ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การประท้วงในประเทศพม่า พ.ศ. 2564–2565"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ice 4402 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
Ice 4402 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 62: บรรทัด 62:
| กำลัง1 =
| กำลัง1 =
| กำลัง2 =
| กำลัง2 =
| fatalities = เสียชีวิต {{nowrap|1,484 (ผู้ประท้วง)<ref name="Recentupdate">{{cite news |title=AAPP 2021 Coup Daily Briefings |url=https://aappb.org/?cat=109|access-date=25 April 2021|work=AAPP |date=26 April 2021}}</ref>}}<br>ตำรวจเสียชีวิต 14 นาย<ref>{{cite web|url=https://www.reuters.com/article/us-myanmar-politics/myanmar-protester-dies-after-10-days-on-life-support-pressure-on-army-grows-idUSKBN2AJ02E?il=0|title=Myanmar protester dies after 10 days on life support; pressure grows on army|work=[[Reuters]]|date=19 February 2021|url-status=live}}</ref><ref>{{cite web|url=https://www.bbc.com/news/world-asia-56137025|title=Myanmar coup: At least two killed as police disperse protesters|work=[[BBC]]|date=20 February 2021|url-status=live}}</ref>
| fatalities = เสียชีวิต {{nowrap|1,488 (ผู้ประท้วง)<ref name="Recentupdate">{{cite news |title=AAPP 2021 Coup Daily Briefings |url=https://aappb.org/?cat=109|access-date=25 April 2021|work=AAPP |date=26 April 2021}}</ref>}}<br>ตำรวจเสียชีวิต 14 นาย<ref>{{cite web|url=https://www.reuters.com/article/us-myanmar-politics/myanmar-protester-dies-after-10-days-on-life-support-pressure-on-army-grows-idUSKBN2AJ02E?il=0|title=Myanmar protester dies after 10 days on life support; pressure grows on army|work=[[Reuters]]|date=19 February 2021|url-status=live}}</ref><ref>{{cite web|url=https://www.bbc.com/news/world-asia-56137025|title=Myanmar coup: At least two killed as police disperse protesters|work=[[BBC]]|date=20 February 2021|url-status=live}}</ref>
ทหารพม่าเสียชีวิตกว่า 100 นาย บาดเจ็บ 2 นาย
ทหารพม่าเสียชีวิตกว่า 100 นาย บาดเจ็บ 2 นาย
|detentions=11,638<ref>[https://aappb.org/?cat=109] </ref>
|detentions=11,651<ref>[https://aappb.org/?cat=109] </ref>
| หมายเหตุ =
| หมายเหตุ =
}}
}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:12, 20 มกราคม 2565

การประท้วงในประเทศพม่า พ.ศ. 2564
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งภายในพม่าและปัญหาทางการเมืองในประเทศพม่า
ตามเข็มนาฬิกาจากบน:
  • ผู้ประท้วงพันกว่าคนร่วมเดินขบวนต่อต้านทหารที่ย่างกุ้ง
  • ผู้ประท้วงชูสามนิ้ว
  • ผู้ประท้วงในยานพาหนะชูสโลแกนต่อต้านทหาร
  • กลุ่มผู้ประท้วงสร้างโซ่มนุษย์ในย่าน Kamayut ย่างกุ้ง
  • กลุ่มผู้ประท้วงประณามมินอ่องหล่าย และสะบัดธงพรรค NLD
วันที่1 กุมภาพันธ์ 2564 - ปัจจุบัน
สถานที่ประเทศพม่า
สาเหตุ

  • รัฐประหาร
  • เผด็จการทหารอำนาจนิยม
  • การละเมิดสิทธิมนุษยชน
สถานะยังดำเนินอยู่
คู่ขัดแย้ง

รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ(NUG)[3]

ผู้ประท้วง:

  • กลุ่มผู้ใช้แรงงาน
  • กลุ่มนักเรียนนักศึกษา
  • ประชาชนชาวพม่า
  • ทหาร/ตำรวจ/ข้าราชการที่แปรพักตร์
สนับสนุนโดย

ผู้นำ
ดู่หว่า ละชี ละ
ความเสียหาย
เสียชีวิตเสียชีวิต 1,488 (ผู้ประท้วง)[4]
ตำรวจเสียชีวิต 14 นาย[5][6] ทหารพม่าเสียชีวิตกว่า 100 นาย บาดเจ็บ 2 นาย
ถูกจำคุก11,651[7]

การประท้วงในประเทศพม่า พ.ศ. 2564 รู้จักกันในประเทศว่า การปฏิวัติฤดูใบไม้ผลิ (พม่า: နွေဦးတော်လှန်ရေး)[8][9] เป็นความพยายามขัดขืนของพลเมืองในประเทศพม่าต่อรัฐประหารในประเทศพม่า พ.ศ. 2564 นำโดย พลเอกอาวุโส มี่นอองไลง์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของพม่า ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564[10] โดยจนถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ มีบุคคลอย่างน้อย 452 คนถูกกักขังเนื่องจากรัฐประหาร[11] ผู้ประท้วงใช้วิธีการประท้วงแบบสันติวิธีและปราศจากความรุนแรง[12] ซึ่งได้แก่การดื้อแพ่ง การนัดหยุดงาน การรณรงค์คว่ำบาตรกองทัพ ขบวนการตีหม้อ การรณรงค์ริบบิ้นแดง การประท้วงสาธารณะ และการรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการโดยผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง

สัญลักษณ์ในการประท้วง ประกอบด้วยสีแดงซึ่งเป็นสีของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD),[13] เพลง "กาบามาเจบู" (ကမ္ဘာမကျေဘူး) ซึ่งได้รับความนิยมครั้งแรกในการก่อการกำเริบ 8888 เป็นเพลงประท้วง[14][15][16] สัญลักษณ์สามนิ้วยังมีการใช้อย่างกว้างขวาง[17] ส่วนชาวเน็ตนิยมประชาธิปไตยบางส่วนเข้าร่วมพันธมิตรชานม ซึ่งเป็นขบวนการความเป็นปึกแผ่นประชาธิปไตยออนไลน์ในทวีปเอเชีย[18]

