ค่าคงตัว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ค่าคงตัว หรือ ค่าคงที่ ในทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ หมายถึง ค่าค่าหนึ่งของตัวเลขซึ่งกำหนดตายตัวไว้ หรืออาจเป็นค่าที่ไม่ระบุตัวเลข ค่าคงตัวมีความหมายตรงข้ามกับตัวแปรซึ่งสามารถแปรผันค่าได้

ค่าคงตัวแบบไม่ระบุ 2[แก้]

ค่าคงตัวแบบไม่ระบุพบได้ทั่วไปสูตรคณิตศาสตร์ ซึ่งจะเป็นค่าค่าหนึ่งที่ "คงตัว" แต่ไม่ได้ระบุตัวเลข ดังตัวอย่างทฤษฎีบทพีทาโกรัส a2 + b2 = c2 เมื่อ c คือด้านตรงข้ามมุมฉากของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ถึงแม้ว่าค่าของ a, b, c จะไม่ระบุว่าเป็นค่าใดค่าหนึ่ง แต่แสดงให้เห็นว่ามันคือความยาวที่คงตัวของแต่ละด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากตามทฤษฎีบท

ค่าคงตัวชนิดนี้มักใช้เป็นการเชื่อมโยงระหว่างฟังก์ชันของตัวแปรเดียวหรือมากกว่าหนึ่งตัว ตัวแปรมักใช้แทนด้วยอักษรละตินลำดับท้ายๆ เช่น x, y, z ส่วนค่าคงที่จะใช้แทนด้วยลำดับต้นๆ เช่น a, b, c เป็นต้น

ค่าคงตัวแบบระบุ[แก้]

ค่าคงตัวแบบระบุมักจะมีสัญลักษณ์ใช้แทน เช่น 1 หรือ π ≈ 3.14 ในทางฟิสิกส์ เคมี หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง มักมีการอธิบายความหมายของตัวเลขสำหรับค่าคงตัว โดยอ้างถึงตัวเลขหรือการวัดสิ่งอื่นด้วยความรู้ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่นสมการของไอน์สไตน์ที่ว่า

E = mc2

เมื่อ c แทนความเร็วของแสงในสุญญากาศ ตัวเลขของค่าคงตัวนี้อาจเปลี่ยนไปขึ้นอยู่กับความรู้ทางฟิสิกส์ โดยจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยไม่ต่างจากเดิมมากนัก ส่วน m แทนมวล และ E แทนพลังงานที่เหลือ เป็นตัวแปรทั้งคู่ สูตรนี้จึงเป็นการนิยามฟังก์ชันสำหรับหาพลังงานที่เหลือในพจน์ของมวล

ดูเพิ่ม[แก้]