ฆ้อง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เครื่องดนตรีลักษณะฆ้องในฟิลิปปินส์

ฆ้อง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเพอร์คัชชันทำด้วยโลหะที่มีหลายรูปแบบ คำว่าฆ้องนั้นมีที่ว่าจากภาษาชวา ปรากฏการใช้ฆ้องในหลายชาติในทวีปเอเชีย เช่น จีน อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย เป็นต้น ปัจจุบันฆ้องเข้าไปมีส่วนในดนตรีตะวันตกด้วยเช่นกัน

ฆ้องในดนตรีไทย[แก้]

ฆ้อง เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตี มีหลายขนาดและประเภท บางชนิดเป็นเพียงเครื่องตีให้สัญญาณ เช่น ฆ้องกระแต ใช้ตีบอกสัญญาณเข้าเวรยาม, ฆ้องชัย ใช้ตีบอกสัญญาณในกองทัพสมัยโบราณ เป็นต้น บางท้องถิ่นเรียกว่า โหม่ง

รายชื่อฆ้องในดนตรีไทย[แก้]

ฆ้องที่ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา[แก้]

ปัจจุบัน ฆ้องถูกนำไปใช้ร่วมกับพิธีกรรมต่างๆ โดยนิยมซื้อไปถวายวัด เพราะเชื่อกันว่าจะ ทำให้มีชื่อเสียงโด่งดัง ปัจจุบัน แหล่งผลิต ฆ้องของประเทศไทย อยู่ที่บ้านทรายมูล ตำบลทรายมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี มีมากมายหลายขนาด จัดเป็นสินค้าโอทอป ของตำบล โดย ฆ้อง จะมีโฉลก แบ่ง ตามความเชื่อของชาวอิสาน ดังนี้

  • สิทธิชัยมังคลโชค
  • ตีอวดโลกป่าวเดียวดาย
  • เสียงดังไกลบ่มั่ว
  • เสียงดังทั่วเท่าแผ่นธรณี
  • แสน มเหสีมานั่งเฝ้า
  • เป็นเจ้าแผ่นทองเหลือง
  • แห่ขุนเมืองขึ้นนั่งแท่น
  • แสนขุนแหล่นมาเต้า
  • ตีโอนอ้าวเสพขอนผี
  • นางธรณีตกใจกลัวสะท้าน
  • ตีออกบ้านผามเอาชัย

โฉลกนิยมใช้มือคืบ กำปั้น ทางภาคอีสานใช้กำปั้นเรียงตามโฉลก 11 โฉลก

ฆ้องในวงออร์เคสตรา[แก้]

ในวงออร์เคสตรา ฆ้อง หรือบางครั้งเรียกว่าแทมแทม (tam-tam มีที่มาจากภาษาจีน) มีลักษณะเป็นฆ้องแบบแบน ไม่มีระดับเสียง มีได้หลายขนาด ฆ้องสามารถให้ได้ทั้งเสียงนุ่มลึกลับ และเสียงที่ดังกร้าว ขึ้นอยู่กับวิธีการตี ตำแหน่งการตีที่ดีที่สุดอยู่ที่บริเวณโดยห่างจากจุดศูนย์กลางเล็กน้อย ไม้สำหรับตีฆ้องเป็นไม้หัวนุ่ม

อ้างอิง[แก้]