ฝ่ายรัฐบาลทหารมีมาตรการตอบโต้หลายวิธี รวมทั้งการสั่งปิดอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคม การปิดสื่อ การจับกุมและลงโทษอาญาต่อผู้ประท้วง การเผยแพร่สารสนเทศเท็จ การทาบทามทางการเมืองต่อพรรคการเมืองให้เข้าร่วมสภาบริหารแห่งรัฐ (สภาชั่วคราว) การส่งผู้ประท้วงและผู้ปลุกระดมฝั่งนิยมทหาร และการใช้กำลังรุนแรงเพื่อปราบปรามการประท้วง ในปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวจำนวนมาก ไม่เว่นแม้กระทั่ง สตรี เด็ก และเยาวชน ที่ต่างถูกสังหารในเหตุการณ์ครั้งนี้ อาจจะทวีคูณขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ลำดับเหตุการณ์

กุมภาพันธ์

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ มี่นอองไลง์ ได้ส่งจดหมายถึงรัฐบาลไทย ซึ่งนำโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อให้สนับสนุนการรัฐประหารในพม่า แต่พลเอกประยุทธ์มิได้ตอบจดหมายดังกล่าว เพียงแต่กล่าวว่าเพื่อรักษามิตรภาพอันดีต่อกัน[19]

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ คณะรัฐประหารพม่าเริ่มมีการฆ่าผู้เห็นต่างทางการเมืองในเมืองทวาย มีผู้เสียชีวิตจากการถูกยิง 3 ศพ ในขณะเดียวกันหลายเมืองใหญ่ในเมียนมาเต็มไปด้วยผู้ประท้วงต่อต้านรัฐประหาร ขานรับปฏิกิริยาการแสดงอารยะขัดขืนของจอ โม ทุน ทูตเมียนมาประจำสหประชาชาติ ออกมาชู 3 นิ้ว ประณามการยึดอำนาจ "รัฐประหาร" กลางที่ประชุมสหประชาชาติจนถูกปลด และโดนยัดเยียดมีพฤติกรรมทรยศชาติจากข้ออ้างของฝ่ายทหาร[20]

มีนาคม

วันที่ 4 มีนาคม มีการปราบจลาจลขึ้นที่เมืองมัณฑะเลย์ ทำให้ น.ส.มะแจซิน นึกศึกษาชาวพม่าเชื้อสายจีนวัย 19 ปี ถูกกระสุนปืนของตำรวจยิงที่ศีรษะเสียชีวิต [21]ศพของเธอถูกทหารและตำรวจพม่าขุดเพื่อชันสูตร 2 วันต่อมา โดยแถลงว่าเธอไม่ได้ถูกกระสุนปืน ทำให้เธอถูกยกย่องให้เป็น"นางฟ้าประชาธิปไตย"ในหมู่กลุ่มผู้ประท้วง[22]

วันที่ 5 มีนาคม รัฐบาลสหรัฐได้ทำการอายัดบัญชีกองทุนเมียนมาจำนวนกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 30,000 ล้านบาท ที่ถูกเก็บไว้ในธนาคารกลางสหรัฐฯ ในนครนิวยอร์ก (New York Fed)[23]

วันที่ 20 มีนาคม ทางกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง(KNU)ได้กล่าวว่า ทางทหารไทยได้มีการแอบส่งเสบียงให้แก่กองทัพพม่า ซึ่งทางกองทัพภาคที่ 3 ของไทยได้ออกมาปฏิเสธ ในระหว่างที่เลขาธิการแห่งสหประชาชาติและนานาชาติได้ร่วมกันประณามความรุนแรงในพม่า[24]

วันที่ 24 มีนาคม ประชาชนพม่าได้ทำการประท้วงเงียบต่อต้านทหารพม่าอยู่ที่บ้าน[25]

วันที่ 25 มีนาคม สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงมีปฏิบัติการทางทหารต่อทหารพม่า สังกัดกองพันเคลื่อนที่เร็ว ที่ 341 ฐานตรงข้ามบ้านแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่เคยเข้ามารับข้าวสารจากไทยที่บ้านแม่สามแลบ โดยกลุ่มกะเหรี่ยง KNU ได้ซุ่มโจมตีทหารพม่า ทำให้ทหารพม่าเสียชีวิตไป 3 นาย และบาดเจ็บอีก 2 นาย

วันที่ 27 มีนาคม กองทัพพม่าได้สังหารประชาชนกว่าร้อยคนในวันกองทัพ[26] โดยมีรัสเซีย, จีน, อินเดีย, ปากีสถาน, บังคลาเทศ, เวียดนาม, ลาว และไทยส่งทูตเข้าร่วม ขณะที่ทางกองทัพชาติพันธมิตรอย่าง สหรัฐ, สหราชอาณาจักร, นิวซีแลนด์, แคนาดา, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ และประเทศในสหภาพยุโรปได้แถลงการณ์ประณามการกระทำของทหารและตำรวจพม่า[27]

กองพลน้อยที่ 5 ของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง ทำการถล่มฐานที่มั่นของทหารพม่า สังกัดกองพันทหารราบที่ 73 (ฐานเซหมื่อท่า) เลยแมนือท่าไปประมาณ 2 กม. ตรงข้ามชายแดนไทย-เมียนมา อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ยึดได้อาวุธ กระสุน อุปกรณ์สื่อสาร และยุทธภัณฑ์จำนวนมาก[28] คืนวันเดียวกัน เวลา 20.00 น. กองทัพอากาศพม่าได้เข้าโจมตีกองพลน้อยที่ 5 ของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง ที่บ้านเดปู่โน๊ะ เขต อ.มูตรอ จ.ผาปูน รัฐกะเหรี่ยง ซึ่งอยู่ตรงข้ามพื้นที่บ้านแม่สามแลบ ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ทำให้มีราษฎรเสียชีวิตจากการโจมตีทางอากาศ จำนวน 2 คน และได้รับบาดเจ็บไม่ต่ำกว่า 20 คน[29] ทางกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติรายงานว่า มีเด็กถูกกระสุนปืนจริงจากทหารเสียชีวิตกว่า 10 คน และมีเด็กอายุ 1 ขวบ ถูกกระสุนยางยิงเข้าที่นัยน์ตาขวา ซึ่งในขณะเดียวกันสำนักข่าว Myanmar Now รายงานว่ากำลังทหารเปิดฉากยิงประชาชนที่เมืองเอามเยตาซัน ในมณฑลมัณฑะเลย์ เมื่อเวลาประมาณ 21.00 น.[30] โดยสหประชาชาติรายงานว่า การปราบปรามประชาชนวันกองทัพพม่า มีประชาชนเสียชีวิตอย่างน้อย 107 คน ขณะที่ข้อมูลที่รวบรวมโดย Myanmar Now ระบุว่า มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 114 คน[31]

