ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โยเซ็ฟ อันโทน ฟ็อยชท์ไมเออร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
Potapt ย้ายหน้า โยเซฟ อันทอน ฟอยช์ทมาเยอร์ ไปยัง โยเซ็ฟ อันโทน ฟ็อยชท์ไมเออร์: ตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์เยอรมัน
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 47: บรรทัด 47:


[[หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2239]]
[[หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2239]]
[[หมวดหมู่:ศิลปินชาวเยอรมัน|ฟ็อยชท์ไมเออร์]]
[[หมวดหมู่:ประติมากรชาวเยอรมัน]]
[[หมวดหมู่:ประติมากร|ฟ็อยชท์ไมเออร์]]
[[หมวดหมู่:ประติมากรในคริสต์ศตวรรษที่ 18|ฟ็อยชท์ไมเออร์]]
[[หมวดหมู่:ประติมากรในคริสต์ศตวรรษที่ 18|ฟ็อยชท์ไมเออร์]]
[[หมวดหมู่:ศิลปินในยุคบารอก]]
[[หมวดหมู่:ศิลปินในยุคบารอก]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:01, 19 มีนาคม 2565

"Honigschlecker" putto ภายในวัดเบียร์เนา (Birnau) ที่อือเบอร์ลิงเงิน (Überlingen) ประเทศเยอรมนี
เซนต์แอนนา (ค.ศ. 1750) ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์ที่อือเบอร์ลิงเงิน
แท่นบูชาภายในวัดฟรานซิสกัน (Franziskanerkirche) ที่อือเบอร์ลิงเงิน

โยเซ็ฟ อันโทน ฟ็อยชท์ไมเออร์ (เยอรมัน: Joseph Anton Feuchtmayer) ทำพิธีศีลจุ่มเมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1696 ที่เมืองลินทซ์ ประเทศออสเตรีย เสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 1770 ที่มิมเมินเฮาเซิน (Mimmenhausen) ใกล้เมืองซาเล็ม (Salem) ประเทศเยอรมนี โยเซ็ฟ อันโทน เป็นประติมากรและช่างปูนปั้น (stuccoist) แบบโรโกโกเวสโซบรุน (Wessobrunn) ที่มีชื่อเสียงของ[[ประเทศเยอรมนี และเป็นสมาชิกของตระกูลฟ็อยชท์ไมเออร์ที่มีชื่อเสืยงทางศิลปะแบบโรโกโก งานส่วนใหญ่ของโยเซ็ฟ อันโทน อยู่ทางใต้ของประเทศเยอรมนีและประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ประวัติ

โยเซ็ฟ อันโทน เริ่มศึกษาประติมากรรมที่เมืองเอาคส์บวร์ค (Augsburg) เมื่อปี ค.ศ. 1715 และเริ่มทำงานที่ไวน์การ์เทิน (Weingarten) เมื่อปี ค.ศ. 1718 หลังจากที่ฟรันทซ์ โยเซ็ฟ ฟ็อยชท์ไมเออร์ผู้เป็นพ่อเสียชีวิต โยเซ็ฟ อันโทน ก็กลับมารับกิจการที่โรงฝึกงานของพ่อที่มิมเมินเฮาเซินต่อ ขณะเดียวกันก็มีตำแหน่งเป็น "ช่างประจำวัด" ของมหาวิหารซาเล็ม โดยรับงานชิ้นแรกคือสร้างตู้ออร์แกน

งานของโยเซ็ฟ อันโทน ได้รับอิทธิพลจากดีเยโก ฟรันเชสโค คาร์โลเน (Diego Francesco Carlone) ช่างปูนปั้นชาวอิตาลีที่ทำงานด้วยกันที่ไวน์การ์เทิน สิ่งที่โยเซ็ฟ อันโทน เรียนจากดีเยโก ฟรันเชสโค คือวิธีปั้นรูปปูนปั้นให้เป็นเงา ซึ่งกลายมาเป็นลักษณะที่ทำให้ผลงานของเขามีชื่อเสียง

พร้อม ๆ กับที่ศิลปินสำคัญสมัยเดียวกันเช่น โยฮัน โยเซ็ฟ คริสทีอัน (Johann Joseph Christian) และฟรันทซ์ โยเซ็ฟ ชปีเกิล (Franz Joseph Spiegler) โยเซ็ฟ อันโทน ส่วนใหญ่ก็จะทำงานกับสำนักสงฆ์หรืออารามแบบบารอกแถว "ถนนบารอก" ในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค งานที่มีเด่นที่สุดก็คืองานปูนปั้น แท่นบูชาเซนต์เบอร์นาร์ด ("Bernhardsaltar") ที่อือเบอร์ลิงเงิน (Überlingen) ที่เรียกกันว่า "ปากอาบน้ำผึ้ง" ("Honigschlecker" หรือ ภาษาอังกฤษ: "honey eater") ซึ่งเป็นคำที่กล่าวถึงนักบุญเบอร์นาร์ดผู้มีพรสวรรค์ในการเทศนา[1]

ปัจจุบันนี้โรงฝึกงานและบ้านของโยเซ็ฟ อันโทน เป็นพิพิธภัณฑ์ที่อุทิศให้แก่ชีวิตและงานของเขา

ประติมากรรม

  • บ็อยโรน (Beuron) — สำนักสงฆ์เบ็นเนดิกทีนแห่งเซนต์มาร์ตินและเซนต์มารีอา (Benedictine Abbey of St. Martin and St. Maria) - แท่นบูชาเอก
  • แมร์สบวร์ค (Meersburg) — ชาเปลของปราสาท (Chapel in the Neues Schloss) - ปูนปั้น
  • ป่าดำ (Schwarzwald) — วัดเซนต์ปีเตอร์ที่ป่าดำ (St. Peter im Schwarzwald) - รูปปั้นบนเสา และรูปสาวกที่แท่นบูชาเอก
  • ซาเล็ม (Salem, Bodensee) — มหาวิหารซาเล็ม - ตู้ออร์แกนและตู้สารภาพบาปสี่ตู้
  • อือเบอร์ลิงเงิน (Überlingen) — อารามซิสเตอร์เชียนเบียร์เนา (Cistercian Priory of Birnau) - กรอบหน้าต่าง, "Maria Immaculata", ปูนปั้น, แท่นบูชา, รูปปั้นที่แท่นบูชา, ธรรมมาสน์, "ทางสู่กางเขน" (stations of the cross)
  • อือเบอร์ลิงเงิน (Überlingen) — วัดฟรานซิสกัน (Franziskanerkirche) - แท่นบูชาเอก
  • ไวน์การ์เทิน (Weingarten) — สำนักสงฆ์เบ็นเนดิกทีนแห่งเซนต์มาร์ตินแห่งตูร์และเซนต์ออสวอลด์ (Benedictine Monastery of St. Martin of Tours and St. Oswald) - ที่นั่งสำหรับนักร้องสวด (choir stalls)
  • บาทววทซ์นัค (Bad Wurznach) — วัดเซนต์เวเรนา (Church of St. Verena) - รูปปั้นบนแท่นบูชาเอก
  • ล็อยท์เคียร์ชอิมอัลก็อย (Leutkirch im Allgäu) — วัดเซนต์มารีอา ฮิมเมิลฟาร์ท (Church of Mariä Himmelfahrt ) – แท่นบูชาเอก

อ้างอิง

  1. Germany: A Phaidon Cultural Guide. Oxford: Phaidon, 1985. p. 710. ISBN 0-7148-2354-6.

ข้อมูลเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลอื่น

สมุดภาพ