2499 อันธพาลครองเมือง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
2499 อันธพาลครองเมือง
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับนนทรีย์ นิมิบุตร
เขียนบทวิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง
สร้างจากเส้นทางมาเฟีย
โดย สุริยัน ศักดิ์ไธสง
อำนวยการสร้างวิสูตร พูลวรลักษณ์
นักแสดงนำ
ผู้บรรยายรุจน์ รณภพ
กำกับภาพวินัย ปฐมบูรณ์
ตัดต่อสุนิตย์ อัศวินิกุล
ดนตรีประกอบเพลงนำภาพยนตร์:
7 วันที่ฉันเหงา และ อย่าใกล้ฉัน
โดย วูล์ฟแพ็ค
ผู้จัดจำหน่าย
วันฉาย11 เมษายน พ.ศ. 2540
ความยาว104 นาที
ประเทศไทย ไทย
ภาษาไทย
ทำเงิน75 ล้านบาท[1]
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย
ข้อมูลจากสยามโซน

2499 อันธพาลครองเมือง (อังกฤษ: Dang Bireley's and Young Gangsters) เป็นภาพยนตร์ไทยแนวดราม่า-อาชญากรรมชีวประวัติที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2540 กำกับโดย นนทรีย์ นิมิบุตร สร้างโดย บริษัท ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด เพลงประกอบภาพยนตร์ โดย วูล์ฟแพ็ค ภาพยนตร์มีเนื้อหาเล่าย้อนถึงกรุงเทพมหานครยุคก่อนพ.ศ. 2500 ที่เหล่านักเลงอันธพาล แดง ไบเล่ย์ ผู้มีอิทธิพลและครองเมืองอย่างไม่หวั่นเกรงกฎหมาย

เนื้อเรื่อง[แก้]

เรื่องราวทั้งหมดเล่าโดยผ่านความทรงจำของ เปี๊ยก วิสุทธิ์กษัตริย์ (สุริยัน ศักดิ์ไธสง-เสียงบรรยายโดย รุจน์ รณภพ) ก่อนปี พ.ศ. 2500 สมัยที่กรุงเทพ ฯ ยังถูกเรียกว่าพระนคร อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกเริ่มหลั่งไหลมายังกลุ่มวัยรุ่นเมืองไทย แดง (เจษฎาภรณ์ ผลดี) เป็นหัวโจกเด็กวัยรุ่น แดงเป็นลูกของ โฉม (ปาริชาต บริสุทธิ์) โสเภณีที่ตรอกไบเล่ย์ ข้างหัวลำโพง เขาจึงสร้างปมเด่นขึ้นมาด้วยการเป็นหัวหน้าแก๊งอันธพาลเพื่อกลบปมด้อยที่เป็นลูกโสเภณี แดงมีเพื่อนสนิทคือ ปุ๊ (ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ), ดำ (ชาติชาย งามสรรพ์), แหลม (นพชัย มัททวีวงศ์) และ เปี๊ยก (อรรถพร ธีมากร) แดงสร้างชื่อจากการสังหารเฮียหมา นักเลงท้องถิ่นในงานฉลองวันขึ้นปีใหม่ วันหนึ่งในงานเจมส์ ดีนรำลึก แดงและพรรคพวกได้เจอกับนักร้องสาวคนหนึ่งชื่อ วัลลภา (แชมเปญ เอ็กซ์) วัลลภามีท่าทีสนใจแดงทั้งสองคนจึงได้รู้จักกัน ครั้งนึงปุ๊ไปมีเรื่องกับเด็กในแก๊งของเปี๊ยก ทำให้เปี๊ยกออกรับหน้าแทนจึงเกิดการทะเลาะวิวาทกันขึ้น ทำให้เปี้ยกต้องติดคุกและโดนไล่ออกจากโรงเรียนในภายหลัง เป็นชนวนเหตุให้แก๊งระเบิดขวดที่นำโดยปุ๊ และแก๊งไบเล่ย์ของแดงเกิดบาดหมางและก่อให้เกิดเรื่องราวความรุนแรงในเวลาต่อมา

