ค่ายกักกันแบร์เกิน-เบ็ลเซิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ค่ายกักกันแบร์เกิน-เบ็ลเซิน
Bergen-Belsen Concentration Camp
ค่ายกักกันนาซี
มุมมองของค่ายหลังการปลดปล่อย
ค่ายกักกันแบร์เกิน-เบ็ลเซินตั้งอยู่ในเยอรมันนี
ค่ายกักกันแบร์เกิน-เบ็ลเซิน
Location of ค่ายกักกันแบร์เกิน-เบ็ลเซิน
Bergen-Belsen Concentration Camp within เยอรมันนี
ที่ตั้งรัฐนีเดอร์ซัคเซิน, เยอรมนีตอนเหนือ
ดำเนินการโดยเอ็สเอ็ส-โทเทินค็อพฟ์แฟร์เบ็นเดอ (SS-Totenkopfverbände)
ผู้บังคับบัญชา
รายการ
การใช้งานสถานที่ก่อนหน้าค่ายเชลยศึก
เปิดใช้งานค.ศ. 1940–1945
ผู้ถูกกักกันส่วนใหญ่เป็นยิว, โปแลนด์, เชลยศึกโซเวียต, ดัตช์, เช็ก, เยอรมัน และออสเตรียน
จำนวนผู้ถูกกักกัน120,000 คน
เสียชีวิต50,000 คนหรือมากกว่า
ปลดปล่อยโดยสหราชอาณาจักรและแคนาดา, 15 เมษายน 1945
ผู้ถูกกักกันที่มีชื่อเสียงอันเนอ ฟรังค์ และ มาร์กอต ฟรังค์
เว็บbergen-belsen.stiftung-ng.de/en/
รถแท็คเตอร์เกลี่ยดินของกองทัพบริติซได้ผลักดันศพจำนวนมากลงไปยังหลุมศพขนาดใหญ่ที่เบ็ลเซิน 19 เมษายน ค.ศ. 1945

ค่ายกักกันแบร์เกิน-เบ็ลเซิน (เยอรมัน: Konzentrationslager Bergen-Belsen) หรือ เบ็ลเซิน เป็นค่ายกักกันนาซีที่ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ที่โลเออร์แซ็คโซนี ทางภาคเหนือของเยอรมนี, ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองแบร์เกิน ใกล้กับเมืองเซ็ลเลอ (Celle) แต่เดิมถูกสร้างขึ้นเป็นค่ายเชลยศึก[1] ใน ค.ศ. 1943 บางส่วนของค่ายได้กลายเป็นค่ายกักกัน ช่วงแรกได้กลายเป็น "ค่ายแลกเปลี่ยน" ที่ซึ่งตัวประกันชาวยิวที่ถูกคุมขังไว้เพื่อจะได้แลกเปลี่ยนกับนักโทษเชลยศึกเยอรมันที่ถูกคุมขังในต่างประเทศ[2] ต่อมาค่ายได้รับการขยายเพื่อรองรับชาวยิวจากค่ายกักกันอื่น ๆ

อนุสรณ์สถานถึงเหล่าเชลยศึกโซเวียต

ภายหลังปี ค.ศ. 1945 ชื่อนี้ได้ถูกนำไปใช้กับค่ายผู้ที่ถูกขับไล่ที่จัดตั้งขึ้นในบริเวณใกล้เคียง แต่มันมักจะมีเกี่ยวข้องกับค่ายกักกันเป็นส่วนใหญ่ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1941 ถึง 1945 จำนวนเชลยศึกโซเวียตประมาณ 20,000 คน และอีก 50,000 คนได้เสียชีวิตที่นั่น[3] ด้วยความแน่นเบียดแออัดกัน ขาดแคลนอาหารและสภาพสุขาภิบาลที่แย่ทำให้เกิดการระบาดของไข้รากสาดใหญ่ วัณโรค ไข้รากสาดน้อย และโรคบิด นำไปสู่การเสียชีวิตของผู้คนมากกว่า 35,000 คน ในช่วงสองสามเดือนแรกของปี ค.ศ. 1945 ไม่นานก่อนและหลังได้รับการปลดปล่อย

ค่ายแห่งนี้ได้รับการปลดปล่อยเมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1945 โดยกองพลยานเกราะบริติซที่ 11[4] ทหารได้พบว่าเชลยภายในค่ายกักกันประมาณ 60,000 คน ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพกึ่งอดอยากและป่วยหนัก[5] และอีก 13,000 ศพ รวมทั้งอันเนอ และมาร์กอท ฟรังค์ ที่นอนตายอยู่บริเวณรอบค่ายที่ยังไม่ได้ถูกฝัง[4] ด้วยความน่าสะพรึงกลัวของค่าย แฟ้มเอกสารบนฟิล์มและในรูปถ่ายทำให้ชื่อ"เบ็ลเซิน" กลายเป็นสัญลักษณ์ของการก่ออาชญากรรมของนาซีโดยทั่วไปเพื่อแสดงความคิดเห็นจากสาธารณชนในหลายประเทศในช่วงเวลาหลังปี ค.ศ. 1945 ปัจจุบัน,ได้มีอนุสรณ์สถานที่มีห้องโถงนิทรรศการที่จัดตั้งขึ้นในเมือง

อ้างอิง[แก้]

  1. "Belsen Military Camp". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 29, 2013. สืบค้นเมื่อ เมษายน 3, 2012.
  2. Shephard, Ben (2006). After daybreak : the liberation of Belsen, 1945. London: Pimlico. ISBN 978-1844135400.
  3. Oppenheimer, Paul (1996). From Belsen to Buckingham Palace. Nottingham: Quill Press. ISBN 978-0-9536280-3-2.
  4. 4.0 4.1 "The 11th Armoured Division (Great Britain)", United States Holocaust Memorial Museum.
  5. "Bergen-Belsen". www.ushmm.org.
  • "POW Camps". Retrieved April 3, 2012.
  • "Bergen-Belsen". Retrieved April 3, 2012.