Nuclear chain fiber

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Nuclear chain fiber
รายละเอียด
ส่วนหนึ่งของMuscle spindle
ตัวระบุ
ภาษาละตินmyofibra catenaformis
THH3.03.00.0.00014
ศัพท์ทางกายวิภาคของจุลกายวิภาคศาสตร์

เส้นใยกล้ามเนื้อ nuclear chain fiber เป็นอวัยวะรับความรู้สึกภายในกล้ามเนื้อ เป็น intrafusal muscle fiber (เส้นใยกล้ามเนื้อในกระสวย) ชนิดหนึ่งซึ่งเมื่อบวกกับ nuclear bag fiber ก็เป็นองค์ประกอบของ muscle spindle ซึ่งมีหน้าที่ตรวจจับการเปลี่ยนแปลงความยาวของกล้ามเนื้อ

มี nuclear chain fiber 3-9 เส้นต่อ muscle spindle หนึ่งตัวโดยมีขนาดครึ่งหนึ่งของ nuclear bag fiber นิวเคลียสของเส้นต่อกันเป็นลูกโซ่โดยเฉพาะในช่วงตรงกลาง ซึ่งทำให้ได้ชื่อเป็น nuclear chain มีบทบาทการรับรู้ความยาวกล้ามเนื้อแบบ "สถิต" (คือส่งข้อมูลความยาวกล้ามเนื้อ) เทียบกับ nuclear bag fiber ที่มีบทบาทแบบ "พลวัต" (คือส่งข้อมูลความยาวกล้ามเนื้อและอัตราการเปลี่ยนแปลง) โครงสร้างตรงกลางของเส้นใยกล้ามเนื้อที่ต่อกันเป็นเหมือนโซ่ เป็นจุดที่แอกซอนรับความรู้สึกหมุนเป็นขดมัดเส้นใยในกระสวย Golgi tendon organ เป็นโครงสร้างที่คล้ายกันโดยข้างหนึ่งยึดอยู่กับกล้ามเนื้อและอีกข้างหนึ่งยึดอยู่กับเอ็น เพราะ nuclear chain fiber และ nuclear bag fiber ต่อกับเส้นใยกล้ามเนื้อในแนวขนาน จึงต่างกับ Golgi tendon organ ซึ่งต่อกับกล้ามเนื้อแบบอนุกรม

เส้นประสาท[แก้]

เพราะเป็น intrafusal muscle fiber แบบ "nuclear chain fiber" จึงได้ทั้งเส้นใยประสาทนำเข้าที่ส่งข้อมูลความรู้สึก และเส้นใยประสาทนำออกที่รับคำสั่งการ (จากเซลล์ประสาทสั่งการ) เส้นใยประสาทนำเข้าเป็นแบบ 1a และ 2 ซึ่งส่งข้อมูลเกี่ยวกับอากัปกิริยาผ่าน dorsal root เข้าไปในไขสันหลัง โดยแยกส่งขึ้นลงและส่งสาขาไปยังปล้องไขสันหลังระดับต่าง ๆ สาขาบางส่วนไปไซแนปส์กับเซลล์ประสาทที่ dorsal horn ของไขสันหลังและบางส่วนที่ ventral horn สาขาเหล่านี้อำนวยการตอบสนองต่าง ๆ รวมทั้งรีเฟล็กซ์เข่า ส่วนวิถีประสาทที่ส่งขึ้นไปยังสมองแม้จะมีบางส่วนที่คล้ายกับวิถีประสาทส่งความรู้สึกทางผิวหนัง แต่ก็ต่างกันเพราะวิถีประสาทการรับรู้อากัปกิริยาต้องส่งข้อมูลไปยังสมองน้อยด้วย ซึ่งเป็นตัวควบคุมเวลาและลำดับการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเมื่อเคลื่อนไหวร่างกายใต้อำนาจจิตใจ[1]

เส้นใยประสาทนำออกมาจากเซลล์ประสาทสั่งการแกมมาแบบสถิต การกระตุ้นเซลล์ประสาทสั่งการแกมมาจะทำให้การตอบสนองของใยประสาทนำเข้า 1a ช่วงสถานะคงตัว (stead-state) สูงขึ้น แต่จะทำให้การตอบสนองช่วงพลวัต (dynamic) ลดลง[2]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. Purves et al (2018), Central Pathways Conveying Proprioceptive Information from the Body, pp. 204-205
  2. Pearson, Keir G; Gordon, James E (2013). "35 - Spinal Reflexes". ใน Kandel, Eric R; Schwartz, James H; Jessell, Thomas M; Siegelbaum, Steven A; Hudspeth, AJ (บ.ก.). Principles of Neural Science (5th ed.). United State of America: McGraw-Hill. Figure 35-3 The muscle spindle detects changes in muscle length, p. 795. ISBN 978-0-07-139011-8.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]