จังหวัดชึย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดชึย

Чүй облусу (คีร์กีซ)
Чуйская область (รัสเซีย)
ธงของจังหวัดชึย
ธง
ตราราชการของจังหวัดชึย
ตราอาร์ม
แผนที่ประเทศคีร์กีซสถาน เน้นจังหวัดชึย
แผนที่ประเทศคีร์กีซสถาน เน้นจังหวัดชึย
พิกัด: 42°30′N 74°30′E / 42.500°N 74.500°E / 42.500; 74.500พิกัดภูมิศาสตร์: 42°30′N 74°30′E / 42.500°N 74.500°E / 42.500; 74.500
ประเทศ คีร์กีซสถาน
เมืองหลักบิชเคก
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการจังหวัดBaktıbek Japaroviç Kudaybergenov
พื้นที่
 • ทั้งหมด20,200 ตร.กม. (7,800 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 มกราคม 2554)
 • ทั้งหมด808,200[1] คน
เขตเวลาUTC+6 (ตะวันออก)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+6 (ไม่ใช้)
รหัส ISO 3166KG-C
ทะเบียนพาหนะC, S, 08
อำเภอ9
นคร4
นิคมแบบเมือง5
หมู่บ้าน331

ชึย (คีร์กีซ: Чүй) หรือ ชูย (รัสเซีย: Чуй) เป็นจังหวัดที่อยู่เหนือสุดของประเทศคีร์กีซสถาน โดยทิศเหนือติดกับประเทศคาซัคสถาน มีเนื้อที่ทั้งหมด 20,200 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรทั้งหมด 790,438 คน โดยมีศูนย์กลางการบริหารคือบิชเคก ซึ่งเป็นเมืองหลวงของคีร์กีซสถาน แม้ว่าข้อเท็จจริงแล้ว บิชเคกเป็นเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐ และไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดชึย (ดังนั้นสถิติประชากรและอื่น ๆ สำหรับจังหวัดจึงไม่รวมตัวบ่งชี้บิชเคก)

ประวัติศาสตร์[แก้]

ในปี พ.ศ. 2469 พื้นที่นี้เป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐปกครองตนเองสังคมนิยมโซเวียตคีร์กิซซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ ในระหว่างยุคโซเวียต การผลิตทางเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมที่หลากหลายถูกจัดให้มีขึ้นในพื้นที่ ทำให้มีจำนวนของเมืองศูนย์กลางชุมชนเพิ่มขึ้นเช่น ตักมอก (เมืองศูนย์กลางการบริหารของจังหวัดในปี 2546 ถึง 2550), คานต์ และ คารา-บัลตา จังหวัดถูกจัดตั้งขึ้นในชื่อ ฟรุนเซ (Фрунзе) เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482[2] และเริ่มใช้ชื่อชึย ในปี พ.ศ. 2533

ประชากรศาสตร์[แก้]

ประชากรในจังหวัดชึย
ปีประชากร±%
1970621,309—    
1979698,127+12.4%
1989801,902+14.9%
1999 772,188−3.7%
2009790,438+2.4%
หมายเหตุ: ประชากรทางนิตินัย; แหล่งที่มา:[3]

เชื้อชาติ[แก้]

จากการสำรวจสำมะโนประชากรในปี ค.ศ. 2009 สัดส่วนกลุ่มชาติพันธุ์ของจังหวัดชึย (ประชากรทางนิตินัย) คือ[3]

กลุ่มชาติพันธุ์ จำนวน สัดส่วน
คีร์กีซ 474,805 59.1%
รัสเซีย 167,135 20.8%
ดันกัน 49,802 6.2%
อุยกูร์ 15,276 1.9%
อุซเบก 14,755 1.8%
คาซัค 12,800 1.6%
ตุรกี 11,124 1.4%
ยูเครน 10,850 1.4%
อาเซอร์ไบจาน 10,196 1.3%
ตาตาร์ 6,482 0.8%
เยอรมัน 5,919 0.7%
เคิร์ด 4,544 0.6%
เกาหลี 4,388 0.5%
ทาจิก 2,600 0.3%
เลซกิน 2,246 0.3%
ดาเกสถาน 1,812 0.2%
คาราไช 1,379 0.2%
เชเชน 1,316 0.2%
กลุ่มอื่น ๆ 5,801 0.7%

อ้างอิง[แก้]

  1. "2010-жылга карата Кыргыз Республикасынын Улуттук Статистикалык Комитетинин маалыматы" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-22. สืบค้นเมื่อ 2019-11-03.
  2. Incorporated, Grolier (1993). Encyclopedia Americana. Grolier Incorporated. p. 141.
  3. 3.0 3.1 "2009 population and housing census of the Kyrgyz Republic: Chüy Region" (PDF) (ภาษารัสเซีย). National Statistics Committee of the Kyrgyz Republic. 2010. pp. 13, 16, 55, 218, 271–275.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]