การยอมจำนน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาโมรุ ชิเงะมิตสึ รัฐมนตรีต่างประเทศของญี่ปุ่น ลงนามตราสารยอมจำนนของญี่ปุ่น บนเรือยูเอสเอส มิสซูรี (BB-63) ขณะที่พลเอก ริชาร์ด เค. ซูเธอร์แลนด์ มองจากฝั่งตรงข้าม

การยอมจำนน เป็นการกระทำที่ทหาร ชาติ หรือผู้เข้าร่วมสงครามอื่น ๆ ยุติการต่อสู้ และยอมถูกจับเป็นเชลย ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจด้วยตัวเองหรือได้รับคำสั่งจากนายทหารที่มียศสูง กว่า สัญลักษณ์ทั่วไปสำหรับการยอมจำนน คือ ธงขาว โดยการชูมือขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นว่าไม่มีอาวุธ

เมื่อ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยอมจำนน ทั้งสองฝ่ายอาจตกลงให้การยอมจำนนนั้นมีเงื่อนไข เช่น ฝ่ายหนึ่งจะยอมจำนนก็ต่อเมื่อผู้ชนะยอมทำตามสัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ในขณะที่การยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข เป็นการบ่งชี้ว่า ฝ่ายที่ชนะจะปฏิบัติต่อฝ่ายที่แพ้นอกเหนือจากสัญญาใด ๆ ยกเว้นกฎแห่งสงครามเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับรองจากอนุสัญญาเฮก (1907) และอนุสัญญาเจนีวา

รายชื่อการยอมจำนน[แก้]

รูปภาพ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]