ขยะชุมชน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ขยะชุมชน หมายถึงขยะทุกชนิดที่ถูกทิ้งออกมา แต่ไม่รวมขยะจากอุตสาหกรรม, การแพทย์หรือการพยาบาลและขยะนิวเคลียร์ ขยะที่กำลังพูดถึงในประเทศไทยคาดว่ามีประมาณวันละ 50,000 ตัน หรือประมาณ 17 ล้านตันต่อปีในปี 2556 เป็นขยะในเขตกทม ประมาณ 22% ได้แก่

  • ขยะชีวภาพ เช่นอาหาร พืช และผลิตภัณฑ์จากพืช ซากพืช ซากสัตว์ที่ยังไม่เน่าเปี่อย
  • วัสดุที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ เช่นแก้ว พลาสติค กระป๋อง โลหะ ผ้าหรือสิ่งทอ แบตเตอรี่ เป็นต้น
  • เศษวัสดุก่อสร้างที่ถูกทำลาย เศษผง ปูน ทราย อิฐ
  • เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ ทีวี จอภาพ อุปกรณ์อิเล็คโทรนิคส์
  • สารอันตราย เช่นแบตเตอรี หลอดไฟ สี สารเคมี กระป๋องสเปรย์ ปุย วัตถุระเบิด สารติดไฟ
  • สารพิษเช่น ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าเชื้อต่างๆ

การกำจัด[แก้]

แบ่งเป็น 4 ส่วนหลักๆคือ การนำกลับมาใช้ใหม่ การหมักทำปุ๋ย การฝังกลบ และการเผาเพื่อสร้างพลังงาน (Incineration)

การจัดการ[แก้]

ได้แก่ การเก็บมาจากผู้ทิ้ง ขนส่ง คัดแยก เก็บรักษา และการจำหน่าย การดำเนินการอาจเป็นแบบผสมผสานในแต่ละขั้นตอน เช่นการคัดแยกอาจดำเนินการตั้งแต่แรกโดยการจัดภาชนะแยกประเภทขยะให้ชัดเจน สำหรับขยะที่สามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้อาจแยกไปเก็บรวบรวมต่างหาก หรือจำหน่ายไปโรงงานผลิตใหม่ได้เลย เช่นแก้ว โลหะ พลาสติค กระดาษ เป็นต้น

การกำจัดขยะโดยวิธีการฝังกลบ[แก้]

บ่อที่ใช้ฝังกลบต้องอยุ่ห่างชุมชนและห่างจากแหล่งน้ำทุกชนิด ต้องก่อสร้างตามหลักมาตรฐานสาธารณสุข ไม่เป็นแหล่งเพาะเชื้อ หรือแหล่งอาหารของสัตว์ ที่จะทำให้เกิดโรคติดต่อ ไม่มีกลิ่นรบกวนชุมชน และขั้นตอนการฝังกลบต้องถูกหลักมาตรฐานสากล[1]

การนำไปผลิตพลังงาน[แก้]

ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีในการเปลี่ยนขยะชุมชนให้เป็นพลังงานให้สะอาดและมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม เช่นการดักจับแก๊สในหลุมฝังกลบ การเผาไหม้สมบูรณ์ การเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงเหลว (pyrolysis) การแปรสภาพเป็นแก๊ส (gasification) และ การแปรสภาพด้วยวิธีการ plasma arc

อ้างอิง[แก้]

  1. [1], มาตรฐานการฝังกลบขยะชุมชน