ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทือกเขาตะนาวศรี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ginphuaktidfun (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ลิงก์แก้ความกำกวม
Ginphuaktidfun (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 51: บรรทัด 51:
*[http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~ppasuk/kckp/flight.htm Khun Phaen’s flight with Wanthong - Phra Hill] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20090514051318/http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~ppasuk/kckp/flight.htm |date=2009-05-14 }}
*[http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~ppasuk/kckp/flight.htm Khun Phaen’s flight with Wanthong - Phra Hill] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20090514051318/http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~ppasuk/kckp/flight.htm |date=2009-05-14 }}
*[http://books.google.co.uk/books?id=p42GnZ5nLHYC&printsec=frontcover&source=gbs_ge_summary_r&cad=0#v=onepage&q&f=false Google Books, ''The Physical Geography of Southeast Asia'']
*[http://books.google.co.uk/books?id=p42GnZ5nLHYC&printsec=frontcover&source=gbs_ge_summary_r&cad=0#v=onepage&q&f=false Google Books, ''The Physical Geography of Southeast Asia'']
{{coord|12|00|00|N|99|30|00|E|region:TH-47_type:mountain_source:dewiki|display=title}}
{{ทิวเขาในประเทศไทย}}
{{ทิวเขาในประเทศไทย}}
[[หมวดหมู่:เทือกเขาในประเทศพม่า|ตะนาวศรี]]
[[หมวดหมู่:เทือกเขาในประเทศพม่า|ตะนาวศรี]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:15, 7 มีนาคม 2565

ทิวเขาตะนาวศรี
Tenasserim Hills
တနင်္သာရီ တောင်တန်း
Banjaran Tanah Seri
จุดสูงสุด
ยอดMount Tahan (มาเลเซีย)
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
2,187 เมตร (7,175 ฟุต)
พิกัด4°38′00″N 102°14′00″E / 4.63333°N 102.23333°E / 4.63333; 102.23333พิกัดภูมิศาสตร์: 4°38′00″N 102°14′00″E / 4.63333°N 102.23333°E / 4.63333; 102.23333
ข้อมูลเชิงขนาด
ยาว1,670 กม. (1,038 ไมล์) N/S
กว้าง130 กม. (81 ไมล์) E/W
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ขอบเขตของเทือกเขาตะนาวศรีและเขตย่อย
ประเทศพม่า, ไทย และ มาเลเซีย
เทือกเขาระบบอินโดมาลายา
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
อายุหินยุคเพอร์เมียน และ ยุคไทรแอสซิก
ประเภทหินหินแกรนิต และ หินปูน
เทือกเขาตะนาวศรีในอำเภอกะปง จังหวัดพังงา

เทือกเขาตะนาวศรี (พม่า: တနင်္သာရီ တောင်တန်း; อังกฤษ: Tenasserim Hills, Range) เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ของเทือกเขาซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศพม่ากับประเทศไทย และลากยาวผ่านคอคอดกระลงไปจนถึงคาบสมุทรมลายู ยอดเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขาตะนาวศรี ชาวพม่าเรียกว่า "บีล็อกตอง" (Bilauktaung)

ศัพทมูลวิทยา

แนวเทือกเขานี้ได้ชื่อตามเขตตะนาวศรีในพม่า ชื่อนี้อาจเพี้ยนมาจากภาษามลายูสำเนียงไทรบุรี คือคำว่า ตานะฮ์เซอรี (มลายู: Tanah Sari; Tanah Seri) ตานะฮ์ มีความหมายว่า "แผ่นดิน" กับ เซอรี มาจากคำว่า ซีเระฮ์ แปลว่า "พลูหรือใบพลู" รวมกันจึงมีความหมายว่า "แผ่นดินที่ปลูกพลู"[1]

ภูมิศาสตร์

ทางใต้ของเส้นขนานที่ 16 เทือกเขาฉานได้แยกออกเป็นแนวเทือกเขาสูงชั้นขนาบข้างแคบ ๆ ซึ่งทอดลงไปทางใต้ตามคอคอดกระ แนวเทือกเขาที่อยู่ทางตะวันตกสุดนั้นถูกตัดจากชายฝั่งตะนาวศรีโดยรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ส่วนทางตะวันออกของเทือกเขาตะนาวศรีนั้นเป็นหุบเขาสาละวินและคเยง[ต้องการอ้างอิง]

ไปทางตะวันออก ด้านประเทศไทย เทือกเขานี้มีแม่น้ำแควใหญ่และแควน้อยไหลตัดผ่าน ในบริเวณนี้ มีลักษณะเป็นแนวลาดเขาเล็ก ๆ สลับหุบเขาแคบ ๆ ซึ่งมักจะกว้างเพียงราว 2 กิโลเมตร และถัดออกไปทางตะวันออกอีกนั้นมีเพียงลาดเขาโดด ๆ อันเป็นจุดที่เทือกเขาตะนาวศรีสิ้นสุดลงในที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย

ระดับความสูงเฉลี่ยของเทือกเขาตะนาวศรีในฝั่งพม่าจะสูงกว่าฝั่งไทย โดยมียอดเขาหลายยอดที่สูงถึง 1,000 เมตร ขณะที่ฝั่งไทย ยอดเขาสูงสุดสามารถวัดได้ราว 800 เมตร[2]

จุดสูงที่สุดในเทือกเขาตะนาวศรีนั้นอยู่ในเทือกเขาบีล็อกตอง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ซึ่งสูงที่สุดที่ 2,231 เมตร แนวเทือกเขาที่ลากต่อลงไปทางใต้ของเทือกเขาบีล็อกตองนั้นจะไปบรรจบกับปลายสุดด้านเหนือของคอคอดกระ งานวิจัยทางธรณีวิทยาล่าสุดกล่าวถึงส่วนใต้สุดของเทือกเขาตะนาวศรีในพื้นที่คอคอดว่า "เทือกเขาภูเก็ต", "เทือกเขานครศรีธรรมราช" และ "เทือกเขาสันกาลาคีรี" อย่างไรก็ตาม ชื่อเหล่านี้จะไม่พบปรากฏอยู่ในหลักฐานธรณีวิทยาสมัยเก่า

เทือกเขาตะนาวศรีเป็นส่วนหนึ่งของสันเขาแกรนิตยาวซึ่งมีอายุเก่ากว่าเทือกเขาหิมาลัย ที่ราบสูงมลายูอันเป็นจุดใต้สุดของระบบภูเขานี้และเทือกเขาตีตีวังซานั้นเป็นจุดเริ่มต้นของเทือกเขาโกตาบารูในฝั่งมาเลเซีย[3]

เทือกเขาตะนาวศรีปกคลุมไปด้วยป่าไม้เป็นบริเวณกว้าง และเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์หลายชนิด ซึ่งรวมไปถึงช้างเอเชียและเสือโคร่ง[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง

  1. ประพนธ์ เรื่องณรงค์. รศ. จดหมายจากครูยูโซะ เล่าเรื่องภาษามลายูในภาษาไทย. กรุงเทพฯ:สถาพรบุ๊คส์. 2556, หน้า 71
  2. The Physical Geography of Southeast Asia, Avijit Gupta, Oxford University Press, 2005. ISBN 9780199248025
  3. Wolf Donner, The Five Faces of Thailand. Institute of Asian Affairs, Hamburg 1978 - ISBN 0-7022-1665-8

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น