ความดันออสโมซิส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความดันออสโมซิสของเม็ดเลือดแดง

แรงดันออสโมซิส (อังกฤษ: Osmotic Pressure) คือ แรงดันที่เกิดขึ้นในการออสโมซิสเพื่อต้านการเคลื่อนที่ของตัวทำละลายผ่านเยื่อหุ้มเซลล์

ค่าแรงดันออสโมซิสของของเหลวจะสูงหรือต่ำได้ขึ้นอยู่กับสารละลายในของเหลวนั้น โดยน้ำบริสุทธิ์มีแรงดันออสโมซิสต่ำสุด

สมการของมอร์ส[แก้]

สูตรการคำนวณแรงดันออสโมซิส ถูกเสนอขึ้นเป็นครั้งแรกโดย Jacobus Henricus van't Hoff นักชีวเคมีชาวดัตช์ ปัจจุบันนิยมใช้สูตรของ Harmon Northrop Morse นักเคมีชาวอเมริกัน ที่เรียกกันว่า สมการของมอร์ส [1]

,

โดยที่

i คือ van 't Hoff factor ซึ่งไม่มีหน่วย
M คือ molarity (โมล/L)
R=0.08206 L · atm · mol-1 · K-1 คือค่าคงตัวของก๊าซ
T คืออุณหภูมิอุณหพลวัต

อ้างอิง[แก้]

  1. Mansoor M. Amiji, Beverly J. Sandmann (2002). Applied Physical Pharmacy. McGraw-Hill Professional. pp. 54–57. ISBN 0071350764.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)