กฎออกเตต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พันธะในคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2): ทั้ง C และ O ล้อมรอบด้วยอิเล็กตรอน 8 ตัว ตามกฎออกเตต CO2 จึงจัดเป็นโมเลกุลที่เสถียร

กฎออกเตต คือ กฎที่อะตอมพยายามที่จะทำให้เวเลนซ์อิเล็กตรอนของตัวมันเองให้ครบแปดซึ่งมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเหมือนแก๊สเฉื่อยและเป็นสภาพที่เสถียรที่สุด

ข้อยกเว้น ได้แก่

  • ธาตุลำดับแรก ๆ ของตารางธาตุ จะเป็นไปตามกฎดูเอต นั่นคือธาตุเหล่านี้จะพยายามทำให้เวเลนซ์อิเล็กตรอนครบสอง เพื่อให้จัดเรียงอิเล็กตรอนเหมือนฮีเลียมซึ่งเป็นแก๊สเฉื่อยที่ใกล้เคียงธาตุเหล่านี้ที่สุด
  • เบริลเลียม โบรอน และอะลูมิเนียม อาจเกิดสารประกอบโคเวเลนต์ซึ่งไม่ครบออกเตต เช่น BeCl2 BF3 และ AlCl3 สารเหล่านี้มักมีสมบัติเป็นกรดลิวอิส และทำปฏิกิริยาเกิดพันธะโคออร์ดิเนตโคเวเลนต์เพื่อทำให้ตัวเองครบออกเตต
  • ธาตุตั้งแต่คาบ 3 ลงไปสามารถมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเกิน 8 ได้ เพราะอิเล็กตรอนสามารถเข้าไปอยู่ในออร์บิทัล d ได้ เช่น PCl5 และ SF6 เรียกว่าโมเลกุลไฮเพอร์เวเลนต์
  • สารประกอบบางชนิดมีความเสถียรทั้ง ๆ ที่มีจำนวนอิเล็กตรอนเป็นคี่ เช่น NO

แหล่งข้อมูล[แก้]

  • Petrucci, R. H., Herring, F. G., Madura, J. D., Bissonnette, C. (2011). "Chapter 10: Chemical Bonding I: Basic Concepts". General Chemistry: Principles and Modern Applications. (10th ed.) Toronto: Pearson Canada. ISBN 978-0-13-206452-1.