ขบวนการแนวร่วมปลดแอกแห่งชาติปัตตานี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขบวนการแนวร่วมปลดแอกแห่งชาติปัตตานี
Barisan Islam Pembebasan Patani
มีส่วนร่วมในความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
ปฏิบัติการค.ศ. 1947 (1947)[1] – ปัจจุบัน
แนวคิดลัทธิแบ่งแยกดินแดน
อนุรักษ์นิยมอิสลาม[2]
ชาตินิยม[3]
ลัทธิอิสลาม[4]
กลุ่มเตนตารา เนชันแนล เปมเบบาซัน รักยัต ปาตานี (กองทัพปลดแอกประชาชนแห่งชาติปัตตานี)[5]
ผู้นำเติงกู มะฮ์มุด มะฮ์ยิดดิน[5][1]
เติงกู อับดุล จาลัล[3][6]
กองบัญชาการรัฐกลันตัน, ประเทศมาเลเซีย[2]
พื้นที่ปฏิบัติการภาคใต้
ถือกำเนิดที่จัดใหม่เป็น BNPP ในปีค.ศ.1959[7]
เปลี่ยนชื่อเป็น BIPP ในปีค.ศ.1986
เปลี่ยนเป็นขบวนการแนวร่วมอิสลามเพื่อการปลดปล่อยปัตตานี
ปรปักษ์ ไทย
การสู้รบและสงครามความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

ขบวนการแนวร่วมปลดแอกแห่งชาติปัตตานี (มลายู: Barisan Nasional Pembebasan Patani, BNPP) เป็นองค์กรเคลื่อนไหวเพื่อแบ่งแยกดินแดนปัตตานีรุ่นแรก ๆ เกิดจากการรวมตัวของทายาทเจ้าเมืองเก่าที่สูญเสียอำนาจ และความไม่พอใจในนโยบายของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่กำหนดนโยบายรัฐนิยมบังคับสวมหมวก และนโยบายอื่น ๆ ที่ขัดต่อหลักศาสนาอิสลาม[8] ผู้ก่อตั้งคือนายอดุลย์ ณ สายบุรี เวลาที่จัดตั้งขึ้นไม่แน่นอน อยู่ระหว่าง พ.ศ. 2502–2514 ปฏิบัติการทางทหารขององค์กรนี้เข้มแข็งในช่วง พ.ศ. 2520–2525 ได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศมากโดยเฉพาะกลุ่มอาหรับ เช่น สันนิบาตอาหรับ, องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ มีความใกล้ชิดกับพรรคปาสในมาเลเซีย องค์กรนี้ตกต่ำลงหลังการเสียชีวิตของ ดือระ มาตีเยาะ หรือเปาะเยะ เมื่อ พ.ศ. 2527 จนต้องยุติบทบาทไปในที่สุด

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Moshe Yegar (2002). Between Integration and Secession: The Muslim Communities of the Southern Philippines, Southern Thailand and Western Burma/Myanmar. Lexington Books. p. 143.
  2. 2.0 2.1 David Carment; Patrick James; Zeynep Taydas (2006). "Thai Malay Separatism: Managing Interstate Ethnic Conflict". Who Intervenes? Ethnic Conflict and Interstate Crisis. Ohio State University Press. p. 120.
  3. 3.0 3.1 Kobkua Suwannathat-Pian (2013). Historical Identity, Nation, and History-Writing: The Malay Muslims of Southern Thailand, 1940s–1980s. Ghosts of the Past in Southern Thailand. NUS Press. p. 238.
  4. "Singh"
  5. 5.0 5.1 Kees van Dijk (2005). "Coping with Separatism: Is there a solution?". Violent Internal Conflicts in Asia Pacific. Yayasan Obor Indonesia. p. 189.
  6. Wan Kadir Che Man (1995). National Integration and Resistance Movement: The Case of Muslims in Southern Thailand. Regions and National Integration in Thailand, 1892-1992. Harrassowitz Verlag. p. 242.
  7. Bertil Lintner (8 September 2007). "Who's who in Thailand's Muslim insurgency". Asia Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-13. สืบค้นเมื่อ 2019-09-12.
  8. ""ชวน"ติง"ทักษิณ"ฉีกนโยบายใต้ทิ้ง ปี 43 ต้นเหตุไฟใต้ลาม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-07-06.