การเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2553

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2553

← พ.ศ. 2548 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 พ.ศ. 2558 →

ทั้งหมด 650 ที่นั่งในสภาสามัญชน
ต้องการ 326 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก
ผู้ใช้สิทธิ65.1%
  First party Second party Third party
 
ผู้นำ เดวิด คาเมรอน กอร์ดอน บราวน์ นิค เคลกก์
พรรค พรรคอนุรักษนิยม (สหราชอาณาจักร) พรรคแรงงาน (สหราชอาณาจักร) พรรคเสรีประชาธิปไตย (สหราชอาณาจักร)
ผู้นำตั้งแต่ 6 ธันวาคม 2548 24 มิถุนายน 2550 18 ธันวาคม 2550
เขตของผู้นำ ส.ส. เขตวิตนีย์ ส.ส. เขตเคิร์คแคลดีและเขตคาวเดินบีธ ส.ส. เขตเชฟฟิลด์แฮลแลม
เลือกตั้งล่าสุด 198 ที่นั่ง, 32.3% 356 ที่นั่ง, 35.3% 62 ที่นั่ง, 22.1%
ที่นั่งก่อนหน้า 210 349 62
ที่นั่งที่ชนะ 306 258 57
ที่นั่งเปลี่ยน เพิ่มขึ้น97 ลดลง91 ลดลง6
คะแนนเสียง 10,683,787 8,604,358 6,827,938
% 36.1% 29.0% 23.0%
%เปลี่ยน เพิ่มขึ้น3.7% ลดลง6.2% เพิ่มขึ้น1.0%


นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

กอร์ดอน บราวน์
พรรคแรงงาน (สหราชอาณาจักร)

ว่าที่นายกรัฐมนตรี

เดวิด คาเมรอน
พรรคอนุรักษนิยม (สหราชอาณาจักร)

การเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2553 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 แม้ว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้พรรคอนุรักษนิยมจะได้รับที่นั่งในสภาสามัญชนมากที่สุด แต่ไม่สามารถได้ที่นั่งมากกว่า 325 ที่นั่งเพื่อที่จะจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากได้ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ พ.ศ. 2517 และครั้งที่สองนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ที่รัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรไม่สามารถมีรัฐบาลเสียงข้างมากได้ จึงเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย พรรครัฐบาลเดิมอย่างพรรคแรงงานสูญเสียที่นั่งในสภาถึง 90 ที่นั่ง และจากการทำผลสำรวจพรรคแรงงานได้คะแนนเสียงน้อยกว่าพรรคอนุรักษนิยมถึง 2 ล้านเสียง มีคะแนนเสียงเป็นลำดับที่สอง ส่วนพรรคเสรีประชาธิปไตยตามมาเป็นลำดับที่สาม สูญเสียที่นั่งในสภาไป 5 ที่นั่ง ซึ่งไม่ตรงตามผลการสำรวจของหลายสำนักก่อนหน้านี้ที่ชี้ว่าพรคคเสรีประชาธิปไตยจะได้รับที่นั่งในสภาเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามพรรคเสรีประชาธิปไตยก็ยังได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดนับตั้งแต่การก่อตั้งพรรคในปี พ.ศ. 2531 และมีโอกาสที่จะเป็นพรรคร่วมในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ซึ่ง 4 วันหลังจากการเลือกตั้งที่นายกอร์ดอน บราวน์ประกาศว่า "จะก้าวลงจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคแรงงานในเดือนกันยายน"

ในการเลือกตั้งครั้งนี้แตกต่างจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่าน ๆ มาในหลายกรณี เช่น พรรคกรีนได้รับที่นั่งในสภาสามัญชนเป็นครั้งแรกเช่นเดียวกับพรรคสหพันธ์, ร้อยละ 35 ของคะแนนเสียงลงให้กับพรรคย่อยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่พรรคคู่แข่งหลักอย่างพรรคแรงงานและพรรคอนุรักษนิยม, มีผู้ออกมาลงคะแนนเสียงมากที่สุดนับตั้งแต่การเลือกตั้งในสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2461, เป็นครั้งแรกที่ทั้งสามพรรคหลักลงแข่งขันโดยที่ผู้นำของพรรคทั้งสามไม่เคยนำการหาเสียงในการเลือกตั้งครั้งก่อนหน้ามาเลยสักครั้งนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 และเป็นครั้งแรกที่มีการจัดให้มีการโต้วาทีกันทางโทรทัศน์ของผู้นำจากทั้งสามพรรค

