ความผิดปกติของการรับประทาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความผิดปกติของการรับประทาน
สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์
อาการมีนิสัยการกินผิดปกติที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพกายหรือจิต
ภาวะแทรกซ้อนโรควิตกกังวล ซึมเศร้า การใช้สารเสพติด[1]
ประเภทความผิดปกติของการรับประทานแบบตะกละ โรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจ อาการหิวไม่หาย อาการกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหาร ความผิดปกติแบบสำรอก ความผิดปกติการเลี่ยง/จำกัดการกินอาหาร[2]
สาเหตุไม่ชัดเจน[3]
ปัจจัยเสี่ยงโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ ประวัติการถูกล่วงละเมิดทางเพศ เป็นนักเต้นรำ[4][5][6]
การรักษาการให้คำปรึกษา อาหารเหมาะสม และการออกกำลังกายปริมาณปกติ[1]

ความผิดปกติของการรับประทาน (อังกฤษ: eating disorder) เป็นความผิดปกติทางจิตซึ่งนิยามจากนิสัยการกินที่มีผลกระทบทางลบต่อสุขภาพทางกายหรือจิตของบุคคล[2] ได้แก่ ความผิดปกติของการรับประทานแบบตะกละ (binge eating disorder) ซึ่งบุคคลกินปริมาณมากในเวลาอันสั้น โรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจซึ่งบุคคลกินน้อยมากและมีน้ำหนักตัวต่ำ โรคบูลิเมีย เนอร์โวซา ซึ่งบุคคลกินมากและพยายามล้วงเอาอาหารออกเอง อาการกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหาร (pica) ความผิดปกติแบบสำรอก (rumination) ความผิดปกติเลี่ยง/จำกัดการกินอาหาร (avoidant/restrictive food intake disorder) ซึ่งบุคคลไม่อยากอาหาร และกลุ่มความผิดปกติของการให้อาหารหรือการรับประทานที่จำแนกไว้อื่น มักพบโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้าและการใช้สารเสพติด (substance abuse) ในผู้ที่มีความผิดปกติของการรับประทาน โรคอ้วนไม่นับว่าเป็นโรคกลุ่มนี้[2]

สาเหตุของความผิดปกติของการรับประทานยังไม่ชัดเจน[3] ดูเหมือนทั้งปัจจัยทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อมมีผลทั้งคู่ เชื่อว่าวัฒนธรรมยกยอความผอมก็มีส่วนเช่นกัน ความผิดปกติของการรับประทานพบในร้อยละ 12 ของนักเต้นรำ[4] ผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศมีโอกาสเกิดความผิดปกติของการรับประทานมากขึ้น[6] ความผิดปกติบางชนิด เช่น อาการกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหารและความผิดปกติแบบสำรอกเกิดในผู้มีสติปัญญาบกพร่องมากกว่า ทั้งนี้ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งจะสามารถวินิจฉัยความผิดปกติของการรับประทานได้อย่างเดียวเท่านั้น[2]

การรักษาได้ผลสำหรับความผิดปกติของการรับประทานหลายชนิด ตรงแบบมักใช้การให้คำปรึกษา อาหารที่เหมาะสม การออกกำลังกายปริมาณปกติ และการลดความพยายามล้วงอาหารออก[1] บางกรณีอาจจำเป็นต้องรับเข้ารักษาในโรงพยาบาล[1] อาจใช้ยาสำหรับผู้ป่วยบางรายที่มีอาการร่วม ในเวลาห้าปี ผู้ป่วยโรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจร้อยละ 70 และอาการหิวไม่หายร้อยละ 50 กลับเป็นปกติ การฟื้นจากความผิดปกติของการรับประทานแบบตะกละมีความชัดเจนน้อยกว่าและประมาณไว้ระหว่างร้อยละ 20 ถึงร้อยละ 60 ทั้งโรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจและอาการหิวไม่หายเพิ่มโอกาสเสียชีวิต[7]

ในปีหนึ่ง ประเทศพัฒนาแล้วพบความผิดปกติของการรับประทานแบบตะกละในหญิงประมาณร้อยละ 1.6 และชายร้อยละ 0.8 โรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจพบในประชากรประมาณร้อยละ 0.4 และอาการหิวไม่หายในหญิงอายุน้อยประมาณร้อยละ 1.3[2] หญิงมากถึงร้อยละ 4 มีโรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจ ร้อยละ 2 มีอาการหิวไม่หาย และร้อยละ 2 มีความผิดปกติของการรับประทานแบบตะกละในช่วงใดช่วงหนึ่ง[7] โรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจและอาการหิวไม่หายเกิดในหญิงมากกว่าชายเกือบ 10 เท่า[2] ตรงแบบเริ่มในปลายวัยเด็กหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น[1] อัตราของความผิดปกติของการรับประทานแบบอื่นไม่ชัดเจน อัตราของความผิดปกติของการรับประทานดูพบน้อยกว่าในประเทศที่ด้อยพัฒนากว่า[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "What are Eating Disorders?". NIMH. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2015. สืบค้นเมื่อ 24 May 2015.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 American Psychiatry Association (2013). Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (5th ed.). Arlington: American Psychiatric Publishing. pp. 329–354. ISBN 0-89042-555-8.
  3. 3.0 3.1 Rikani, AA; Choudhry, Z; Choudhry, AM; Ikram, H; Asghar, MW; Kajal, D; Waheed, A; Mobassarah, NJ (October 2013). "A critique of the literature on etiology of eating disorders". Annals of Neurosciences. 20 (4): 157–61. doi:10.5214/ans.0972.7531.200409. PMC 4117136. PMID 25206042.
  4. 4.0 4.1 Arcelus, J; Witcomb, GL; Mitchell, A (March 2014). "Prevalence of eating disorders amongst dancers: a systemic review and meta-analysis". European Eating Disorders Review. 22 (2): 92–101. doi:10.1002/erv.2271. PMID 24277724.
  5. Satherley R, Howard R, Higgs S (Jan 2015). "Disordered eating practices in gastrointestinal disorders". Appetite (Review). 84: 240–50. doi:10.1016/j.appet.2014.10.006. PMID 25312748.
  6. 6.0 6.1 Chen, L; Murad, MH; Paras, ML; Colbenson, KM; Sattler, AL; Goranson, EN; Elamin, MB; Seime, RJ; Shinozaki, G; Prokop, LJ; Zirakzadeh, A (July 2010). "Sexual Abuse and Lifetime Diagnosis of Psychiatric Disorders: Systematic Review and Meta-analysis". Mayo Clinic Proceedings. 85 (7): 618–629. doi:10.4065/mcp.2009.0583. PMC 2894717. PMID 20458101.
  7. 7.0 7.1 Smink, FR; van Hoeken, D; Hoek, HW (November 2013). "Epidemiology, course, and outcome of eating disorders". Current Opinion in Psychiatry. 26 (6): 543–8. doi:10.1097/yco.0b013e328365a24f. PMID 24060914.
  8. Pike, KM; Hoek, HW; Dunne, PE (November 2014). "Cultural trends and eating disorders". Current Opinion in Psychiatry. 27 (6): 436–42. doi:10.1097/yco.0000000000000100. PMID 25211499.