การตั้งชื่อเอนไซม์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การตั้งชื่อเอนไซม์ ได้ตกลงเป็นสากลว่า ชื่อของเอนไซม์จะต้องประกอบด้วยหน้าที่ของเอนไซม์แล้วลงท้ายด้วยคำว่า -เอส (-ase) ตัวอย่างเช่น

  • แอลกอฮอล์ ดีไฮโดรเจเนส (alcohol dehydrogenase)
  • ดีเอ็นเอ พอลิเมอเรส (DNA polymerase)

ไคเนส (Kinase) เป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่เคลื่อนย้าย ฟอสเฟตกรุป เอนไซม์ต่างกันแต่ทำหน้าที่เหมือนกันจะมีชื่อพื้นฐานที่เหมือนกัน ดังนั้นจึงนำจุดสังเกตความแตกต่างในคุณสมบัติอื่นๆ มาประกอบ เช่น การใช้ pH ที่เหมาะสมมาประกอบ ตัวอย่างคือ "อัลคาไลน์ ฟอสฟาเทส" (alkaline phosphatase) หรือตำแหน่งที่มันอยู่ เช่น เมมเบรน เอทีเพส (membrane ATPase)

ยิ่งไปกว่านั้น การย้อนกลับของปฏิกิริยาเคมี มีความหมายว่าทิศทางสรีรวิทยาของการทำงานของเอนไซม์อาจจะไม่สามารถสังเกตได้ในห้องทดลอง ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่า เอนไซมืตัวเดียวกันแต่ถูกตั้งชื่อแตกต่างกันป็นสองชื่อเช่นว่า

  • ชื่อหนึ่งได้จากข้อมูลการทดลองในห้องปฏิบัติการ และอีก
  • ชื่อหนึ่งได้จากข้อมูลการสังเกตพฤติกรรมในเซลล์

หน่วยงานชีวเคมีและชีวโมเลกุลนานาชาติ เก็บถาวร 2007-04-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ได้ช่วยกันพัฒนา การตั้งชื่อ (nomenclature) เอนไซม์ โดยใช้ หมายเลข อีซี(EC number); เอนไซม์แต่ละตัวจะถูกระบุโดยชุดของเลข 4 ตัว แล้วนำหน้าด้วย "EC" หมายเลขแรกเป็นชั้นของเอนไซม์ที่กำหนดโดยกลไกการทำงานของมัน:

หมู่ ปฏิกิริยาที่เร่ง
(Reaction catalyzed)
ตัวอย่างปฏิกิริยา
(Typical reaction)
ตัวอย่างเอนไซม์
(Enzyme example(s) with trivial name)
EC 1
ออกซิโรดักเทส (Oxidoreductase)
เพื่อเร่ง ออกซิเดชัน/ปฏิกิริยารีดักชัน (reduction reactions); โดยการเคลื่อนย้าย H และ O อะตอม หรือ อิเล็กตรอน จากสสารหนึ่งไปยังอีกอันหนึ่ง AH + B � A + BH (รีดิวซ์)
A + O � AO (ออกซิไดซ์)
ดีไฮโดรเจเนส (Dehydrogenase), ออกซิเดส (Oxidase)
EC 2
ทรานสเฟอเรส (Transferase)
การย้าย ฟังก์ชันนัลกรุป จากสารหนึ่งไปยังอีกอันหนึ่ง กรุปอาจเป็น เมตทิล- อะคิล- อะมิโน- หรือ ฟอสเฟตกรุป AB + C � A + BC ทรานสามิเนส (Transaminase), ไคเนส (kinase)
EC 3
ไฮโดรเลส(Hydrolase)
การเกิดสองผลิตภัณฑ์จากซับสเตรต 1 ตัว โดย ไฮโดรไลสิส (hydrolysis) AB + H2O � AOH + BH ไลเปส (Lipase), อะไมเลส (amylase), เปปติเดส (peptidase)
EC 4
ไลเอส(Lyase)
การเพิ่มแบบนอน-ไฮโดรไลติก หรือ การกำจัดกรุป จาก ซับสเตรต C-C, C-N, C-O or C-S บอนด์ อาจแยกออก RCOCOOH � RCOH + CO2
EC 5
ไอโซเมอเรส(Isomerase)
การจัดเรียงภายในโมเลกุล เช่น ไอโซเมอไรเซชัน เปลี่ยนภายในหนึ่งโมเลกุล AB � BA ไอโซเมอเรส (Isomerase), มูเตส (mutase)
EC 6
ไลเกส(Ligase)
การเชื่อมต่อระหว่าง สองโมเลกุลโดยการสังเคราะห์ใหม่ C-O, C-S, C-N or C-C บอนด์ ด้วยการสะลายตัวแบบเป็นไปเองของ ATP X + Y+ ATP � XY + ADP + Pi ซินทีเทส (Synthetase)

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]