จักรพรรดิถงจื้อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถงจื้อ

มู่จงอี้หวงตี้ (穆宗毅皇帝)
จักรพรรดิราชวงศ์ชิง
ครองราชย์11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1861 - 12 มกราคม ค.ศ. 1875
(13 ปี 62 วัน)
ก่อนหน้าจักรพรรดิเสียนเฟิง
ถัดไปจักรพรรดิกวังซวี้
พระราชสมภพ27 เมษายน ค.ศ. 1856(1856-04-27)
พระราชวังต้องห้าม
ไจ้ฉุน
สวรรคต12 มกราคม ค.ศ. 1875(1875-01-12) (18 ปี)
มเหสีจักรพรรดินีเซี่ยวเจ๋ออี้
มู่จงอี้หวงตี้ (穆宗毅皇帝)
พระนามเดิม
อ้ายซินเจว๋หลัว ไจ้ฉุน
พระปรมาภิไธย
มู่จงอี้หวงตี้ (穆宗毅皇帝)
พระสมัญญานาม
Jì tiān kāi yùn shòu zhōngjū zhèngbǎo dà dìng gōng shèng zhì chéng xiàoxìn mǐngōng kuān míng sù yì huángdì
继天开运受中居正保大定功圣智诚孝信敏恭宽明肃毅皇帝
พระอารามนาม
มู่จง (穆宗)
ราชวงศ์ชิง
พระราชบิดาจักรพรรดิเสียนเฟิง
พระราชมารดาซูสีไทเฮา

จักรพรรดิถงจื้อ (จีน: 同治帝; พินอิน: Tóngzhì) พงศาวดารไทยเรียก พระเจ้าถ้องตี้[1][2] ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่พระชนมายุ 4 พรรษา ถึงแม้ว่าพระองค์จะครองราชย์ได้เพียง 12 ปี พระองค์ก็จัดได้ว่าเป็นจักรพรรดิที่พยายามจะบริหารประเทศให้ดีองค์หนึ่ง แต่ก็ถูกซูสีไทเฮายึดอำนาจไว้ ทำให้พระองค์ไม่สามารถใช้ความสามารถได้อย่างเต็มที่ เพราะพระนาง ซูสีไทเฮาเห็นว่า พระองค์นั้นไร้ซึ่งความสามารถ วัน ๆ ก็เอาแต่แอบหนีออกไปเที่ยวนอกวัง

พระราชประวัติ[แก้]

สมเด็จพระจักรพรรดิถงจื้อ มีพระนามเดิมว่า อ้ายซินเจว๋หลัว ไจ้ฉุน เป็นราชโอรสองค์เดียวในจักรพรรดิเสียนเฟิงกับพระสนมเย่เฮ่อน่าหลาค.ศ. 1872 เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิถงจื้อมีพระชนมพรรษาได้สิบเจ็ดพรรษา พระพันปีหลวงทั้งสองพระองค์ต่างมีพระราชประสงค์จะให้ได้ทรงอภิเษกสมรสกับสตรีที่ตนคัดสรรเอาไว้แล้วด้าน พระพันปีหลวงฉีอันนั้น ทรงหมายพระเนตรสตรีแมนจูผู้มากคุณสมบัตินางหนึ่งจากสกุล “อาลู่เท่อ” (พินอิน: Alute) ด้าน พระพันปีหลวงฉือสีนั้น มีพระราชดำริจะให้สมเด็จพระจักรพรรดิได้อภิเษกสมรสกับข้าหลวงในพระองค์นางหนึ่งจากสกุล “ฟูจา” (พินอิน: Fuja) สมเด็จพระจักรพรรดิถงจื้อมีพระราชวินิจฉัยเลือกพระนางอาลู่เท่อเป็นพระอัครมเหสี โดยโปรดให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมรสขึ้นในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1872 ส่วนสตรีที่พระพันปีหลวงฉือสีทรงเลือกสรรไว้นั้น โปรดรับเอาไว้เป็น พระชายา

