การอุบัติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเกิดเกล็ดหิมะในรูปแบบสมมาตรและแฟร็กทัลที่ซับซ้อน เป็นตัวอย่าง "การอุบัติ" ในระบบทางกายภาพ
จอมปลวกเป็นตัวอย่าง "การอุบัติ" แบบคลาสสิก

ในสาขาปรัชญา ทฤษฎีระบบ วิทยาศาสตร์ และศิลปะ การอุบัติ[1] หรือ คุณสมบัติอุบัติ (อังกฤษ: emergence) เป็นกระบวนการที่สิ่งที่ใหญ่และซับซ้อนกว่า เกิดขึ้นอาศัยปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่เล็กและง่ายกว่า โดยสิ่งที่ใหญ่กว่าจะมีคุณสมบัติซึ่งสิ่งที่เล็กกว่าไม่มี การอุบัติเป็นหลักของทฤษฏีต่าง ๆ เกี่ยวกับระดับบูรณาการ (integrative level) และระบบซับซ้อน ยกตัวอย่างเช่น ปรากฏการณ์ของ "สิ่งมีชีวิต" ที่ศึกษาในสาขาชีววิทยา เป็นคุณสมบัติอุบัติของกระบวนการทางเคมีและทางจิตวิทยา เช่นเดียวกัน เศรษฐกิจและกฎหมายเป็นปรากฏการณ์ที่อุบัติจากปรากฏการณ์ทางจิตวิทยา

ในปรัชญา การอุบัติมักใช้คำภาษาอังกฤษว่า "emergentism" และการอธิบายเรื่องนี้ทั้งหมด มักจะกล่าวถึงการลดทอนไม่ได้ทางญาณวิทยา (epistemic) หรือภววิทยา (ontological) ขององค์ต่าง ๆ ในระดับล่าง[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. "emergence", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (ปรัชญา) การอุบัติ
  2. O'Connor, Timothy; Wong, Hong Yu (2012-02-28). Zalta, Edward N (บ.ก.). "Emergent Properties". Encyclopedia of Philosophy (Spring 2012 Edition).[ลิงก์เสีย]