การรักษาด้วยการให้สารน้ำทางปาก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การรักษาด้วยการให้สารน้ำทางปาก
การแทรกแซง
ผู้ป่วยอหิวาตกโรคกำลังดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ (โออาร์เอส)
MeSHD005440
eMedicine906999-treatment

การรักษาด้วยการให้สารน้ำทางปาก (อังกฤษ: oral rehydration therapy) เป็นการรักษาด้วยการชดเชยสารน้ำวิธีหนึ่ง ใช้เพื่อรักษาหรือป้องกันการขาดน้ำ โดยเฉพาะการขาดน้ำที่เกิดจากภาวะท้องร่วง[1] ทำโดยให้ผู้ป่วยดื่มน้ำที่ผสมเกลือและน้ำตาลเล็กน้อย[1] อาจให้ด้วยการกินตามปกติหรือให้ผ่านสายให้อาหารชนิดใส่ผ่านจมูกก็ได้[1] โดยปกติจะแนะนำให้เสริมสังกะสีร่วมด้วยในการรักษา[1] การรักษาด้วยวิธีนี้สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากท้องร่วงลงได้ถึง 93%[2]

ผลข้างเคียงที่อาจพบได้ ได้แก่ อาเจียน โซเดียมในเลือดสูง หรือโปแตสเซียมในเลือดสูง หากผู้ป่วยกินสารละลายแล้วอาเจียนแนะนำให้พักก่อน 10 นาที แล้วค่อยๆ กินใหม่[1] สูตรของสารละลายที่แนะนำจะประกอบด้วย โซเดียมคลอไรด์ โซเดียมซิเตรต โปแตสเซียมคลอไรด์ และกลูโคส[1] หากไม่มีอาจใช้ซูโครสแทนกลูโคส และใช้โซเดียมไบคาร์บอเนตแทนโซเดียมซิเตรตได้[1] กลูโคสจะช่วยให้เซลล์ในลำไส้ดูดซึมน้ำและโซเดียมได้ดีขึ้น[3] นอกจากสูตรนี้แล้วยังมีสูตรดัดแปลงอื่นๆ เช่นสูตรที่สามารถทำได้เองที่บ้าน[3][2] อย่างไรก็ตามสูตรที่ทำได้เองเหล่านี้ยังไม่มีผลการศึกษาวิจัยที่ยืนยันผลการรักษา[2]

การรักษาด้วยการให้สารน้ำทางปากเช่นนี้ถูกพัฒนาขึ้นเมื่อช่วงปี 1940s และเริ่มเป็นที่แพร่หลายเมื่อช่วงปี 1970s[4] สูตรยาของสารน้ำนี้ได้รับการบรรจุไว้ในรายการยามาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ซึ่งเป็นกลุ่มของยาที่ปลอดภัยและได้ผลดีและมีความจำเป็นต่อระบบบริการสุขภาพ[5] ราคาขายส่งของผงละลายน้ำเกลือแร่ที่ขายอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอยู่ที่ประมาณซองละ 0.03-0.20 ดอลลาร์สหรัฐ[6] ในปี ค.ศ. 2015 มีการใช้การรักษาด้วยการให้สารน้ำทางปากกับผู้ป่วยเด็กที่มีอาการท้องร่วงอยู่ที่ 41% ทั่วโลก[7] การใช้การรักษาด้วยวิธีนี้มีส่วนสำคัญในการลดอัตราการเสียชีวิตของเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 WHO Model Formulary 2008 (PDF). World Health Organization. 2009. pp. 349–351. ISBN 9789241547659. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2016. สืบค้นเมื่อ 8 January 2017.
  2. 2.0 2.1 2.2 Munos, MK; Walker, CL; Black, RE (April 2010). "The effect of oral rehydration solution and recommended home fluids on diarrhoea mortality". International Journal of Epidemiology. 39 Suppl 1: i75-87. doi:10.1093/ije/dyq025. PMC 2845864. PMID 20348131.
  3. 3.0 3.1 Binder, HJ; Brown, I; Ramakrishna, BS; Young, GP (March 2014). "Oral rehydration therapy in the second decade of the twenty-first century". Current gastroenterology reports. 16 (3): 376. doi:10.1007/s11894-014-0376-2. PMC 3950600. PMID 24562469.
  4. Selendy, Janine M. H. (2011). Water and Sanitation Related Diseases and the Environment: Challenges, Interventions and Preventive Measures (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons. p. 60. ISBN 9781118148600. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 September 2017.
  5. "WHO Model List of Essential Medicines (19th List)" (PDF). World Health Organization. April 2015. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2016. สืบค้นเมื่อ 8 December 2016.
  6. "Oral Rehydration Salts". International Drug Price Indicator Guide. สืบค้นเมื่อ 8 December 2016.
  7. 7.0 7.1 The State of the World's Children 2016 A fair chance for every child (PDF). UNICEF. June 2016. pp. 117, 129. ISBN 978-92-806-4838-6. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2016. สืบค้นเมื่อ 14 January 2017.

แม่แบบ:Cholera