การลงประชามติแยกซูดานใต้เป็นเอกราช พ.ศ. 2554

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การลงประชามติแยกซูดานใต้เป็นเอกราช พ.ศ. 2554
ผล
คะแนน %
ใช่ 3,792,518 98.83%
ไม่ 44,888 1.17%
คะแนนสมบูรณ์ 3,837,406 99.62%
คะแนนไม่สมบูรณ์หรือคะแนนเปล่า 14,588 0.38%
คะแนนทั้งหมด 3,851,994 100.00%
ผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิ/ผู้ออกมาใช้สิทธิ 3,947,676 97.58%
ผลคะแนนแบ่งตามภูมิภาค
  ใช่     ไม่

การลงประชามติแยกซูดานใต้เป็นเอกราช พ.ศ. 2554 เกิดขึ้นในซูดานใต้ เมื่อวันที่ 9 ถึง 15 มกราคม พ.ศ. 2554[1] เพื่อแสวงหามติมหาชนว่า ซูดานใต้ยังควรเป็นส่วนหนึ่งของประเทศซูดานหรือไม่[2][3][4] โดยสืบเนื่องมาจากความตกลงสันติภาพเบ็ดเสร็จระหว่างรัฐบาลกลางคาร์ทูม และกองทัพปลดปล่อยประชาชนซูดาน (SPLA/M)

ส่วนการลงประชามติที่จัดขึ้นด้วยหัวข้อเดียวกันที่อับยีกลับถูกเลื่อนเนื่องจากความขัดแย้งต่อสิทธิการกำหนดเขตและการอยู่อาศัย[5]

จากนั้นในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ของปีเดียวกัน คณะกรรมการประชามติเผยแพร่ผลประชามติที่ส่วนใหญ่ลงคะแนนให้เป็นเอกราชถึง 98.83%[6]

วันที่กำหนดไว้ล่วงหน้าสำหรับการสร้างรัฐเอกราชคือวันที่ 9 หรหฎาคม พ.ศ. 2554[7]

เบื้องหลัง[แก้]

  ดินแดนซูดาน
  ซูดานใต้ (จัดประชามติใน พ.ศ. 2554)
  อับเย (ประชามติใน พ.ศ. 2554 ถูกเลื่อนอย่างไม่มีกำหนด)
  รัฐที่จัด "การพิจารณาราษฎร" (popular consultations) ใน พ.ศ. 2554: กุรดุฟานใต้ (ถูกระงับ)[8] และบลูไนล์ (เลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด)[9]

สิ่งที่ต้องมีก่อนการลงประชามติดังกล่าวรวมไปถึงการทำสำมะโนประชากร ซึ่งจะเป็นการกำหนดว่าการจัดสรรความมั่งคั่งและอำนาจทางการเมืองระหว่างภูมิภาคจะเป็นอย่างไร ด้วยเหตุนี้ การทำสำมะโนประชากรจะเป็นพื้นฐานของกระบวนการลงทะเบียนเลือกตั้ง ซึ่งจะเปิดโอกาสให้การเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ. 2553 เกิดขึ้นได้ และเป็นการเตรียมการสำหรับการลงประชามติดังกล่าวด้วย ใน พ.ศ. 2551 การทำสำมะโนประชากรถูกเลื่อนเวลาออกไปถึงสามครั้ง ปัญหาที่พบรวมไปถึงความไม่ลงรอยระหว่างฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ว่าข้อตกลงไนวาชาบังคับอย่างไร ซึ่งเป็นเหตุของความยากลำบากและความท้าทายด้านการขนส่งอย่างใหญ่หลวง ทางตอนใต้ สนามทุ่นระเบิดที่ยังหลงเหลือจากสงครามซึ่งไม่มีการทำแผนที่นั้น ทำให้การสัญจรเป็นไปด้วยความยากลำบาก ขณะที่ชาวซูดานมากถึงห้าล้านคนเป็นพวกเร่ร่อน ชาวซูดานที่ถูกบังคับให้ออกจากที่อยู่ภายใต้ประเทศจากทางตอนใต้ยังคังหลงเหลืออยู่ในค่ายรอบกรุงคาร์ทูมมากถึงสองล้านคน ทางตอนกลางของประเทศ ในขณะที่ผู้ลี้ภัยบางส่วนยังคงอาศัยอยู่ในยูกันดาและเคนยา ความยุ่งยากยังมีขึ้นในความขัดแย้งในดาร์ฟูร์ ทางตะวันตก ที่ซึ่งพลเรือนที่หนีการโจมตีมาปฏิเสธที่จะมีส่วนในการทำสำมะโนประชากร ด้วยเกรงว่ารัฐบาลจะใช้ผลการสำรวจมาสร้างความเดือดร้อนแก่พวกเขา กลุ่มกบฏดาร์ฟูร์เต็มใจที่จะบอกเลิกการทำสำมะโนประชากรที่มีการเตรียมการไว้แล้ว ขณะที่กลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อความยุติธรรมและความเสมอภาคได้ขู่ว่าจะโจมตีผู้ที่ไปใช้สิทธิ์ลงประชามติ[10]

