กฤตย์ รัตนรักษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กฤตย์ รัตนรักษ์

เกิด19 เมษายน พ.ศ. 2489 (77 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
สัญชาติไทย
ศิษย์เก่าโรงเรียนอัสสัมชัญ
มหาวิทยาลัยอีสเทิร์น นิวเม็กซิโก
คู่สมรสใจสคราญ หิรัญพฤกษ์ (หย่า)
ศรีสกุล พร้อมพันธุ์ (หย่า)
บุตรชัชชน รัตนรักษ์

กฤตย์ รัตนรักษ์ (เกิด 19 เมษายน พ.ศ. 2489) เป็นประธานกรรมการบริหารบริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด และช่อง 7 เอชดี รวมถึงอดีตเจ้าของธนาคารกรุงศรีอยุธยา และอดีตสมาชิกวุฒิสภา

ประวัติ[แก้]

กฤตย์ รัตนรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2489 เป็นบุตรชายคนโตในจำนวนพี่น้อง 6 คน มีน้องสาว 5 คน ปัจจุบันน้องสาว 4 คนอาศัยอยู่ต่างประเทศ [1] โดยที่คุณแม่ของเขา (ศศิธร รัตนรักษ์) อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร นิตยสารฟอบส์เคยกล่าวถึงตระกูลรัตนรักษ์ว่าเป็น "กลุ่มคนที่ลึกลับ"[2] และบุตรชายของกฤตย์ นายชัชชน รัตนรักษ์ ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นผู้ทรงอิทธิพลที่ไม่สาธารณะ[3]

ตระกูลรัตนรักษ์ถือเป็นตระกูลรุ่นบุกเบิกตระกูลหนึ่งของสังคมธุรกิจไทย[4] กฤตย์เป็นบุตรชายของชวน รัตนรักษ์ ผู้ก่อตั้งธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ปูนซีเมนต์นครหลวง (ผู้ผลิตปูนอินทรี) และ บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ (บีบีทีวี)[5] ด้วยความสามารถในการสร้างโครงข่ายธุรกิจขนาดใหญ่ด้วยตัวเองเช่นนี้ ทำให้ชวนได้รับการยกย่องในฐานะหนึ่งในนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จสูงสุดท่านหนึ่งในประวัติศาสตร์ธุรกิจไทย[6] หลังจากชวนเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2536 กฤตย์จึงรับช่วงทางธุรกิจต่อ

การทำงาน[แก้]

ตระกูลรัตนรักษ์ถือเป็นหนึ่งในตระกูลธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดตระกูลหนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากเป็นผู้ถือหุ้นหลักในบริษัทไทยหลากหลายบริษัท อาทิ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ปูนซีเมนต์นครหลวง, อลิอันซ์ อยุธยา, แม็ทชิ่ง แม็กซิไมซ์ โซลูชั่น, มีเดีย ออฟ มีเดียส์, อีสเทอร์น สตาร์ เรียล เอสเตท จำกัด (มหาชน), บริษัท รักษาความปลอดภัย เอชอาร์ โปร แอนด์ เซอร์วิส และยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบีบีทีวี[2]

กฤตย์เริ่มทำงานในธนาคารกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 2515 ก่อนเลื่อนขึ้นเป็นประธานในปี พ.ศ. 2525 และเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ในปี พ.ศ. 2533 ในปี พ.ศ. 2536 เขาดำรงตำแหน่งประธานและประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ประธานบริษัทกรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด, ประธานบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) และประธานบริษัท ศรีอยุธยา ประกันภัย [7] ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2540 กฤตย์ช่วยให้ธุรกิจที่อยู่ใต้การบริหารทั้งหมดผ่านพ้นวิกฤตต้มยำกุ้งได้สำเร็จ ส่งผลให้กลุ่มรัตนรักษ์ เป็นหนึ่งใน 8 ตระกูลนักธุรกิจชั้นนำในประเทศไทย จากที่เคยมีถึง 40 ตระกูล ให้ยังคงสามารถเป็นตระกูลมหาอำนาจทางธุรกิจตามการจัดอันดับในปี พ.ศ. 2552[8]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 กลุ่มรัตนรักษ์ได้ทำการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นในปูนซีเมนต์นครหลวง โดยการขายส่วนของผู้ถือหุ้นที่กลุ่มถือหุ้นอยู่ให้แก่บริษัท Holderbank (ปัจจุบันคือบริษัท Holcim) แต่ข่าวที่เผยแพร่ผิดพลาดจากความเป็นจริงไปว่าเงินที่ได้จากขายหุ้นแก่ Holderbank นั้นใช้ระดมทุนเพื่อปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นของธนาคารกรุงศรีอยุธยา อย่างไรก็ดี ข้อตกลงแสดงไว้อย่างชัดเจนในเงื่อนไขการขายหุ้นดังกล่าวว่าเงินทั้งหมดจากการขายหุ้น และรวมถึงทุนส่วนที่กลุ่มรัตนรักษ์ได้ลงเพิ่มเติมนั้นต้องลงกลับเข้าไปเป็นทุนในปูนซีเมนต์นครหลวงเท่านั้น ส่วนเงินทุนที่ทางกลุ่มได้ลงไปในการปรับโครงสร้างของธนาคารกรุงศรีอยุธยามาจากทุนสำรอง[9] ในปี พ.ศ. 2556 กลุ่มรัตนรักษ์ถือหุ้น 47% ในปูนซีเมนต์นครหลวง คิดเป็นมูลค่า 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐตามราคาตลาด โดยไม่มีหนี้ที่เป็นสาระสำคัญใด ๆ ส่วน Holcim ถือหุ้นอยู่ 27.5% ของหุ้นทั้งหมด[10] ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2541 ก่อนการเข้าร่วมทุนกับ Holderbank กลุ่มรัตนรักษ์ถือหุ้นประมาณ 50%[11]

