จักรวรรดิอัสซีเรียใหม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรวรรดิอัสซีเรียใหม่

934 ปีก่อนคริสต์ศักราช–609 ปีก่อนคริสต์ศักราช
จักรวรรดิอัสซีเรียใหม่
จักรวรรดิอัสซีเรียใหม่
สถานะจักรวรรดิ
เมืองหลวงอัสเซอร์, ต่อมานินาเวห์
ภาษาทั่วไปภาษาอราเมอิก
ศาสนา
ศาสนาอัสซีเรีย-บาบิโลเนีย
การปกครองราชาธิปไตย
กษัตริย์ 
ยุคประวัติศาสตร์ยุคเหล็ก
• อัสเชอร์-ดันที่ 2
934 ปีก่อนคริสต์ศักราช
609 ปีก่อนคริสต์ศักราช
ก่อนหน้า
ถัดไป
สมัยอัสซีเรียกลาง
จักรวรรดิมีเดีย
จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่

จักรวรรดิอัสซีเรียใหม่ (อังกฤษ: Neo-Assyrian Empire) เป็นสมัยประวัติศาสตร์ของเมโสโปเตเมียที่เริ่มขึ้นในปี 934 ก่อนคริสต์ศักราช และสิ้นสุดลงเมื่อปี 609 ก่อนคริสต์ศักราช[1] ระหว่างช่วงเวลานี้อัสซีเรียเป็นมหาอำนาจในบริเวณดังกล่าวระหว่างบาบิโลเนียและอำนาจรองอื่น ๆ แต่ก็มิได้มีอำนาจอย่างจริงจังมาจนถึงการปฏิรูปโดย Tiglath-Pileser III ในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสต์ศักราช[2][3] เมื่ออัสซีเรียกลายมาเป็นมหาอำนาจของจักรวรรดิอันใหญ่หลวง ในสมัยอัสซีเรียกลางระหว่างยุคสัมริดตอนปลายอัสซีเรียเป็นเพียงราชอาณาจักรรองทางตอนเหนือของเมโสโปเตมีย (อิรักปัจจุบัน) ที่แข่งขันการมีอิทธิพลกับราชอาณาจักรอื่นในทางตอนใต้ของเมโสโปเตมียและบาบิโลเนียคู่อริ เริ่มด้วยการรณรงค์ของอดัด-นิรานิที่ 2 (Adad-nirari II) อัสซีเรียก็เริ่มขยายอำนาจและเริ่มกลายเป็นศัตรูสำคัญต่อความมั่นคงของอียิปต์

จักรวรรดิอัสซีเรียใหม่เป็นจักรวรรดิที่สืบต่อจากสมัยอัสซีเรียกลาง ที่รุ่งเรืองระหว่างศตวรรษที่ 14 ถึง 10 ก่อนคริสต์ศักราช นักวิชาการบางท่านเช่นริชาร์ด เนลสัน ฟราย์มีความเห็นว่าจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่เป็นจักรวรรดิที่แท้จริงจักรวรรดิแรกในประวัติศาสตร์[4] ระหว่างช่วงเวลานี้ภาษาอราเมอิกก็กลายมาเป็นภาษาราชการของจักรวรรดิร่วมกับภาษาอัคคาเดียน[4]

ในที่สุดจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่ก็มาล่มสลายลงเมื่อจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่รุ่งเรืองขึ้น นินาเวห์เสียเมืองในปี 612 ก่อนคริสต์ศักราช กว่าห้าสิบปีต่อมาทั้งบาบิโลเนียและอัสซีเรียก็กลายเป็นจังหวัดของจักรวรรดิเปอร์เชีย แม้ว่าอัสซีเรียในรัชสมัยของอัสเชอร์บานิปาล (Ashurbanipal) จะทำลายวัฒนธรรมของเอลาม แต่วัฒนธรรมของอัสซีเรียก็มิได้มามีอิทธิพลต่อชนมีดีสและเปอร์เชียของกลุ่มชนอินโด-อิเรเนียนต่อมา[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Simo Parpola (2004). "National and Ethnic Identity in the Neo-Assyrian Empire and Assyrian Identity in Post-Empire Times" (PDF). Assyriology (ภาษาอังกฤษ). Journal of Assyrian Academic Studies, Vol 18, N0. 2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-11-28. สืบค้นเมื่อ 2009-10-08. The Neo-Assyrian Empire (934-609 BC) was a multi-ethnic state composed of many peoples and tribes of different origins.
  2. "Assyrian Eponym List". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-14. สืบค้นเมื่อ 2009-10-08.
  3. Tadmor, H. (1994). The Inscriptions of Tiglath-Pileser III, King of Assyria.pp.29
  4. 4.0 4.1 Richard Nelson Frye (1992). "Assyria and Syria: Synonyms" (HTML). PhD., Harvard University (ภาษาอังกฤษ). Journal of Near Eastern Studies. And the ancient Assyrian empire, was the first real, empire in history. What do I mean, it had many different peoples included in the empire, all speaking Aramaic, and becoming what may be called, "Assyrian citizens." That was the first time in history, that we have this. For example, Elamite musicians, were brought to Nineveh, and they were 'made Assyrians' which means, that Assyria, was more than a small country, it was the empire, the whole Fertile Crescent.
  5. Hirad Dinavari. "More alike than different" (HTML) (ภาษาอังกฤษ). The Iranian. The cultural give and take influenced the many things some of which are the cuneiform writing and the building of ziggurats which the later Assyrians and the Achaemenid (Hakhamaneshi) Persians inherited. The Assyrians for the most part were responsible for the destruction of the Elamite civilization but the Assyrians influenced the cultures of Media and Urartu And the influence of Elam lived on among the Medes and Persians. The various Iranian speaking peoples who had been coming into what is now Caucasus Iran, Afghanistan and Central Asia since around 4 thousand BCE were heavily influenced by the aboriginal Elamites and the Semitic Babylonians and Assyrians. This difference can be most noticed when one compares other Iranian speaking peoples who lived in Eurasia like the Scything and Sarmatians whose culture was very different with that of Iranian tribes who settled in the Iranian Plateau and became more intertwined with Slavic peoples. So from that far back Iran (the geographic location) has been multi-ethnic.

ดูเพิ่ม[แก้]