ทั้งคู่ยกพวกตีกันหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นที่ถนนสิบสามห้าง ย่านบางลำพู หรือในที่ใด ๆ ก็ตาม จนเมื่อเกิดการรัฐประหารโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี พ.ศ. 2501 ความเด็ดขาดที่จะปราบปรามแก๊งวัยรุ่น ทำให้แดงและเปี๊ยกต้องหนีไปพึ่ง หมู่เชียร (อภิชาติ ชูสกุล) ลูกพี่เก่าที่อู่ตะเภา หมู่เชียรกำลังจะเปิดคาสิโนแห่งใหม่ที่นั่นเพื่อรองรับเหล่าทหารอเมริกันที่มารบในสงครามเวียดนาม จึงรับแดงและเปี๊ยกเข้ามาเป็นลูกน้อง ต่อมาไม่นานแหลมก็ตามมา รวมทั้งปุ๊และดำด้วย แดงไม่เห็นด้วยที่หมู่เชียรรับปุ๊และดำ ในที่สุดปุ๊และดำก็ทรยศ โดยไปเข้ากับผู้ใหญ่เต๊ก ผู้ทรงอิทธิพลคู่แข่งหมู่เชียร ในที่สุดหมู่เชียรก็ถูกยิงตาย แดงและพวกจึงตกอยู่ในสภาพเสียหัวเรือ ต่อมาได้ล้างแค้นให้หมู่เชียรโดยยิงกับพวกปุ๊และผู้ใหญ่เต๊กกลางตลาด

ต่อมา แม่ของแดงขอให้แดงบวช แดงยอมบวช แต่ในงานบวช ปุ๊และดำก็มาป่วน แดงและพวกยิงกับปุ๊และดำกลางงาน หลายคนตาย แดงก็บาดเจ็บสาหัสหนัก ที่สุดเขาก็ไม่ได้บวช และไปเป็นลูกน้องเสี่ยจิว ผู้ทรงอิทธิพลที่ชลบุรี และท้ายที่สุดเขาก็รถคว่ำตาย ด้วยวัยเพียง 24 ปี แบบเดียวกับ เจมส์ ดีน วีรบุรุษที่เขารัก

นักแสดง[แก้]

ปรากฏการณ์ภาพยนตร์[แก้]

2499 อันธพาลครองเมือง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า "Dang Bireley's and Young Gangsters" หรือ "Dang Bireley's Story" สร้างมาจากบทประพันธ์เรื่อง "เส้นทางมาเฟีย" ของสุริยัน ศักดิ์ไธสง หรือ เปี๊ยก วิสุทธิกษัตริย์ ในเรื่อง เมื่อออกฉายได้รับความนิยมอย่างมาก เป็นที่พูดคุยวิพากษ์วิจารณ์จนเป็นกระแสในสังคมระยะหนึ่ง ถึงเรื่องราวความจริงกับสิ่งที่ปรากฏในภาพยนตร์ เช่น หลายคนบอกว่าแดงแท้ที่จริงไม่เคยฆ่าคนและชอบกินมิลค์เช็ค, เปี๊ยก วิสุทธิกษัตริย์ เป็นบุคคลที่ไม่มีใครรู้จัก เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นการแจ้งเกิดของหลายคน ไม่ว่าจะเป็นผู้กำกับที่เพิ่งจะสร้างหนังเป็นเรื่องแรก และนักแสดงนำ ซึ่งในขณะนั้นทุกคนยังคงเป็นนักแสดงหน้าใหม่ทั้งหมด และเป็นการเปิดศักราชยุคใหม่ให้ภาพยนตร์ไทยอย่างแท้จริง เนื่องด้วยสามารถทำรายได้ถล่มทลายไม่แพ้ภาพยนตร์ต่างประเทศเป็นเรื่องแรกในวงการ อีกทั้งเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่สร้างได้มาตรฐานสากล เมื่อออกไปฉายในงานเทศกาลต่างประเทศ ก็ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากงานประกวดภาพยนตร์อิสระที่ประเทศเบลเยี่ยมด้วย[2]

ดูเพิ่ม[แก้]

สถานที่ถ่ายทำ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. จากสยามโซน
  2. ช่วง วันนี้มีอะไร, รายการทีวีพูลรอบโลก: 11 เมษายน พ.ศ. 2554 ทางช่อง 11

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]