พื้นเพ[แก้]

วันที่ 6 เมษายน นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร นายกอร์ดอน บราวน์ ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบทที่ 2 ในพระราชวังบัคคิงแฮมเพื่อขอพระบรมราชโองการยุบสภาในวันที่ 12 เมษายน หลังจากพิจารณามาเป็นเวลานาน และจัดงานแถลงข่าวยืนยันที่ทำเนียบนายกรัฐมนตรีในดาวนิงสตรีทว่าจะมีการจัดการเลือกตั้งในวันที่ 6 พฤษภาคม 5 ปีหลังจากการเลือกตั้งครั้งก่อนหน้าในปี พ.ศ. 2548 ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีเขตเลือกตั้งทั้งหมด 649 เขตในสหราชอาณาจักร ภายใต้ระบบผู้สมัครที่มีคะแนนเสียงสูงสุดจะเป็นสมาชิกสภาสามัญชนของแต่ละเขต การลงคะแนนเสียงในเขตเติร์สก์และมอลตันถูกยกเลิกเป็นเวลา 3 สัปดาห์ เนื่องจากการเสียชีวิตของหนึ่งในผู้สมัคร นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีอุปสรรคในการลงคะแนนในเวลาเกือบ 22.00 นาฬิกา เนื่องจากเวลาในการลงคะแนนใกล้จะหมดลง เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งมีไม่เพียงพอ และการเข้าแถวรอลงคะแนนที่ยาวเหยียด อีกทั้งบัตรลงคะแนนส่งมาล่าช้าและไม่เพียงพอ

การหาเสียงของพรรครัฐบาลอย่างพรรคแรงงานในการเลือกตั้งครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อรักษาการเป็นรัฐบาลของตนในสภา ที่ดำรงตำแหน่งมาติดต่อกันเป็นสมัยที่ 4 และเพื่อฟื้นฟูคะแนนนิยมของตนที่ตกต่ำมาตลอดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ส่วนพรรคอนุรักษนิยมก็ตั้งเป้าที่จะช่วงชิงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองของสหราชอาณาจักรหลังพ้ายแพ้ในการเลือกตั้งมาโดยตลอดตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2543 อีกทั้งยังตั้งเป้าที่จะช่วงชิงการเป็นพรรครัฐบาลมาจากพรรคแรงงาน ส่วนพรรคเสรีประชาธิปไตยหวังที่จะช่วงชิงที่นั่งในสภามาจากทั้งพรรคแรงงานและพรรคอนุรักษนิยม นอกจากนี้ยังหวังว่าจะเป็นพรรคที่ถ่วงอำนาจระหว่างพรรคใหญ่ทั้งสองในสภาสามัญชน นับตั้งแต่การโต้ว่าทีทางโทรทัศน์ของผู้นำจากทั้งสามพรรคนักวิเคราะห์จำนวนมากก็ได้ทำการทำนายระดับคะแนนความนิยมหลังการโต้วาที ผลการวิเคราะห์บ่งชี้ว่ามีความเป็นไปได้ที่พรรคเสรีประชาธิปไตยจะได้ที่นั่งข้างมากในสภาและจัดตั้งรัฐบาล แต่ผลการวิเคราะห์หนึ่งวันก่อนวันเลือกตั้งชี้ว่าคะแนนความนิยมแกว่งจากพรรคเสรีประชาธิปไตยไปยังทั้งสองพรรคใหญ่จำนวนเล็กน้อย ซึ่งผลการสำรวจครั้งหลังสุดมีตัวเลขดังนี้

  • พรรคอนุรักษนิยม - 36%
  • พรรคแรงงาน - 28%
  • พรรคเสรีประชาธิปไตย - 27%

อย่างไรก็ตามผลการสำรวจถึงประชาชนที่ยังไม่ได้ตัดสินใจเลือกพรรคใดพรรคหนึ่งก็ปรากฏขึ้นและไม่สามารถคาดเดาใดแน่ชัดถึงผลที่จะออกมา พรรคชาติสกอตแลนด์ได้รับแรงกระตุ้นจากชัยชนะในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาสกอตแลนด์ พ.ศ. 2550 จึงตั้งเป้าที่จะได้ที่นั่งจำนวน 20 ที่นั่ง และหวังที่จะเป็นพรรคที่ถ่วงอำนาจในสภา เช่นเดียวกับพรรคเวลส์ที่หวังจะได้ที่นั่งจากเขตเลือกตั้งในแคว้นเวลส์ และพรรคเล็กพรรคน้อยอื่น ๆ ก็หวังที่จะมีที่นั่งในสภาสามัญชน