โดยพระนาม "ถงจื้อ" (同治) มีความหมายว่า "สองพระนางฟังราชการ ขุนนางช่วยกันปกครอง" (อันหมายถึง พระพันปีหลวงฉืออันและพระพันปีหลวงฉือสีว่าราชการหลังม่าน โดยมีเหล่าขุนนางช่วยบริหารราชการ) อีกความเห็นหนึ่งเห็นว่า พระนามมาจากคำสอนของขงจื้อมีความหมายว่า"ระเบียบและมั่งคั่ง" ( วิธีปกครองมีหลายวิธี กล่าวถึงที่ทำให้ชาติรุ่งเรืองสรุปได้เป็น 2 คำ คือระเบียบและมั่งคั่ง ส่วนการปกครองที่นำชาติสู่ความย่อยยับ สรุปได้ 2 คำเช่นกันคือยุ่งเหยิงและโกลาหล )

สวรรคต[แก้]

และต่อมาก็ประชวรพระโรคซิฟิลิส ซึ่งโบราณเรียก “โรคสำหรับบุรุษ” เกิดจากการสัมผัสหรือร่วมประเวณีกับผู้ป่วยโรคนี้ พระพันปีหลวงฉือสีจึงมีพระราชเสาวนีย์ให้คณะแพทย์หลวงเข้าตรวจพระอาการ พบว่าสมเด็จพระจักรพรรดิประชวรพระโรคซิฟิลิสจริงเมื่อทรงทราบแล้วพระพันปีหลวงฉือสีทรงเตือนให้คณะแพทย์เก็บงำความข้อนี้เอาไว้ เพราะเรื่องดังกล่าวย่อมเป็นความอื้อฉาวน่าอดสูขนานใหญ่ คณะแพทย์จึงจัดทำรายงานเท็จเกี่ยวกับพระอาการแทน โดยรายงานว่าสมเด็จพระจักรพรรดิประชวรไข้ทรพิษ และถวายการรักษาตามพระอาการไข้ทรพิษ อันไข้ทรพิษนั้นมีลักษณะและอาการแต่ผิวเผินคล้ายคลึงกับโรคซิฟิลิส และชาวจีนยังนิยมว่าผู้ป่วยเป็นเป็นไข้ทรพิษถือว่ามีโชค อย่างไรก็ดี เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิประชวรนั้น พระพันปีหลวงฉือสีได้ทรงประกาศในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระจักรพรรดิว่า สมเด็จพระจักรพรรดิประชวรไข้ทรพิษ ถือเป็นมงคลแก่บ้านเมืองและในระหว่างการรักษาพระองค์นี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระพันปีหลวงฉือสีและ พระพันปีหลวงฉีอันเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไปพลางก่อน ซึ่งนับได้ว่าพระพันปีหลวงฉือสีกลับเข้าดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อีกครั้งโดยที่คณะแพทย์ถวายการรักษาพระอาการไข้ทรพิษเพื่อตบตาผู้คน แต่ความจริงแล้วทรงเป็นซิฟิลิส สมเด็จพระจักรพรรดิถงจื้อจึงเสด็จสวรรคตในวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 1875

พระราชกรณียกิจ[แก้]

พระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระจักรพรรดิถงจื้อขณะทรงพระอักษร