วันที่ 28 มีนาคม กองทัพอากาศพม่าเข้าโจมตีหมู่บ้านในรัฐกะเหรี่ยงทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของพม่า ทำให้ชาวกะเหรี่ยงราว 3,000 คนหลบหนีเข้าฝั่งไทย[32] ในวันเดียวกันที่ประเทศไทยมีการจัดการจัดประกวด มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล 2020 และช่วงหนึ่งของการประกวด ทางพิธีกรได้เชิญ น.ส.ฮาน เลย์ มิสแกรนด์เมียนมา(Miss Grand MYANMAR) ได้ขึ้นเวทีกล่าวสุนทรพจน์ เพื่อแสดงจุดยืนตามคอนเซปต์ของเวที มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล ยุติสงครามและความรุนแรง(STOP THE WAR & VIOLENCE) หลังจากทหารพม่าได้ใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบปราบปรามประชาชนมาตลอด โดยที่เธอได้กล่าวสุนทรพจน์ออกมาทั้งน้ำตา[33]

เจ้าหน้าที่ระดับสูงของยูเอ็นของ 2 คนได้แก่ อลิซ ไวริมู เอ็นเดอริตู (Alice Wairimu Nderitu) ที่ปรึกษาพิเศษของสหประชาชาติด้านการป้องกันการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ และมิเชล บาเชเล สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ออกแถลงการณ์ร่วมเพื่อประณามรัฐบาลพม่าหลังจากที่มีการนองเลือดเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของพม่าจากน้ำมือของกองทัพที่มียอดผู้เสียชีวิตกว่า 400 ราย ณ วันที่แถลงการณ์ฉบับนี้ออกมา[34]

วันที่ 29 มีนาคม จำนวนผู้เสียชีวิตจากการถูกทหารพม่าอยู่ที่ 459 คน นับตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหารในพม่าเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ เป็นต้นมา อีกทั้งยังมีการบุกยิงประชาชนและเจ้าหน้าที่พยาบาลภายในโรงพยาบาล[35] ด้านผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติต่อกรณีเมียนมาออกมาระบุว่า กองทัพพม่ากำลังทำการสังหารหมู่ประชาชน และคว่ำบาตรการซื้อขายอาวุธกับพม่า[36] ในขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีโจ ไบเดินได้แถลงการณ์ประณามความรุนแรงและเหตุนองเลือดดังกล่าว[37] โดยเผยว่า "เป็นเรื่องที่ร้ายแรงอย่างยิ่ง และมีผู้คนจำนวนมากที่ถูกฆ่าตายโดยไม่จำเป็น และมีทั้งเด็กและผู้หญิงที่ต้องตายแบบไม่รู้เรื่องอะไรเลย"[38] เจ้าหน้าที่ฝั่งไทยได้มีการจับอาวุธสงครามที่เตรียมส่งไปยังท่าขี้เหล็ก[39][40] ในขณะเดียวกันทางทหารกองทัพภาคที่ 3 และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจังหวัดแม่ฮ่องสอนของไทยตามชายแดนได้มีการผลักดันผู้อพยพชาวกะเหรี่ยงหลายพันคนออกจากชายแดนไทยเพื่อให้กลับไปพม่า แต่ทางเจ้าหน้าที่ของไทยได้ออกมาปฏิเสธข่าวดังกล่าว และยังกีดกันสื่อไทยไม่ให้เข้าพื้นที่เพื่อทำข่าว[41]

วันที่ 30 มีนาคม สหรัฐอเมริกาได้ประกาศระงับการค้ากับพม่าอย่างเป็นทางการ[42] ในขณะเดียวกัน อเล็กซานเดอร์ โฟมิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมรัสเซียได้เดินทางเยือนพม่า ทำให้ถูกวิพากวิจารณ์ในเหล่านักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน โดยกล่าวหาว่า รัฐบาลรัสเซียกำลังให้การรับรองคณะรัฐประหารของพม่า ในขณะที่พลเอกอาวุโส มี่นอองไลง์ บอกว่ารัสเซียคือ “เพื่อนแท้”[43] ในวันเดียวกัน กลุ่มผู้ชุมนุมที่มัณฑะเลย์และย่างกุ้งได้ทำการเทขยะขวางถนน ซึ่งในขณะที่จำนวนผู้เสียชีวิตของประชาชนพม่าอยู่ที่ 510 ศพ สื่อสิงคโปร์ได้รายงานว่ากองทัพพม่าได้มีการเริ่มใช้อาวุธหนักกับประชาชน ทางกองทัพเบิกเครื่องยิงจรวดเพื่อใช้ยิงประชาชน โดยอ้างว่าใช้เพื่อปราบจลาจลและผู้ก่อการร้าย และมีการประกาศกฎอัยการศึก[44] [45]

