กีฬาปัญจกีฬาสมัยใหม่ในโอลิมปิกฤดูร้อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กีฬาปัญจกีฬาสมัยใหม่ในโอลิมปิกฤดูร้อน
สัญลักษณ์กีฬาปัญจกีฬาสมัยใหม่
หน่วยงานยูไอพีเอ็ม
รายการ2 (ชาย: 1; หญิง: 1)
การแข่งขัน

กีฬาปัญจกีฬาสมัยใหม่ในโอลิมปิก เป็นการแข่งขันที่นักกีฬาเข้าแข่งกีฬารวม 5 ชนิด คือ ยิงปืน ฟันดาบ ว่ายน้ำ ขี่ม้า และวิ่งแข่ง ซึ่งมีเพียงแต่ชื่อชนิดกีฬาที่เหมือนกับกีฬาที่แข่งขันกันมาตั้งแต่ 708 ปี ก่อนคริสตกาล เพราะสมัยกรีกโบราณนั้นหมายถึงการแข่งขันขว้างจักร พุ่งแหลน กระโดดไกล วิ่งแข่ง และมวยปล้ำ ซึ่งคล้ายคลึงกับสัตตกรีฑาและทศกรีฑาในสมัยปัจจุบันมากกว่า

ปัญจกีฬาสมัยใหม่ได้รับการบรรจุเข้าในกีฬาโอลิมปิกตั้งแต่ปี 1912 กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ทำให้สวีเดนมักได้เหรียญทองในกีฬาชนิดนี้ตลอดครึ่งศตวรรษแรก

โอลิมปิกที่แอตแลนต้า ปี 1996 ได้ตัดประเภททีมออกไปคงเหลือเฉพาะประเภทบุคคลและแข่งกันให้รู้เรื่องภายในวันเดียว เพราะแรกเริ่มนั้นการแข่งขันใช้เวลามากกว่า 6 วัน ต่อมาลดลงเหลือ 4 วัน และเหลือวันเดียวในที่สุด

และในโอลิมปิกครั้งที่ 27 ปี 2000 มีการบรรจุปัญจกีฬาหญิงเป็นครั้งแรก ทำให้นักกีฬาชายลดจำนวนลงเหลือ 16 คนเท่ากัน เพราะแต่เดิมมีการแข่งขันเฉพาะประเภทชายเท่านั้น ซึ่งจะมีนักกีฬาแข่งขันทั้งหมด 32 คน

ตารางสรุปเหรียญ[แก้]

ที่มา:[1]

ลำดับที่ประเทศทองเงินทองแดงรวม
1ประเทศฮังการี ฮังการี (HUN)98623
2ประเทศสวีเดน สวีเดน (SWE)97521
3สหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต (URS)55515
4สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร (GBR)4239
5ประเทศรัสเซีย รัสเซีย (RUS)4105
6ประเทศโปแลนด์ โปแลนด์ (POL)3014
7ประเทศอิตาลี อิตาลี (ITA)2237
8ประเทศเยอรมนี เยอรมนี (GER)2013
9ประเทศลิทัวเนีย ลิทัวเนีย (LTU)1315
10ประเทศเช็กเกีย เช็กเกีย (CZE)1012
11ประเทศคาซัคสถาน คาซัคสถาน (KAZ)1001
ประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย (AUS)1001
13สหรัฐ สหรัฐ (USA)0639
14ประเทศฟินแลนด์ ฟินแลนด์ (FIN)0145
15ประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส (FRA)0123
16ทีมรวมเฉพาะกิจเครือรัฐเอกราช ทีมรวม (EUN)0112
ประเทศเชโกสโลวาเกีย เชโกสโลวาเกีย (TCH)0112
18ประเทศจีน จีน (CHN)0101
ประเทศยูเครน ยูเครน (UKR)0101
ประเทศลัตเวีย ลัตเวีย (LAT)0101
ประเทศอียิปต์ อียิปต์ (EGY)0101
22ประเทศเบลารุส เบลารุส (BLR)0022
23ประเทศบราซิล บราซิล (BRA)0011
ประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ (KOR)0011
ประเทศเม็กซิโก เม็กซิโก (MEX)0011
รวม (25 ประเทศ)424242126

อ้างอิง[แก้]

  1. "Olympic Analytics - Medals by Countries". olympanalyt.com. สืบค้นเมื่อ 2022-01-31.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]