นอกจากนี้ ยังมีความไม่ลงรอยระหว่างพรรคคองเกรสแห่งชาติ (NCP) และ SPLA/M ในประเด็นที่ว่าสัดส่วนของประชากรมากเท่าใดจึงจะนับว่าเพียงพอต่อการแยกตัวเป็นเอกราช (NCP ต้องการให้ผู้มีสิทธิ์อย่างน้อย 75% ลงประชามติยอมรับ) ตลอดจนประเด็นที่ว่าชาวซูดานใต้ที่อยู่ทางเหนือของประเทศควรจะได้รับอนุญาตให้ลงประชามติหรือไม่ และกระบวนการแยกประเทศภายหลังการลงประชามติ ตลอดจนการแบ่งหนี้สาธารณะ[11] ได้มีกระบวนการอย่างเรียบร้อยเมื่อต้นเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 แต่ความไม่ลงรอยกันในประเด็นสำคัญยังคงมีอยู่[12]

เดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 รัฐบาลกลางซูดานและรัฐบาลซูดานใต้ตกลงว่า ผลการลงประชามติแยกตัวเป็นเอกราชจะต้องได้รับการสนับสนุนอย่างน้อย 60% จากผู้มีสิทธิ์อย่างน้อย 3.8 ล้านคน จึงจะทำให้การลงประชามติดังกล่าวเป็นผลสมบูรณ์ หากผู้ลงประชามติเสียงข้างมากยอมรับการแยกตัวเป็นเอกราช แต่ไม่ถึง 60% ซูดานใต้ก็จะแยกตัวออกเป็นดินแดนปกครองตนเอง[13][14] ซึ่งเป็นเงื่อนไขของความตกลงสันติภาพเบ็ดเสร็จด้วยเช่นกัน[15] หากผู้มาลงประชามติไม่เพียงพอในการลงประชามติในครั้งแรก การลงประชามติครั้งที่สองจะถูกจัดขึ้นภายในหกสิบวัน[16]

การลงประชามติ[แก้]

รูปแบบการลงคะแนนเสียงที่ใช้ในการลงประชามติ

การลงประชามติเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554 สามวันหลังจากนั้น ตัวแทนของ SPLA/M ประกาศว่า ตามการประมาณการของพวกเขา จำนวนผู้ที่ลงประชามติเห็นควรแยกซูดานใต้เป็นเอกราช ได้ถึงระดับที่ทำให้ผลการลงประชามติมีผลแล้ว กล่าวคือ มากกว่าขั้นต่ำที่ร้อยละ 60 (จากจำนวนผู้มีสิทธิ์กว่า 2.3 ล้านคน) ได้มีการออกมายืนยันอย่างเป็นทางการในวันเดียวกัน เมื่อคณะกรรมการการลงประชามติได้ออกแถลงการณ์ซึ่งประกาศว่าผลการลงประชามติจะ "เกิน" ขั้นต่ำที่ต้องการมากกว่าร้อยละ 60 แล้ว[17] จิมมี คาร์เตอร์ แสดงความเชื่อของตนออกมาเมื่อวันที่ 13 มกราคมว่า การลงประชามติดังกล่าวค่อนข้างที่จะเป็นไปตามมาตรฐานสากลสำหรับทั้งการจัดการลงคะแนนเสียงและอิสรภาพของผู้มีสิทธิ์ลงคะแนน[18] สหประชาชาติรายงานว่า ผลขั้นต้นคาดว่าจะมีภายในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ และผลขั้นสุดท้ายคาดว่าจะมีขึ้นภายในอีกสองสัปดาห์หลังจากนั้น[17][19]

