ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุรัตน์ สุขะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8
ZeroSixTwo (คุย | ส่วนร่วม)
 
บรรทัด 110: บรรทัด 110:
[[หมวดหมู่:ผู้เล่นในเอลีก]]
[[หมวดหมู่:ผู้เล่นในเอลีก]]
[[หมวดหมู่:ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลเมลเบิร์นวิกตอรี]]
[[หมวดหมู่:ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลเมลเบิร์นวิกตอรี]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดสกลนคร]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากอำเภอวานรนิวาส]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา]]
[[หมวดหมู่:ผู้เล่นในไทยลีก]]
[[หมวดหมู่:ผู้เล่นในไทยลีก]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 22:39, 28 กุมภาพันธ์ 2565

สุรัตน์ สุขะ
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม สุรัตน์ สุขะ
วันเกิด 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 (41 ปี)
สถานที่เกิด จังหวัดสกลนคร ประเทศไทย
ส่วนสูง 1.76 m (5 ft 9 12 in)
ตำแหน่ง กองหลัง สวีปเปอร์ กองกลาง
สโมสรเยาวชน
2541-2543 โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2544-2552 ชลบุรี เอฟซี 167 (5)
2552-2554 เมลเบิร์นวิกตอรี 36 (0)
2554-2559 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 56 (0)
2560 อุบล ยูไนเต็ด 13 (0)
2561-2562 ศรีสะเกษ 24 (0)
ทีมชาติ
2551-2556 ไทย 24 (0)
* นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

สุรัตน์ สุขะ (เกิด 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2525) เป็นอดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย โดยเขาเล่นให้กับสโมสรฟุตบอลศรีสะเกษ เป็นสโมสรสุดท้าย สุรัตน์สามารถเล่นได้หลายตำแหน่งทั้งกองกลางและกองหลัง บางครั้งยังเล่นเป็น สวีปเปอร์ สุรัตน์ เป็นผู้เล่นชาวไทยคนแรกที่ได้เล่นในเอลีกของประเทศออสเตรเลีย สุรัตน์มีพี่ชายฝาแฝดคือ สุรีย์ สุขะ

ประวัติ[แก้]

สุรัตน์ สุขะ มีชื่อเล่นว่า ปาน เกิดเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2525 ที่อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร เป็นบุตรของ นายบัญชาและนางไพรี สุขะ เป็นน้องชายฝาแฝดของสุรีย์ สุขะ จบการศึกษาระดับชั้น ม.6จากโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา จังหวัดชลบุรี ในรุ่นเดียวกับสุรีย์ สุขะและสินทวีชัย หทัยรัตนกุล ปัจจุบันสุรัตน์ สมรสกับสุกัญญา สุขะ ทั้งคู่มีลูกสาว 1 คนคือ นันทรัตน์ สุขะ

ระดับสโมสร[แก้]

สกลนครเอฟซี[แก้]

ชลบุรีเอฟซี[แก้]

หลังจากช่วยสถาบันได้แชมป์ฟุตบอลนักเรียน รุ่นอายุ 18 ปี ประเภท ก.แล้ว สุรัตน์ ได้กลายเป็นหนึ่งในสมาชิกของทีมชลบุรีเอฟซี โดยลงเล่นทั้งตำแหน่งกองหลังและกองกลางตัวรับ และช่วยให้ต้นสังกัดคว้าแชมป์ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกได้เป็นครั้งแรกในปี 2007 ก่อนจะได้ตำแหน่งรองแชมป์ในฤดูกาลต่อมา

เมลเบิร์นวิกตอรี[แก้]