กองทัพบุกโจมตีทางอากาศ ทิ้งระเบิดลงเหมืองทองของ สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) ใน อ.ญองเล่บีน จ.พะโค เป็นเหตุให้มีคนงานเสียชีวิต 11 ราย บาดเจ็บอีก 5 ราย มีรถสิบล้อไฟไหม้เสียหาย 4 คัน รถแบคโฮเสียหายอีก 3 คัน ผู้บัญชาการกองพลที่ 3 ของกลุ่มกะเหรี่ยง KNU เปิดเผยว่ากองทัพได้เปิดฉากโจมตีทางอากาศในวันที่ 30 มี.ค.เวลา 12.00 น. โดยทิ้งระเบิดเป็นเหตุให้มีคนงานที่กำลังร่อนทองในลำห้วยเสียชีวิตทันที 7 ราย โดยในบรรดาผู้บาดเจ็บ 5 รายเป็นสมาชิกของกองกำลัง KNU เพียง 1 ราย ที่เหลือเป็นคนงานซึ่งชาวบ้านในพื้นที่[46]

กระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประกาศอพยพเจ้าหน้าที่สถานทูตและครอบครัวบางส่วนออกจากพม่า[47] ในขณะที่สถานการณ์ในพม่าได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น จำนวนผู้เสียชีวิตในขณะนี้อยู่ที่ 520 คน[48]

ในระหว่างที่กองทัพพม่ามีการโจมตีหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยงอย่างต่อเนื่อง กองกำลังกะเหรี่ยง(KNU) ได้ยิงเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพพม่าตก 1 ลำ และจับทหารพม่า 8 นายไว้เป็นเชลย ส่วนชาวบ้านกะเหรี่ยงที่อพยพหนีข้ามแม่น้ำสาละวินไปฝั่ง อ.สบเมย และ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ของไทย แต่ถูกกองกำลังนเรศวรของไทยสกัดไว้แล้วผลักดันกลับไปยังฝั่งพม่าเมื่อวาน โดยทางการอ้างว่าชาวกะเหรี่ยงกลับโดยสมัครใจ และล่าสุดผู้สื่อข่าวรายงานว่า อาสาสมัครทหารพราน กองร้อยทหารพรานที่ 3606 ฐานปฏิบัติการบ้านแม่สามแลบ ได้เข้าช่วยเหลือผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์สู้รบในเมียนมา 7 คน ทั้งนี้ ได้มีรถพยาบาลของโรงพยาบาลอำเภอสบเมยเข้าไปรับส่งตัวเข้ารักษาพยาบาล[49] ในระหว่างที่ประชาชนบางส่วนในพม่าเริ่มเข้าฝึกกับกองกำลังกะเหรี่ยง(KNU)เพื่อจับอาวุธต่อสู้กับกองทัพพม่า

วันที่ 31 มีนาคม สำนักข่าว The Irrawaddy รายงานว่า กองทัพเอกราชคะฉิ่น (KIA) ซึ่งเป็นกองกำลังชนกลุ่มน้อยในรัฐกะฉิ่นโจมตีและยึดสถานีตำรวจแห่งหนึ่งในเมืองชเวกูของรัฐกะฉิ่นเมื่อช่วง 03.00 น.ของวันพุธที่ผ่านมา เพื่อตอบโต้ที่ตำรวจร่วมมือกับกองทัพปราบปรามผู้ชุมนุมด้วยความรุนแรง [50]

เมษายน

วันที่ 1 เมษายน ในเวลาเช้ามืด ห้างสรรพสินค้า 2 แห่ง ในย่างกุ้ง ซึ่งกองทัพพม่าเป็นเจ้าของ ถูกวางเพลิง[51] ในขณะที่เหล่าบรรดาอดีตผู้นำโลกได้เรียกร้องให้องค์การสหประชาชาติส่งกองกำลังเข้าพม่า ท่ามกลางการวีโต้ของจีนและรัสเซีย[52] ทางด้านกองกำลังรัฐฉาน(SSA)เตรียมพร้อมป้องกันการโจมตีจากกองทัพพม่า ส่วนทางด้านกองทัพอากาศไทยได้เตรียมแผนการอพยพคนไทยออกจากพม่าในขณะที่กองทัพอากาศพม่ายังโจมตีหมู่บ้านกะเหรี่ยงอย่างต่อเนื่อง[53]

วันที่ 2 เมษายน องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน Save the Children เปิดเผยว่ามีเด็กที่ถูกเจ้าหน้าที่กองทัพเมียนมาสังหารไปแล้วอย่างน้อย 43 ราย ซึ่งผู้เสียชีวิตที่อายุน้อยที่สุดมีอายุเพียง 6 ปี ขณะกลุ่มสังเกตการณ์ท้องถิ่นระบุยอดผู้เสียชีวิต รวมแล้วราว 540 ราย[54] สำนักข่าว The Irrawaddy รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวจากหลายแหล่งว่า ทางการจีนส่งกองทัพและรถบรรทุกลงพื้นที่ในเมืองเจี่ยเก้า เขตปกครองตนเองชาวไทสิบสองปันนา ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับเมืองหมู่เจ้ในรัฐฉานของเมียนมา โดยเดินทางมาถึงเมื่อไม่กี่วันก่อน[55][56]

วันที่ 3 เมษายน ชาวบ้านที่เมืองยิ้งมาบิ่น (Yinmabin) เริ่มจับอาวุธต่อสู้กับตำรวจและกองทัพพม่า โดยทางสำนักข่าว Irrawaddy รายงานว่า อาวุธที่ชาวบ้านใช้ป้องกันตัวเอง ล้วนแล้วแต่เป็นอาวุธที่ชาวบ้านประดิษฐ์กันเอง เช่น ปืนที่ตั้งอยู่กับที่ และปืนที่ใช้แรงดันจากแก๊สขับเคลื่อนลูกกระสุนลูกแก้วและลูกเหล็ก ท้ายที่สุดปืนแรงอัดแก๊สของชาวบ้านก็ทานอาวุธปืนสงครามและลูกระเบิดขว้างไม่ได้ Irrawaddy รายงานว่า มีชาวบ้านถูกจับกุม 6 คน ในจำนวนนี้มีผู้ได้รับบาดเจ็บด้วย[57]