ตามผลการนับคะแนนเสียงขั้นต้นโดยแอสโซซิแอดเพรส ซึ่งประกอบด้วยหีบใส่บัตรลงคะแนน 30,000 หีบ ใน 10 เขตเลือกตั้ง ตัวอย่าง 95% มี 96% ที่เห็นด้วยกับการแยกตัวเป็นอิสระ 3% ยอมรับความเป็นเอกภาพ[20] และที่เหลือเป็นบัตรเสีย นายโมฮัมเหม็ด คาลิล อิบราฮิม ประธานคณะกรรมการลงประชามติ กล่าวว่า กว่าร้อยละ 83 ของจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทางใต้และร้อยละ 53 ทางตอนเหนือได้ออกมาใช้สิทธิ์ลงคะแนนเสียง[21] คณะกรรมการลงประชามติซูดานใต้ยืนยันการมีผลของคะแนนเสียงแล้ว แม้ว่าขณะนั้นการนับผลการลงประชามติจะยังทำไม่เสร็จสิ้นก็ตาม[22]

เมื่อการนับผลการลงประชามติเสร็จสิ้น ซูดานได้ให้ปฏิญาณว่าจะยอมรับผล[23]

การลงประชามติแยกซูดานใต้เป็นเอกราช พ.ศ. 2554[24]
ทางเลือก คะแนนเสียง %
Referendum passed เห็นชอบ 3,792,518 98.83%
ไม่เห็นชอบ 44,888 1.17%
บัตรดี 3,837,406 99.62%
บัตรเสียหรือไม่ลงคะแนน 14,588 0.38%
คะแนนเสียงทั้งหมด 3,851,994 100.00%
อัตราการลงคะแนน 97.58%
ร้อยละที่ต้องการ 60.00%

การวิเคราะห์[แก้]

การลงประชามติได้รับการสังเกตว่ามีความสำคัญ เนื่องจากชายแดนรัฐในแอฟริกาส่วนใหญ่วาดขึ้นในสมัยอาณานิคม ซึ่งก่อให้เกิดประเทศที่มีการผสมผสานระหว่างศาสนา เชื้อชาติ และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม องค์การเอกภาพแอฟริกา ละเว้นจากการวาดเส้นเขตแดนใหม่ เนื่องจากกลัวว่าจะเกิดสงครามแยกประเทศ[25]

ปัญหาหลังลงประชามติ[แก้]

ชื่อประเทศใหม่[แก้]

ชื่อใหม่สำหรับประเทศที่ได้รับเอกราชนั้นยังคงอยู่ในระหว่างการเสนอแนะ โดยชื่อซูดานใต้นั้นได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์เนื่องจากมันยังไม่แตกต่างจากประเทศซูดาน[26] มีชื่อได้รับการเสนอมากกว่า 12 ชื่อ ตัวอย่างเช่น สาธารณรัฐไนล์ สาธารณรัฐคุช และอซาเนีย[27]

อ้างอิง[แก้]