ฤดูกาล 2009 สุรัตน์โชว์ฟอร์มได้อย่างยอดเยี่ยมต่อเนื่องทั้งในไทยพรีเมียร์ลีก และเอเอฟซีคัพ ทำให้เมลเบิร์นวิกตอรีจากเอ-ลีกซื้อตัวไปร่วมทีมด้วยค่าตัว 1 ล้าน 5 แสนบาท โดยสุรัตน์ได้บินไปร่วมทีมใหม่หลังจบเลกแรกของไทยพรีเมียร์ลีก 2009 ซึ่งตรงกับช่วงเปิดฤดูกาลใหม่ของเอ-ลีก ออสเตรเลีย[1][2] โดยสุรัตน์ เป็นนักฟุตบอลชาวไทยคนแรกที่ได้ลงเล่นในเกมเอ-ลีก ออสเตรเลีย โดยเขาลงสนามให้เมลเบิร์นวิกตอรี่ เป็นครั้งแรกในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2552 โดยเป็นการเปิดบ้านเสมอกับบริสเบนโรอาร์ 3-3 ที่สนามอิติฮัด สเตเดี้ยม ในเกมเอ-ลีก นัดที่ 2 ของฤดูกาล ซึ่งสุรัตน์ถูกเปลี่ยนตัวลงมาในนาทีที่ 79 แทนอีวาน เบอร์เกอร์ กองหลังชาวออสเตรเลียของทีม และสร้างความประทับใจให้แฟนบอลอย่างมาก


บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด[แก้]

สุรัต ย้ายสังกัดมาเล่นให้กับสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ในไทยพรีเมียร์ลีก ในช่วงปิดครึ่งฤดูกาล 2554 ด้วยค่าตัว 2.1 ล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี โดยที่สุรัตน์จะได้รับค่าเหนื่อยทั้งสิ้น 3 แสนบาทต่อเดือน เท่ากับได้รับเมื่อตอนอยู่ที่เมลเบิร์น วิกตอรี่ ภายหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงภายในของสโมสรเมลเบิร์น วิกตอรี ทำให้สุรัตน์ไม่มั่นใจในอนาคตของตนเอง


ระดับทีมชาติ[แก้]

สุรัตน์ ได้เล่นให้ทีมชาติไทยชุดใหญ่เป็นครั้งแรกภายใต้การคุมทีมของ ปีเตอร์ รีด ในรายการ ทีแอนด์ที คัพ 2008 (อกรีแบงค์ คัพเดิม) ที่ประเทศเวียดนาม ในเกมส์ที่ไทยชนะเกาหลีเหนือ 1-0 โดยลงสนามเป็นผู้เล่นตัวจริงในตำแหน่งกองกลาง และแมตช์ดังกล่าวถือเป็นแมตช์ที่ทีมชาติไทยมีพี่น้องฝาแฝดลงสนามพร้อมกันเป็นผู้เล่น 11 คนแรก เพราะสุรีย์ สุขะพี่ชายฝาแฝดของสุรัตน์ ก็ลงเล่นในตำแหน่งกองหลังด้วยเช่นกัน

หลังคว้าแชมป์ทีแอนด์ที คัพได้สำเร็จ สุรัตน์ ก็มีชื่อเป็นหนึ่งในทีมชาติไทยชุดเอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2008หรือไทเกอร์ คัพเดิม และเป็นกำลังสำคัญพาทีมชาติไทยเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศรายการนี้ได้สำเร็จ

สถิติ[แก้]

สโมสร[แก้]

ระดับสโมสร เกมลีก ฟุตบอลถ้วย ลีกคัพระดับทวีป รวม
ฤดูกาลสโมสรลีก ลงเล่นประตูลงเล่นประตู ลงเล่นประตู ลงเล่นประตู ลงเล่นประตู
ไทย ลีกQueen's Cup League Cup Asia รวม
2549 ชลบุรีเอฟซี ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 16 2 ? ? ? ?
2550 24 2 ? ? ? ?
2551 22 3 ? ? ? ?
2552 12 0 5 0 17 0
Australia ลีกCup League Cup Oceania/Asia รวม
2552–53 เมลเบิร์นวิกตอรี เอ-ลีก 18 0 0 0 0 0 1 0 19 0
2553–54 16 0 0 0 0 0 0 0 15 0
รวม ไทย 74 7 0 0 0 0 ? ? ? ?
Australia 34 0 0 0 0 0 1 0 35 0
สรุปรวม 108 7 ? ? ? ? ? ? ? ?

ทีมชาติ[แก้]

ผลงาน[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]