่อมา รอตเทอร์ดามถูกเยอรมนีเข้าโจมตีและยึดครองในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ได้รับความเสียหายอย่างมาก ในขณะเดียวกัน นาซีเยอรมนีได้สร้างกำแพงแห่งแอตแลนติกขึ้นตามแนวชายฝั่งของยุโรปภาคพื้นทวีปและสแกนดิเนเวียเพื่อป้องกันการรุกรานของสัมพันธมิตร แต่ได้พ่ายแพ้ไปและเซาท์ฮอลแลนด์ก็ได้อิสรภาพก่อนสงครามโลกจะสิ้นสุด ต่อมา ในปี ค.ศ. 1953 ภาคใต้ของเซาท์ฮอลแลนด์เผชิญกับวิกฤตการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่จากการไหลบ่าของน้ำในทะเลเหนือ เป็นเหตุให้ประชาชน 677 คนเสียชีวิต หลังจากนั้น รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ได้เริ่มโครงการใหญ่เดลตาเวิร์กส์ เพื่อป้องกันการท่วมของทะเล

ภูมิศาสตร์[แก้]

เซาท์ฮอลแลนด์มีพื้นที่ 3,419 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็นพื้นน้ำ 605 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดกับจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์ทางทิศเหนือ ยูเทรกต์และเกลเดอร์ลันด์ทางทิศตะวันออก นอร์ทบราบันต์และเซลันด์ทางทิศใต้ พื้นที่ส่วนใหญ่ค่อนข้างราบเรียบ มีที่ลุ่มมากมาย ตอนกลางของเซาท์ฮอลแลนด์เป็นพื้นที่เมืองที่เป็นส่วนหนึ่งของมหานครรันสตัด ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของเนเธอร์แลนด์อย่างมาก พื้นที่ทางตะวันออกเป็นพื้นที่เกษตรกรรม และทางใต้มีสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์-เมิซ-สเกลต์

จังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 52 เทศบาล โดยสามารถจัดกลุ่มได้ 6 กลุ่ม (COROP) ได้แก่

กลุ่มไลเดินและโบลเลนสเตรก: ฮิลเลอกอม, คากเอ็นบราสเซิม, คาทไวค์, ไลเดิน, ลิสเซอ, โนร์ดไวค์, อุกสท์เกสท์, เทย์ลิงเงิน, โฟร์สโคเทิน, ซูเทอร์เวาเดอ

กลุ่มเฮก: เดอะเฮก, ไลด์สเคินดาม-โฟร์บูร์ก, ไพนาคเกอร์-โนทโดร์ป, ไรส์ไวค์, วาสเซอนาร์, ซูเทอร์เมร์

กลุ่มเดลฟท์และเวสต์แลนด์: เดลฟท์, มิดเดิน-เดลฟลันด์, เวสท์ลันด์

กลุ่มอีสต์เซาท์ฮอลแลนด์: อัลเพนอานเดนไรน์, โบเดอกราเฟิน-เรไวค์, เคาดา, คริมเพเนอร์วาร์ด, นิวโคป, วัดดิงซ์เฟน

กลุ่มเซาท์เวสท์ฮอลแลนด์: อัลบลาสเซอร์ดาม, ดอร์เดรชท์, กีสเซินลานเดิน, โกรินเคิม, ฮาร์ดิงซ์เฟลด์-กีสเซินดาม, เฮนดริค-อิโด-อัมบาชท์, เลเดอร์โดร์ป, โมเลินลานเดิน, ปาเปนเดรชท์, สลิเดรชท์, ซไวน์เดรชท์

กลุ่มไรน์โมนด์: อัลบรันด์สวาร์ด, บาเรินเดรชท์, บริลล์, กาเปเลออานเดินไอส์เซิล, เฮลเลอฟุตสเลาส์, ฮุคสเคอ วาร์ด, คริมเพนอานเดินไอส์เซิล, ลานซิงเงอร์ลันด์, มาสเลา, นีสเซอวาร์ด, ริดเดอร์แคร์ก, รอตเทอร์ดาม, สกีดาม, วลาร์ดิงเงิน, เวสท์โฟร์น, เซาด์ปลาส

ภูมิอากาศ[แก้]

เช่นเดียวกับส่วนอื่น ๆ ของเนเธอร์แลนด์ เซาท์ฮอลแลนด์มีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร (Cfb) ตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน ภูมิอากาศได้รับอิทธิพลจากทะเลเหนือและมหาสมุทรแอตแลนติกซึ่งส่งผลให้ฤดูร้อนมีอากาศอบอุ่นแต่ไม่ร้อน และฤดูหนาวไม่หนาวเย็นจนเกินไป มีฝนตกทั่วไปในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว เนื่องจากเป็นที่ราบลมพายุจึงเกิดขึ้นบ่อยในฤดูหนาว แม้ว่าจะมีฝนตกได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงหกเดือนแรกของปีนั้นค่อนข้างแห้งแล้ง ลมตะวันออกสามารถส่งผลให้เกิดสภาพภูมิอากาศแบบภาคพื้นทวีปชั่วคราวโดยมีฤดูร้อนที่ค่อนข้างแห้งและอบอุ่น และฤดูหนาวที่หนาวเย็นและมีพายุ อุณหภูมิแตกต่างกันระหว่าง 2 °C ถึง 6 °C ในฤดูหนาวและ 17 °C ถึง 20 °C ในฤดูร้อน