ระหว่างที่สมเด็จพระจักรพรรดิทรงบริหารราชการแผ่นดินด้วยพระองค์เองใน ค.ศ. 1873— ค.ศ. 1875 ได้ทรงตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการปฏิสังขรณ์พระราชวังหยวนหมิงหยวน (จีน: 圆明园; พินอิน: Yuán Míng Yuán; “พระราชวิสุทธอุทยาน”; อังกฤษ: Tactfully Pure Garden) ที่ถูกกองผสมนานาชาติเผาทำลายไปในสงครามฝิ่น โดยทรงปรารภว่าเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเป็นของขวัญแด่พระพันปีหลวงทั้งสองพระองค์ ทั้งนี้ พระราชวังหยวนหมิงหยวนตั้งอยู่ตอนเหนือของกรุงปักกิ่ง และได้รับการขนานนามจากนานาชาติว่าเป็น "ที่สุดแห่งสวน" ทั้งนี้ นักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่า ความจริงแล้วสมเด็จพระจักรพรรดิมีพระราชประสงค์จะให้พระพันปีหลวงฉือสีเสด็จแปรพระราชฐานไปให้ไกลจากพระราชวังหลวง เพื่อที่จะได้ทรงบริหารพระราชภาระได้โดยไม่ต้องมีผู้ใดคอยควบคุมอีกต่อไป และ ในระยะดังกล่าว พระคลังมหาสมบัติร่อยหรอลงไปจนเหลือเพียงน้อยนิดเนื่องเพราะใช้จ่ายไปการสงครามกับต่างชาติและการปราบปรามอั้งยี่ซ่องโจรภายใน สมเด็จพระจักรพรรดิจึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้คณะกรรมการบริหารพระคลังมหาสมบัติกระทำการใด ๆ ให้ได้มาสู่พระคลังซึ่งเงินและทรัพย์สิน กับทั้งรับสั่งให้พระบรมวงศ์ ข้าราชการชั้นสูง และผู้มีบรรดาศักดิ์ทั้งปวงช่วยกันบริจาคเงินและทรัพย์สินให้แก่พระคลัง ในการนี้ ยังได้ทรงติดตามและตรวจสอบผลการดังกล่าวด้วยพระองค์เองด้วย แต่ก็มีผู้ขอพระราชทานให้ทรงงดการปฏิสังขรณ์พระราชวังหยวนหมิงหยวนเสีย ซึ่งสมเด็จพระจักรพรรดิไม่ทรงสบพระราชอารมณ์อย่างยิ่ง มีพระบรมราชโองการให้ปลดเจ้าชายกงซึ่งทรงร่วมเข้าพระนามด้วย ออกเสียจากฐานันดรศักดิ์ในพระราชวงศ์ กลายเป็นสามัญชน ไม่กี่วันถัดจากนั้นได้มีพระบรมราชโองการให้ปลด เจ้าชายเตวิน (จีน: 惇; พินอิน: Dūn) , เจ้าชายฉุน, เจ้าชายอี้จวน (พินอิน: Yizuan) , เจ้าชายอี้ฮุย (พินอิน: Yihui) , เจ้าชายชิง (พินอิน: Qing) ตลอดจนข้าราชการและรัฐบุรุษคนอื่น ๆ ที่เข้าชื่อทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาดังกล่าว เช่น พลเอกเจิงกั๋วฝัน, หลี่หงจัง, เหวินเสียง (จีน: 文祥; พินอิน: Wén Xiáng) ฯลฯ ออกจากจากฐานันดรศักดิ์ในพระราชวงศ์ บรรดาศักดิ์ และตำแหน่งหน้าที่ทางราชการทั้งสิ้น พระองค์ทรง ถูกพระราชนนี บังคับพระราโชวาทแนะนำให้ทรงยกเลิกพระบรมราชโองการปลดพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการเหล่านั้นเสีย เป็นเหตุให้สมเด็จพระจักรพรรดิทรงเสียพระราชหฤทัยนักที่ไม่อาจทรงบริหารพระราชอำนาจได้อย่างเด็ดขาด และทรงระบายพระราชอารมณ์ด้วยการเสด็จประทับโรงหญิงนครโสเภณี

พระบรมวงศานุวงศ์[แก้]

ราชตระกูล[แก้]

ก่อนหน้า จักรพรรดิถงจื้อ ถัดไป
จักรพรรดิเสียนเฟิง
จักรพรรดิจีน
(พ.ศ. 2404 - พ.ศ. 2416)
จักรพรรดิกวังซวี้
  1. ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ 4 เรื่องราชศาสน์เจ้ากรุงจีน". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ 4 เรื่องพระราชศาสน์ถึงเจ้ากรุงจีน". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)