  1. Richmond, Matt (8 January 2011). "Sudan Referendum Has Peaceful First Day". VOA (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-04-19.
  2. Richmond, Matt (16 December 2010). "Southern Sudan Focuses on January Referendum". VOA (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-04-19.
  3. Ibrahim, Mohamed (2007-06-26). "Eastern Sudan Front: Quiescence at war & discordance in peace (2)". Sudan Tribune (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-04-19.[ลิงก์เสีย]
  4. Vuni, Isaac (2007-07-12). "Road to 2011 referendum is full of obstacles – South Sudan's Kiir". Sudan Tribune (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 July 2014. สืบค้นเมื่อ 2023-04-19.
  5. Bixler, Mark (5 January 2011). "Historic day ahead after decades of war". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 January 2011. สืบค้นเมื่อ 10 January 2011.
  6. "South Sudan backs independence – results". BBC News. 7 February 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 November 2018. สืบค้นเมื่อ 20 June 2018.
  7. Pflanz, Mike (8 January 2011). "Sudan referendum: what's being voted on and what will happen?". The Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2019. สืบค้นเมื่อ 2023-04-19.
  8. Martell, Peter (2011-06-20). "Is Sudan heading for an acrimonious divorce?". BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2018. สืบค้นเมื่อ 2014-02-10.
  9. Kleto, Peter Oyoyo. "Popular consultations must go ahead". Comment and Analysis. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2011. สืบค้นเมื่อ 21 October 2011.
  10. Henshaw, Amber (2008-04-21). "Sudanese stand up to be counted" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 April 2008. สืบค้นเมื่อ 2023-04-19.
  11. Dak, James Gatdet (20 August 2009). "Sudan's NCP & SPLM fail to agree on census, referendum law". Sudan Tribune. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2010. สืบค้นเมื่อ 5 January 2011.
  12. "Sudan partners make modest progress on referendum talks". Sudan Tribune. 3 September 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2010. สืบค้นเมื่อ 5 January 2011.
  13. Abdelrahman, Abdellatif (2009-12-31). "Darfur NCP Civil Society groups to Where?". Sudan Tribune (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 December 2009. สืบค้นเมื่อ 2023-04-19.
  14. "Terms for Sudan referendum agreed" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2009-10-16. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2009. สืบค้นเมื่อ 2023-04-19.
  15. "Bashir warns of unstable South". Al Jazeera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 August 2012. สืบค้นเมื่อ 10 January 2011.
  16. Aleu, Philip Thon (21 October 2009). "Talks on South Sudan referendum progress in Khartoum". Sudan Tribune. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2010. สืบค้นเมื่อ 5 January 2011.
  17. 17.0 17.1 "Official: South Sudan Voter Turnout to Reach 60 Percent Threshold". VOA News. 12 January 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2011. สืบค้นเมื่อ 13 January 2011.
  18. "Carter: South Sudan Vote Will Meet International Standards". VOA News. 13 January 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2011. สืบค้นเมื่อ 13 January 2011.
  19. Straziuso, Jason (12 January 2011). "Turnout in Southern Sudan vote passes 60 percent". Yahoo! News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2011. สืบค้นเมื่อ 16 January 2011.
  20. Fick, Maggie (2011-01-16). "S.Sudan early returns show big vote for secession". San Diego Union-Tribune (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-04-19.
  21. "Sudan vote trend points at split". Al Jazeera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2011. สืบค้นเมื่อ 16 January 2011.
  22. "US Vice President Lands in Afghanistan in Surprise Visit". Almanar.com.lb. 26 January 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2013. สืบค้นเมื่อ 31 January 2011.
  23. "Al-ManarTV:: South Sudan Referendum Wraps up, Khartoum Vows to Recognize Results 15/01/2011". Almanar.com.lb. 15 January 2011. สืบค้นเมื่อ 31 January 2011.[ลิงก์เสีย]
  24. "Results for the Referendum of Southern Sudan". Southern Sudan Referendum Commission and Southern Sudan Referendum Bureau. 30 January 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 April 2016. สืบค้นเมื่อ 2 February 2011.
  25. "Sudan after the referendum: a test case for Africa". The Christian Science Monitor. 9 February 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 11 July 2011.
  26. Mutasa, Haru (23 January 2011). "Southern Sudanese debate new name". Al Jazeera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2011. สืบค้นเมื่อ 31 January 2011.
  27. Kron, Josh (24 January 2011). "Southern Sudan Nears a Decision on One Matter: Its New Name". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2017. สืบค้นเมื่อ 6 December 2011.