ข้อมูลภูมิอากาศของท่าอากาศยานรอตเทอร์ดามเดอะเฮก
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 14.1
(57.4)
16.7
(62.1)
21.2
(70.2)
26.7
(80.1)
30.5
(86.9)
32.8
(91)
33.1
(91.6)
34.9
(94.8)
29.0
(84.2)
24.8
(76.6)
18.3
(64.9)
15.1
(59.2)
34.9
(94.8)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 6.0
(42.8)
6.6
(43.9)
9.9
(49.8)
13.5
(56.3)
17.5
(63.5)
19.9
(67.8)
22.2
(72)
22.1
(71.8)
18.9
(66)
14.7
(58.5)
9.9
(49.8)
6.6
(43.9)
14.0
(57.2)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 3.6
(38.5)
3.7
(38.7)
6.4
(43.5)
9.1
(48.4)
12.9
(55.2)
15.5
(59.9)
17.8
(64)
17.6
(63.7)
14.8
(58.6)
11.2
(52.2)
7.3
(45.1)
4.2
(39.6)
10.4
(50.7)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 0.8
(33.4)
0.5
(32.9)
2.6
(36.7)
4.3
(39.7)
7.8
(46)
10.6
(51.1)
13.1
(55.6)
12.8
(55)
10.6
(51.1)
7.5
(45.5)
4.2
(39.6)
1.4
(34.5)
6.4
(43.5)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -17.1
(1.2)
-13.8
(7.2)
-11.4
(11.5)
-6.0
(21.2)
-1.4
(29.5)
0.5
(32.9)
3.6
(38.5)
4.6
(40.3)
0.4
(32.7)
-5.1
(22.8)
-7.5
(18.5)
-13.3
(8.1)
−17.1
(1.2)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 69.1
(2.72)
57.9
(2.28)
64.9
(2.555)
42.6
(1.677)
58.3
(2.295)
65.2
(2.567)
74.0
(2.913)
81.0
(3.189)
87.1
(3.429)
90.1
(3.547)
87.1
(3.429)
78.3
(3.083)
855.6
(33.685)
ความชื้นร้อยละ 88 85 83 78 77 79 79 80 84 86 89 89 83.1
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1 mm) 12 10 12 9 9 10 10 10 12 12 13 13 131
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย 6 5 4 2 0 0 0 0 0 0 2 4 22
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 62.5 83.8 124.0 174.9 213.9 203.6 213.1 196.6 137.6 106.9 60.4 46.7 1,623.8
แหล่งที่มา 1: สถาบันอุตุนิยมวิทยาแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ (1981–2010 สภาพอากาศปรกติ, หิมะปรกติในช่วงปี 1971–2000)[7]
แหล่งที่มา 2: สถาบันอุตุนิยมวิทยาแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ (1971–2000 สภาพอากาศสูงสุด)[8]

เศรษฐกิจ[แก้]

ท่าเรือรอตเทอร์ดาม
แปลงเพาะพืชหัวเพื่อตัดดอกใกล้เมืองลิซเซ
วีดิทัศน์ทุ่งดอกไม้จากโดรนใกล้เมืองเด ซิลก์

ผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ของภูมิภาคนี้มีมูลค่า 163.8 พันล้านยูโรในปี ค.ศ. 2018 คิดเป็นร้อยละ 21.2 ของประเทศ[9] เศรษฐกิจของจังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์สามารถจำแนกได้ตามภาคธุรกิจดังนี้

  • การปลูกพืชในเรือนกระจก ในจังหวัดมีเรือนกระจกมากถึง 2,550 หลังหรือราว ๆ ครึ่งหนึ่งของทั้งประเทศ[10] เฉพาะอย่างยิ่งในเขตเวสต์ลันด์ โดยเรือนกระจกครอบคลุมพื้นที่กว่า 2,750 เฮกตาร์ (10.6 ตารางไมล์)[11]
  • การเพาะหัวของดอกไม้
  • ท่าเรือรอตเทอร์ดาม
  • ปิโตรเคมี ของบริษัทรอยัลดัตช์เชลล์ใกล้กับรอตเทอร์ดาม
  • วิสาหกิจขนาดย่อมในเดอะเฮก
  • การท่องเที่ยว โดยเฉพาะที่เดลฟท์
  • การประมงเชิงพาณิชย์
  • ปศุสัตว์

บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]

นักวิทยาศาสตร์สองคนที่มีชื่อเสียง ที่มีถิ่นกำเนิดจากเซาท์ฮอลแลนด์คือ:

ศิลปินที่มีชื่อเสียงหลายคนมีถิ่นกำเนิดมาจากจังหวัดนี้ เช่น:

อ้างอิง[แก้]

  1. "Error". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-13. สืบค้นเมื่อ 2022-08-14.
  2. "CBS Statline".
  3. "Regional key figures; national accounts". CBS StatLine.
  4. XE.com average EUR/USD ex. rate in 2014
  5. "Sub-national HDI - Area Database" (ภาษาอังกฤษ). Global Data Lab. สืบค้นเมื่อ 13 September 2018.
  6. https://opendata.cbs.nl/statline/#/CBS/nl/dataset/37230ned/table
  7. "Klimaattabel Rotterdam, langjarige gemiddelden, tijdvak 1981–2010" (PDF) (ภาษาดัตช์). Royal Netherlands Meteorological Institute. สืบค้นเมื่อ 10 September 2013.
  8. "Klimaattabel Rotterdam, langjarige extremen, tijdvak 1971–2000" (PDF) (ภาษาดัตช์). Royal Netherlands Meteorological Institute. สืบค้นเมื่อ 10 September 2013.[ลิงก์เสีย]
  9. "Regional GDP per capita ranged from 30% to 263% of the EU average in 2018". Eurostat.
  10. "Leegstand van kassen in Westland dreigt" (ภาษาดัตช์). Nu.nl. 22 October 2012. สืบค้นเมื่อ 29 April 2014.
  11. "De Kracht van het Westland" (PDF) (ภาษาดัตช์). 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-04-29. สืบค้นเมื่อ 29 April 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]