วันที่ 4 เมษายน สมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมือง (AAPP) เปิดเผยว่า จำนวนผู้เสียชีวิตในพม่าล่าสุดอยู่ที่ 550 ราย ยังมีประชาชนที่ถูกควบคุมโดยทหารพม่าอีก 11 ราย ซึ่งถูกจับที่เมืองย่างกุ้ง หลังให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว CNN (ในการลงพื้นที่ตลาด Ten Miles) จึงถือว่าการกระทำของกองทัพพม่าเป็นการกระทำและการใช้กฎหมายต่อประชาชนอย่างโหดเหี้ยม โดยโฆษกของกองทัพพม่าแสดงความเสียใจต่อการจับกุมเมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา ที่มีผู้พบเห็นทหารพม่าควบคุมตัวประชาชนไปกักขังไว้[58]

วันที่ 5 เมษายน พล.อ.เจ้ายอดศึก ประธานสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน (Restoration Council of the Shan State - อาร์ซีเอสเอส) และผู้นำทหารสูงสุดของกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อ AFP ซึ่งตนชี้ว่า กระบวนการสันติภาพระหว่างชนกลุ่มน้อยและรัฐบาลพม่าต้อง "ชะงัก" หลังการรัฐประหารของกองทัพพม่า และการโจมตีทางอากาศต่อประชาชนในรัฐกะเหรี่ยง[59]

วันที่ 7 เมษายน สำนักข่าว Irrawaddy รายงานว่า ทหารพม่าโจมตีชาวบ้านที่อยู่เวรยามเฝ้าระวังที่แนวป้องกันเมืองกะเล การโจมตีเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 05.00 น. มีชาวบ้านถูกกระสุนปืนทหารเสียชีวิต 5 ศพ และได้รับบาดเจ็บอีกกว่า 20 คน ชาวบ้านที่เมืองกะเล บอกกับ Irrawaddy ว่า ทหารกว่า 10 คันรถบรรทุก เดินทางมาที่เมืองกะเลตั้งแต่เมื่อวันอังคารที่ 6 เมษายน ก่อนลงมือปราบปรามประชาชนเช้ามืดวันดังกล่าว ซึ่งอาวุธที่ชาวบ้านนำมาใช้ป้องกันตนเอง ส่วนใหญ่เป็นอาวุธปืนยาวล่าสัตว์ที่ใช้วิธีบรรจุดินปืนยิงทีละนัด ขณะเดียวกันชาวบ้านก็ช่วยกันสร้างแนวป้องกันกระสอบทรายปิดถนนทางเข้าเมืองและชุมชน ทางด้านสำนักข่าวรอยเตอร์ส อ้างรายงานข่าวจากสื่อออนไลน์พม่าอีกสำนัก คือ Mizzima รายงานข่าวการโจมตีแนวป้องกันของประชาชนที่เมืองกะเล เช้ามืดวันนี้เช่นกัน ทางสำนักข่าวรอยเตอร์ส อ้างรายงานจากสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองในพม่า ระบุว่า ประชาชนถูกทหาร ตำรวจพม่า สังหารนับตั้งแต่วันรัฐประหารจนถึงวันพุธ ที่ 7 เมษายน รวมทั้งสิ้น 581 ศพ[60]

เจ้าหน้าที่หน่วยข่าวความมั่นคงของไทย ได้รายงานเหตุการณ์การสู้รบในพื้นที่รัฐกะเหรี่ยง ตรงข้ามพื้นที่บ้านแม่สามแลบ และบ้านท่าตาฝั่ง โดยเมื่อเวลาประมาณ 17.15 น.ของวันที่ 6 เมษายน 2564 โดยทหารพม่าได้ใช้เครื่องบิน จำนวน 2 ลำ บินโจมตีทิ้งระเบิดฐานที่มั่นของทหารกะเหรี่ยง KNU บริเวณพื้นที่โต่เตพู ด้านทิศตะวันตกของบ้านดิปุโหน่ ที่ตั้งกองบัญชาการกองพลน้อยที่ 5 ของเคเอ็นยู จากนั้นในห้วงเวลาประมาณ 21.00 น. ทหารราบของพม่าได้ใช้ ค.120 ยิงโจมตีไปยังที่หมายเดิมอีก จำนวน 10 นัด ขณะนี้ยังไม่ทราบผลการโจมตี[61] ในขณะที่การสู้รบระหว่างทหารสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน/กองทัพรัฐฉาน (RCSS/SSA) กับทหารพรรคก้าวหน้ารัฐฉาน/กองทัพรัฐฉาน (SSPP/SSA) และแนวร่วมปลดปล่อยรัฐปะหล่อง/กองทัพแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง (PSLF/TNLA) ยังดำเนินไปอย่างดุเดือด ในพื้นเมืองน้ำตู้ แขวงจ๊อกแม รัฐฉานอยู่[62] รัฐบาลทหารพม่าได้ทำการบุกยึดสถานทูตประจำกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ[63]

วันที่ 8 เมษายน ทหารและตำรวจพม่าบุกจับ ไป่ ทาคน นักแสดงและนายแบบชื่อดังชาวพม่าคา คาบ้านพัก ซึ่งตนได้ออกมาคอลเอาต์ ต้านการก่อรัฐประหารของกองทัพพม่า โดยแสดงจุดยืนอยู่ข้างประชาธิปไตยอย่างชัดเจน ทั้งการเข้าร่วมชุมนุมกับประชาชน พี่สาวของตนได้โพสท์เฟสบุ๊คว่า ตนถูกจับเวลา 5.00 น.[64] ในขณะที่สื่อท้องถิ่นของเมียนมารายงานว่า ทางการจีนเริ่มมีบทบาทกับสถานการณ์ความขัดแย้งในเมียนมามากขึ้น หลังสถานทูตจีนในเมียนมาต่อสายตรงถึงคณะกรรมการผู้แทนสมัชชาแห่งสหภาพ (CRPH) องค์กรที่ดูเหมือนเป็นรัฐบาลเงาที่ยืนเคียงข้างประชาชนชาวเมียนมาต่อต้านอำนาจของกองทัพ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่รัฐประหาร เมื่อ 1 กุมภาพันธ์[65][66]

