การวิเคราะห์ทางเทคนิค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค เป็นการวิเคราะห์หลักทรัพย์ หรือดัชนีราคาหลักทรัพย์ โดยอาศัยข้อมูลในอดีต เช่น รูปแบบการเปลี่ยนแปลงของราคา ปริมาณการซื้อขาย เพื่อนำมาประเมินแนวโน้มในอนาคต โดยไม่ต้องอาศัยข้อมูลทางการเงินของบริษัท เช่น งบดุล, งบกำไรขาดทุน และ งบกระแสเงินสด ส่วนใหญ่นิยมใช้แผนภูมิเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคใช้ไม่ได้กับตลาดมีประสิทธิภาพ เนื่องจากราคาจะสะท้อนข้อมูลข่าวสารและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถคาดการณ์แนวโน้มได้

ประวัติ[แก้]

การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคเกิดจากการสังเกตตลาดเงินมาเป็นเวลากว่าร้อยปี คาดว่าการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่เก่าแก่ที่สุดคือการใช้แผนภูมิแท่งเทียนโดยพ่อค้าชาวญี่ปุ่นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งยังเป็นที่นิยมอยู่จนกระทั่งปัจจุบัน

ต่อมา ชาร์ลส์ ดาว ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทดาวโจนส์ และ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์วอลล์ สตรีท เจอร์นัล ได้พัฒนาทฤษฎีดาว ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และถือเป็นจุดเปลี่ยนเข้าสู่ยุคการวิเคราะห์ทางเทคนิคสมัยใหม่ ทำให้เขาได้รับการการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการวิเคราะห์ทางเทคนิค โดยทฤษฎีดาว จะพยายามวิเคราะห์กราฟราคาหุ้น ทองคำ ค่าเงิน ฯลฯ โดยพิจารณาลักษณะการสวิงของราคาว่ามีการทำจุดสูงสุดใหม่หรือจุดต่ำสุดใหม่หรือไม่ (New High, New Low) ซึ่งการที่จะทราบว่า เกิดจุดสูงสุดหรือต่ำสุดหรือยัง นักวิเคราะห์จะรอให้เกิดการกลับตัวที่ชัดเจนในสวิงนั้นๆ ของราคาก่อน จึงจะนับเป็นจุด New High หรือ Low[[1] 1]

ปัจจุบันเครื่องมือในการวิเคราะห์และทฤษฏีใหม่ ๆ ได้ถูกคิดค้น และ พัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญเพื่อช่วยในการวิเคราะห์


  1. https://www.infinox.co.th/ทฤษฎีดาว-คืออะไร/[ลิงก์เสีย]