ลำดับเหตุการณ์[แก้]

วันจันทร์ที่ 12 เมษายน ประการศยุบสภาสามัญชน เริ่มต้นการหาเสียงอย่างเป็นทางการ
วันอังคารที่ 20 เมษายน วันสุดท้ายของการรับสมัครผู้ลงสมัครสมาชิกสภาสามัญชน
วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม วันเลือกตั้ง
วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม เดวิด คาเมรอน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยที่พรรคเสรีประชาธิปไตยเป็นพรรคร่วมรัฐบาล
วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม จัดตั้งสภาสามัญชนสมัยที่ 55
วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม เปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญที่ 55
วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม การลงคะแนนชดเชยรอบพิเศษในเขตเติร์สก์และมอลตัน

ผลการเลือกตั้ง[แก้]

ในการลงสมัครรับเลือกตั้ง มีผู้ลงสมัครจำนวนมากทั้งผู้สมัครอิสระและผู้สมัครจากพรรคการเมือง โดยพรรคใหญ่ที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปมีทั้งสิ้น 3 พรรค ได้แก่

  • พรรคอนุรักษนิยม (Conservative Party)
  • พรรคแรงงาน (Labour Party)
  • พรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democrats)

ในสภาสามัญชนแห่งสหราชอาณาจักร มีที่นั่งทั้งหมด 650 ที่นั่ง โดยแต่ละที่นั่งจะเป็นของผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุดของแต่ละเขตพื้นที่ คล้ายการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในประเทศไทย ซึ่งพรรคและผู้สมัครที่ได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่สภามีดังนี้

อันดับที่ ชื่อพรรค ผู้นำพรรค จำนวนที่นั่ง ร้อยละของที่นั่งทั้งหมด จำนวนคะแนนรวม ร้อยละของคะแนนทั้งหมด
1 พรรคอนุรักษนิยม
(Conservative Party)
เดวิด คาเมรอน 306 47.09 10,703,954 36.05
2 พรรคแรงงาน
(Labour Party)
กอร์ดอน บราวน์ 258 39.70 8,609,527 29.00
3 พรรคเสรีประชาธิปไตย
(Liberal Democrats)
นิค เคลกก์ 57 8.77 6,836,824 23.03
4 พรรคสหภาพประชาธิปไตย
(Democretic Unionist Party)
ปีเตอร์ โรบินสัน 8 1.23 168,216 0.57
5 พรรคชาติสกอต
(Scottish National Party)
อเล็กซ์ แซลมอนด์ 6 0.92 491,386 1.65
6 พรรคซินน์เฟน
(Sinn Fein)
เจอร์รี อดัมส์ 5 0.77 171,942 0.58
7 พรรคเวลส์
(The Party of Wales)
ยวน วีน โจนส์ 3 0.46 165,394 0.56
8 พรรคสังคมประชาธิปไตยและแรงงาน
(Social Democratic and Labour Party)
มาร์กาเร็ต ริทชี 3 0.46 110,970 0.37
9 พรรคเขียวแห่งอังกฤษและเวลส์
(Green Party of England and Wales)
คาโรไลน์ ลูคัส 1 0.15 285,616 0.96
10 พรรคพันธมิตรแห่งไอร์แลนด์เหนือ
(Alliance Party of Nothern Ireland)
เดวิด ฟอร์ด 1 0.15 42,762 0.14
11 ซิลเวีย เฮอร์มอน
ผู้สมัครอิสระ
ซิลเวีย เฮอร์มอน 1 0.15 21,181 0.07
- จอห์น เบอร์โคว์
ประธานสภาสามัญชน
จอห์น เบอร์โคว์ 1 0.15 22,860 0.08
หมายเหตุ จอห์น เบอร์โคว์ ในความเป็นจริงแล้วได้มีที่นั่งในสภาในฐานะสมาชิกสภาจากพรรคอนุรักษนิยม พรรคจึงมีสมาชิกในสภาจำนวน 307 คน แต่โดยธรรมเนียมปฏิบัติ ประธานสภาสามัญชน จะไม่เข้าข้างพรรคใด ในการแจกแจงตารางพรรคการเมืองจึงไม่ควรนับรวม ประธานสภาสามัญชน เข้าในพรรค จึงแยกนายจอห์นออกจากสมาชิกพรรคอนุรักษนิยมอีก 306 คน
กราฟแสดงจำนวนสมาชิกสภาสามัญชน จากการเลือกตั้ง สี่เหลี่ยม 1 ช่อง แทนสมาชิกสภา 1 คน สี่เหลี่ยม 1 กลุ่ม ประกอบด้วยสี่เหลี่ยม 100 ช่อง (10 X 10) โดย
สีฟ้า แทนพรรคอนุรักษนิยม (กราฟนี้ไม่รวมนายจอห์น เบอร์โคว์)
สีแดง แทนพรรคแรงงาน
สีส้มอมเหลือง แทนพรรคเสรีประชาธิปไตย
สีส้ม แทนพรรคสหภาพประชาธิปไตย
สีเหลือง แทนพรรคชาติสกอตแลนด์
สีเขียวเข้ม แทนพรรคซินน์เฟน
สีเหลืองอมเขียว แทนพรรคเวลส์
สีเขียวอ่อน แทนพรรคสังคมประชาธิปไตยและแรงงาน
สีเขียว แทนพรรคเขียวแห่งอังกฤษและเวลส์
สีน้ำเงินเข้ม แทนพรรคพันธมิตรแห่งไอร์แลนด์เหนือ
สีเทา แทนผู้สมัครอิสระ