วันที่ 10 เมษายน เวลา 5.00 น. กลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธยะไข่ (AA), ตะออง (TNLA) และโก๊ะกั่น (MNDAA) โจมตีสถานีตำรวจ Naungmon ในเมืองล่าเสี้ยว ภาคเหนือรัฐฉาน ทำให้ตำรวจเสียชีวิต 14 นาย[67] ในขณะที่มีกองกำลังรักษาความปลอดภัยพม่าได้มีการรวบนักข่าวญี่ปุ่น ถูกนำตัวไปคุมขังไว้ที่เรือนจำอินเส่ง ในเมืองย่างกุ้ง ซึ่งมีผู้ถูกคุมขังทางการเมืองจำนวนมากถูกคุมขังอยู่จำนวนมาก

วันที่ 11 เมษายน กองกำลังความมั่นคงฆ่าผู้ประท้วงอีกมากกว่า 80 คน ที่พะโคเมื่อวันศุกร์ ยอดสังเวยความรุนแรงนับแต่รัฐประหารทะลุ 700 ศพแล้ว ชาวบ้านเผยทหารขนศพขึ้นรถบรรทุกทหาร[68] ทำให้ทางรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเรียกร้องคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ดำเนินการอย่างรวดเร็วในพม่า ในความพยายามกดดันให้ผ่านมติหนึ่งเพื่อกดดันคณะรัฐประหารคืนสู่ประชาธิปไตย[69]

วันที่ 12 เมษายน ทางการพม่าได้จับกุมแพทย์หญิงคนหนึ่ง เหตุเพราะไม่ยอมรักษาลูกชายตำรวจนายหนึ่ง โดยอ้างว่าทหารตำรวจได้สังหารหมู่ผู้ประท้วง จนนำไปสู่การจับกุมดังกล่าว[70]

วันที่ 13 เมษายน เว็บไซต์อิรวดีรายงานว่า ทหารพม่าปราบปรามผู้ชุมนุมต้านรัฐประหารด้วยความรุนแรง รวมทั้งเด็กวัย 7 ขวบด้วย ถูกทหารยิงที่เมืองทามู เขตสะกาย ติดชายแดนอินเดีย เมื่อเช้าวันจันทร์ที่ผ่านมา ขณะกำลังทหารเมียนมาพร้อมอาวุธหนักได้บุกโจมตีชุมชนแห่งหนึ่งในเมืองทามูเป็นเวลาหลายชั่วโมง เพื่อตอบโต้กองกำลังชาวบ้านที่ดักซุ่มโจมตีช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ทหารเสียชีวิตราว 18 ศพ[71] ในระหว่างที่มีการสู้รบระหว่างทหารพม่ากับกองทัพเอกราชคะฉิ่น (KIA) อย่างต่อเนื่อง กองทัพคะฉิ่นยังคงยึดฐาน “อลอบุม” ที่มั่นสำคัญเชิงกลยุทธ์ ซึ่งยึดจากทหารพม่า เมื่อเดือนที่แล้วใกล้ชายแดนจีน แม้จะมีการโจมตีอย่างรุนแรง โดยรัฐบาลทหารพม่าในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายเพื่อยึดคืนให้ได้ และได้มีการระดมสรรพกำลังภาคพื้นดิน และเครื่องบินขับไล่โจมตี แต่ถูกตอบโต้จากกองทัพเอกราชคะฉิ่น ทำให้ได้รับความสูญเสียอย่างหนัก ทั้งเจ็บและเสียชีวิต และมีรายงานข่าวว่า ผู้บังคับบัญชากองพันทหารราบเบาที่ 387 ของรัฐบาลทหารเสียชีวิต[72]

วันที่ 15 เมษายน อออนไลน์พม่า รายงานว่า กลุ่มติดอาวุธกองทัพพม่า Myanmar Now ใช้คำว่า gunman ส่วน Irrawaddy ใช้คำว่า junta forces บุกเข้าไปสังหารชาวมุสลิมที่มัสยิดสุเล่ (Sule) ในมณฑลมัณฑะเลย์ตอนช่วงเช้า มีผู้เสียชีวิตในมัสยิด 1 คน และได้รับบาดเจ็บ 3 คน Myanmar Now รายงานว่า หนึ่งในผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นคนพิการ เหตุเกิดในเดือนรอมฎอน เดือนถือศีลอดของชาวมุสลิม Myanmar Now รายงานว่า มีผู้ถูกจับกุม 5 คน โทษฐานความผิดนอนในมัสยิด ในจำนวนนี้ 2 คนเป็นเยาวชนอายุ 16 และ 11 ปี[73]

วันที่ 16 เมษายน เวลา 4.00 น. การปะทะระหว่างทหารพม่ากับกองกำลังคะฉิ่น กองกำลังคะฉิ่นได้ซุ่มโจมตีก่อนด้วยการใช้ทุ่นระเบิดจัดการกับขบวนรถทหารพม่า 16 คันบนเส้นทางที่มุ่งหน้าไปยังฐานทัพอลาวบัม ส่งผลให้รถบรรทุกบางคันระเบิดไฟลุกท่วม ทหารจากฝั่งของกองทัพพม่าเสียชีวิตรวมสะสมนับ 100 ศพ ซึ่งตัวเลขนี้ไม่มีการรายงานแน่ชัด คาดว่าอาจมีมากกว่านั้น ในการปะทะตลอดช่วงสัปดาห์ของวัน 'เทศกาลปีใหม่' ที่ผ่านมา หน่วยรบพิเศษจากกองพลทหารราบเบาที่ 320 ถูกส่งเข้าร่วมปฏิบัติการ ซึ่งพันเอก นาง บู โฆษก KIA กล่าวกับผู้สื่อข่าว Kachin Waves ถึงการเสียชีวิตของ '320' ว่า "มีการรายงานว่าทหารจากกองทัพเมียนมาเสียชีวิตจำนวนมาก ผมคิดว่าทั้งกองทัพตายเรียบ มีรอดมาแค่ 2-3 นายเท่านั้น"[74]