ในวิกฤติต้มยำกุ้ง ธนาคารไทยหลายแห่งต้องปิดกิจการหรือขายหุ้นให้ต่างชาติ กลุ่มรัตนรักษ์สามารถใช้กลไกการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นในธนาคารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวนอกจากจะช่วยให้กลุ่มสามารถรักษากิจการไว้ได้แล้ว ยังช่วยปรับปรุงการดำเนินงานของธนาคารต่อมาภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจอีกด้วย[12] ในปี พ.ศ. 2539 ก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยามีมูลค่าหุ้นในตลาดรวมอยู่ที่ประมาณ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[13] ซึ่งได้เพิ่มสูงขึ้นเป็น 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี พ.ศ. 2557[14] สัดส่วนการถือหุ้นในธนาคารของกลุ่มที่ลดลงจาก 35%[15] ไปเป็น 25%[10] ในปี พ.ศ. 2550 เพื่อดำเนินการตามกฎระเบียบการถือครองหุ้นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2551 การลดสัดส่วนการถือครองหุ้นในธนาคารกรุงศรีอยุธยาของกลุ่ม เป็นไปโดยการเข้ามาถือหุ้นของบริษัท GE Capital ซึ่งทางกลุ่มได้มอบหมายให้ดูแลการบริหารงานธนาคารในปี พ.ศ. 2550[16] ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2556 บริษัท GE Capital ได้ขายหุ้นในธนาคารกรุงศรีอยุธยาให้แก่ธนาคาร MUFJ ธนาคารสัญชาติญี่ปุ่น เนื่องจากการขาดทุนของบริษัท GE Capital เองในช่วงวิกฤติธนาคารในปี พ.ศ. 2551[17][18][10]

กลุ่มรัตนรักษ์ได้ผ่านวิกฤติการณ์หลายครั้งแต่ก็ยังคงสามารถดำรงสถานะหนึ่งในกลุ่มธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุด 5 อันดับในประเทศไทย [12] และเป็น 1 ใน 3 ตระกูลธนาคารที่มีอำนาจมากที่สุดในประเทศไทย ร่วมกับตระกูลโสภณพนิชของธนาคารกรุงเทพ และตระกูลล่ำซำของธนาคารกสิกรไทย[19]

การเมือง[แก้]

ในปี พ.ศ. 2524 ด้วยอายุเพียง 35 ปี กฤตย์ ได้รับเลือกให้เป็นวุฒิสมาชิก​ ซึ่งถือเป็นวุฒิสมาชิกที่อายุน้อยที่สุดและดำรงตำแหน่งนาน 4 สมัย [20]

ข้อมูลส่วนตัว[แก้]

กฤตย์ รัตนรักษ์ หย่า และมีบุตรชาย 1 คน คือ นายชัชชน รัตนรักษ์ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2515

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Global Finance 600: The world's most powerful financial players". BNET Find Articles. 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2010. สืบค้นเมื่อ 2009-11-09.
  2. 2.0 2.1 Forbes Magazine. 18 July 1994. p. 162. {{cite news}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  3. Business Report Thailand. January 2012. pp. 43–45. {{cite news}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  4. Forbes Magazine. 18 July 1994. p. 176. {{cite news}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  5. Hiscock (1997), p. 254
  6. "BANK OF AYUDHYA CHAIRMAN PASSES AWAY". Bangkok Post. 4 August 1993.
  7. "BAY gears up for new era as Krit steps down". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 มกราคม 2007. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2009.
  8. "How Thailand's wealthiest are making serious money". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 พฤษภาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2009.
  9. "Before Nowadays…40 Years of Siam City Cement PCL. Special Interview with Khun Veraphan Teepsuwan" (Interview). Siam City Cement Vol. 5, Issue 22. 6 Nov 2009. pp. 20–25. สืบค้นเมื่อ 2 July 2014.
  10. 10.0 10.1 10.2 Srimalee, Somluck (25 December 2012). "Ratanaraks returning to former prowess". The Nation. สืบค้นเมื่อ 25 June 2013.[ลิงก์เสีย]
  11. Sherer, Paul (11 August 1998). "Swiss Holderbank Buys Stake in Siam City Cement". The Asian Wall Street Journal.
  12. 12.0 12.1 Akira Suehiro; Natenapha Wailerdsak (2004). "Family Business in Thailand". ASEAN Economic Bulletin. 21 (1).
  13. "Thailand Closing Stock Prices". Dow Jones Newswire. 10 April 1996. {{cite web}}: |url= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  14. "Companies/Securities in Focus". The Stock Exchange of Thailand. สืบค้นเมื่อ 2 July 2014.
  15. Utumporn, Pichayaporn (7 May 1996). "Bank of Ayudhya Share-Issue Plan Pleases Shareholders and Analysts". The Asian Wall Street Journal.
  16. Kanoksilp, Jiwamol (5 January 2007). "BAY gears up for new era as Krit steps down". The Nation (Thailand).
  17. Vallikappen, Sanat; Joyce Koh; Anuchit Nguyen (8 April 2013). "GE Raises $462 Million From Selling 7.6% of Bank of Ayudhya". Bloomberg News.
  18. Lex (8 April 2013). "General Electric: the long game". Financial Times.
  19. Gomez, Edmund (2002). Political business in East Asia. London: Routledge. pp. 253–277. ISBN 0-415-27149-5.
  20. รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ ๖[ลิงก์เสีย]
  21. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (จำนวน ๓,๐๘๒ ราย) เล่ม ๑๐๘ ตอน ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๔ หน้า ๑
  22. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๒๙) เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ฉบับพิเศษ หน้า ๑ เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