นอกจากนี้ ยังมีพรรคการเมืองอีกจำนวนมาก ที่ลงสมัคร แต่ได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่พอที่จะได้เข้าไปมีที่นั่งในสภา

จากผลการเลือกตั้งดังกล่าว จึงทำให้เกิดปรากฏการณ์สภาชะงักงัน (Hung Parliament) เนื่องจากในการเลือกตั้งในสหราชอาณาจักรส่วนใหญ่ มักจะมีพรรคการเมืองพรรคหนึ่งที่มีจำนวนสมาชิกสภาสามัญชนในสังกัดมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนที่นั่งในสภา (เช่น เมื่อครั้งที่พรรคไทยรักไทย ได้รับการเลือกตั้ง 375 ที่นั่ง จากทั้งหมด 500 ที่นั่ง ในการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2548 เพียงแต่ในสหราชอาณาจักรจะเกิดขึ้นบ่อยมาก เป็นปกติ แต่มักไม่เกิดในประเทศไทย) จึงทำให้พรรคนั้นสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้อย่างมีเสถียรภาพได้ไม่ว่าจะมีเพียงพรรคเดียวหรือมีพรรคอื่นๆมาร่วมงาน ส่วนพรรคที่เหลือ จะกลายเป็นฝ่ายค้าน แต่ในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีจำนวนเก้าอี้ 650 ที่นั่ง หากจะจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดี่ยว ควรจะมีจำนวนสมาชิกสภาอย่างน้อย 326 คน เพื่อให้มีเสถียรภาพ แต่ในครั้งนี้ พรรคอนุรักษนิยมที่มีจำนวนสมาชิกสภาสามัญชนสูงสุด ก็มีจำนวนเพียง 306 ที่นั่ง

ดังนั้น 2 พรรคที่มีขนาดใหญ่ คือ พรรคอนุรักษนิยม และพรรคแรงงาน จึงต้องพยายามหาพรรคอื่นๆ ที่จะมาร่วมมือกันจัดตั้งรัฐบาล เพื่อให้มีที่นั่งรวมมากกว่ากึ่งหนึ่งของสภาให้ได้ (เช่น เมื่อครั้งที่พรรคพลังประชาชน ได้ 232 ที่นั่ง และพรรคประชาธิปัตย์ ได้ 165 ที่นั่ง ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ทั้งสองพรรคจึงพยายามหาพรรคอื่นๆ มาร่วมมือกันจัดตั้งรัฐบาล เพียงแต่ปรากฏการณ์ดังกล่าว เกิดในประเทศไทยบ่อยจนเป็นปกติ แต่สหราชอาณาจักร ไม่เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวมา 36 ปีแล้ว)

อ้างอิง[แก้]