วันที่ 18 เมษายน พล.อ.บอจ่อแฮ รองผู้บัญชาการกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA) ซึ่งเป็นฝ่ายทหารของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU ) ได้ประกาศจะถอนรากถอนโคนเผด็จการทหารพม่าของมี่นอองไลง์ โดยให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์ความขัดแย้งในประเทศพม่า ทั้งกรณีที่มีประชาชนออกมาต่อต้านรัฐประหาร และการโจมตีกลุ่มชาติพันธุ์ที่ออกมาปกป้องประชาชนที่มีความเห็นแตกต่างจากทหารพม่าว่า"เผด็จการและการกดขี่ไม่ทำให้ใครไม่ว่าจะชนชาติใดสามารถที่จะมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์ พวกเขาจะกดขี่ใครก็ตามเพียงเพื่อที่จะรักษาอำนาจไว้และคิดแต่เพียงความมั่งคั่งของตนเองและพวกพ้อง เราชาวกะเหรี่ยงต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ เราจับอาวุธและต่อสู้กับเผด็จที่ใช้อาวุธเข้ามาคุกคามและข่มเหงประชาชน ในฐานะนักปฏิวัติพวกเรายินดีที่ได้เห็นขบวนการประชาชนที่ออกมาประท้วงอย่างมีพลังทั่วประเทศพม่า รวมทั้งนักเรียนและเยาวชน ในฝั่งของเรานั้นเราจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดเพื่อที่จะถอนรากถอนโคนเผด็จการและการกดขี่" โดยตนได้หวังว่า กลุ่มชาติพันธุ์จะร่วมกันต่อสู้กับกองทัพเผด็จการทหารพม่า[75]

ในช่วงค่ำได้ทหารพม่าถล่มกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ ซึ่งกระสุนปืนครกได้ถูกยิงตกไปยังพื้นที่บ้านปางควาย ซึ่งอยู่ตรงข้ามบ้านพญาไพร ต.เทอดไทย อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ของไทย[76]

วันที่ 20 เมษายน ทหารพม่าฐานปฏิบัติการด๊ากวินฝั่งตรงข้ามบ้านท่าตาฝั่งต.แม่คง อ.แม่สะเรียง ยิงเรือหางยาวของฝ่ายไทยแล้ว 2 ลำอ้างไม่ยอมให้ตรวจ ชาวบ้านกลัวตาย ประกาศหยุดเดินเรือ ฝ่ายความมั่นคงไทยหาทางพูดคุยกับผู้บังคับบัญชาฝ่ายพม่า แต่ทหารพม่าอ้างว่า แค่ยิงขู่แต่พลาดไปโดนเรือดังกล่าว[77]

วันที่ 21 เมษายน กระทรวงการคลังสหรัฐอเมริกาได้ประกาศบอยคอตต์บริษัท Timber Enterprise และ Myanmar Pearl Enterprise ซึ่งเครือข่ายทหารพม่าเป็นเจ้าของ โดยประกาศอายัดทั้งหมดและห้ามคนอเมริกันเข้าไปยุ่งเกี่ยวและห้ามมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับ 2 บริษัทนี้[78]

สื่อออนไลน์เมียนมา 2 สำนัก Irrawaddy และ Myanmar Now รายงานว่า กองกำลังพม่ามาอย่างน้อย 200 คน ปฏิบัติการโจมตีหมู่บ้านแห่งหนึ่งในเมืองยิ่งมาบิ่น (Yinmabin) มณฑลสกาย ในช่วงค่ำวันอังคาร ปฏิบัติการเริ่มด้วยการส่งโดรนบินสอดแนมสำรวจพื้นที่ หลังจากนั้นจึงยิงเครื่องยิงจรวดชนิด RPG-7 เข้าใส่หมู่บ้านกะเปียง (Kapaing) ทางฝ่ายชาวบ้านมีเพียงอาวุธปืนลูกซองทำเอง ที่ต้องบรรจุดินปืนและกระสุนทุกครั้งที่ยิง และยิงได้ครั้งละนัด ตอบโต้กำลังทหาร ซึ่งรายงานความสูญเสียจากการโจมตียังไม่ชัดเจน Irrawaddy รายงานว่า มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 6 คน Myanmar Now รายงานอ้างข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ในพื้นที่ ระบุว่า มีชาวบ้านหลบหนีหาที่หลบภัยประมาณ 10,000 คน มีรายงานก่อนหน้านี้ว่า หลายเมืองในมณฑลสกาย ที่กะเล กะนิ ตะมุ ตะเซะ และยิ้งมาบิ่น ชาวบ้านใช้อาวุธเท่าที่มีตอบโต้ทหารพม่า[79]

สำนักข่าว The Moscow Times ของรัสเซียรายงานว่า รัฐบาลทหารเมียนมาได้นำเข้าอุปกรณ์เรดาร์มูลค่ากว่า 14.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากรัสเซียเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พร้อมเผยว่ารัสเซียให้การสนับสนุนกองทัพเมียนมาเต็มที่ภายหลังการทำรัฐประหาร นาย Sergei Shoigu รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของรัสเซียได้ทำข้อตกลงกับรัฐบาลทหารเมียนมาเมื่อเดือนมกราคมว่า จะจัดหาระบบขีปนาวุธ Pantsir-S1, โดรนตรวจการณ์ Orlan-10E และอุปกรณ์เรดาร์ชนิดอื่น ๆ ให้[80]

วันที่ 24 เมษายน มีการรวมตัวจัดกิจกรรมชุมนุมของกลุ่มชาวกะเหรี่ยงที่ อ.พญาตองซู เพื่อประท้วงต่อต้านการรัฐประหาร ระหว่างจัดกิจกรรมปรากฏว่ากองกำลังทหารพม่าได้ขับรถยนต์ชนกลุ่มผู้ประท้วงที่ขับขี่รถจักรยานยนต์จนได้รับบาดเจ็บ อีกทั้งยังควบคุมตัวกลุ่มผู้ชุมนุมขึ้นรถไปด้วย 6 คน

วันที่ 25 เมษายน ทหารพม่าปะทะกับกองกำลังไม่ทราบฝ่ายที่บริเวณค่ายทหาร พัน ร.32 ที่ตั้งอยู่กลางเมืองพญาตองซู ติดกับวัดตะมะเฮโว ประเทศเมียนมา ห่างจากชายแดนด่านเจดีย์สามองค์ หมู่ 9 ต.หนองลู อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ลึกเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร ผลจากการยิงปะทะกันช่วงกลางดึกที่ผ่านมา เป็นเหตุทำให้ทหารพม่า ที่อยู่ประจำป้อมรักษาการบริเวณทางเข้าค่ายทหารพม่า ประจำเมืองพญาตองซู เสียชีวิตคาป้อม 2 นาย โดยก่อนเกิดเหตุมีชาย 2 คนขับรถจักรยานยนต์ผ่านมาบริเวณถนนหน้าป้อมฯ จากนั้นได้ใช้ระเบิดมือไม่ทราบขนาดขว้างเข้าไปในป้อม เมื่อเสียงระเบิดดังขึ้น ทำให้ทหารพม่าที่อยู่ในค่ายใช้อาวุธปืนนานาชนิดระดมยิงต่อสู้ รวมทั้งใช้เครื่องยิงลูกระเบิด M79 ยิงใส่ จนเสียงดังไปทั่วทั้งเมืองพญาตองซู และยินมาถึงฝั่งไทย[81]

วันที่ 27 เมษายน ช่วงเวลาประมาณ 05.00 น. กองกำลังกะเหรี่ยง KNU ได้นำกำลังบุกเข้าตีฐานทัพพม่าซอแลท่า พัน.คร.341 ริมฝั่งน้ำสาละวิน ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามบ้านแม่สามแลบ ต.สบเมย อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ด้านทหารและฝ่ายความมั่นคงปิดกันพื้นที่ไม่ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าบริเวณบ้านแม่สามแลบริมฝั่งสาละวิน เนื่องจากกลัวว่าจะเกิดอันตรายจากการสู้รบ พร้อมทั้งได้ประสาน ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการดูแลประชาชนฝั่งไทย ในขณะที่มีกลุ่มผู้ประท้วงบางส่วนได้ฝึกอาวุธเข้ารับการฝึกอาวุธและยุทธวิธีการรบกับกองกำลังกะเหรี่ยง และตั้งกองกำลังป้องกันตนเอง(United Defense Force หรือ U.D.F.)ขึ้นเพื่อต่อสู้กับทหารพม่า[82]

วันที่ 28 เมษายน กองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง(KNU) ได้โจมตีฐานที่มั่นทหารรัฐบาลพม่าค่ายตอเลทะ ตรงข้าม บ้านแม่สามแลบ อ.สบเมย จ.ตาก ทำให้ทหารพม่าเสียชีวิต 25 นาย ฝ่ายกะเหรี่ยง KNU ได้เผาค่ายทหารพม่าทั้งหมด รวมทั้งถูกตัดกำลังจากฝ่ายกะเหรี่ยง KNU[83]

พฤษภาคม

วันที่ 1 พฤษภาคม ทหารพม่าได้ใช้เครื่องบินขับไล่ MIG-29 และเฮลิคอปเตอร์จู่โจมชนิด Mi-35 จำนวน 1 ฝูงบิน ทำการโจมตีกองกำลังกะเหรี่ยง KNU บริเวณตั้งแต่ฐานอิตูท่า รอบ ๆ ฐานด๊ากวิน ตรงข้ามบ้านท่าตาฝั่ง ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง และบริเวณด้านหลังฐานซอเลท่า ตรงข้ามบ้านแม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน[84] ในขณะที่ทางฝั่งไทยได้ส่งหนังสือเตือนทางทหารพม่าว่าระวังอย่าให้กระสุนตกลงบนฝั่งไทย[85]

วันที่ 2 พฤษภาคม กองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง(KNU) ได้ทุ่มกำลัง 5 กองร้อยยึดฐานด๊ากวินของทหารพม่า แต่ถูกต้านทานอย่างหนัก เนื่องจากฝ่ายทหารพม่าขาดเสบียงและกำลังบำรุง อีกทั้งยังขาดขวัญและกำลังใจ ทำให้กองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง(KNU)เข้ายึดได้สำเร็จ [86]

วันที่ 3 พฤษภาคม เฮลิคอปเตอร์ฝ่ายกองทัพพม่าถูกกองกำลังคะฉิ่น(KIA)ยิงตกใกล้กับเมืองโมเมาะ ทำให้ทหารกับนักบินรวม 4 นาย เสียชีวิตทั้งหมด [87]

วันที่ 7 พฤษภาคม กองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง(KNU) จำนวน 40 นาย ได้เข้ายึดฐาน ที่มั่นของทหารพม่า ชื่อฐานอูซุท่า ที่ตั้งอยู่ระหว่างฐานซอเลท่า หน้าหมู่บ้านแม่สามแลบ อ.สบเมย กับ ฐานด๊ากวิน ของพม่า ซึ่งอยู่ตรงข้าม บ้านท่าตาฝั่ง อ.แม่สะเรียงของไทย ซึ่งสามารถยึดลูกกระสุนปืนครกขนาด 60 มม.ได้จำนวนมาก[88] ในขณะที่วัยรุ่นชาวพม่าจำนวน 120 คน ซึ่งรอดชีวิตจากการถูกสังหารโดยทหารพม่าได้หนีเข้าป่าเพื่อทำการฝึกอาวุธ และตั้งกลุ่มในนาม"U.D.F."(United Defense Force) เพื่อจับอาวุธต่อสู้กับทหารพม่า[89]

วันที่ 14 พฤษภาคม กองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง(KNU)ยังคงรุกฐานด๊ากวินของทหารพม่าอย่างเหนียวแน่น  โดยใช้ยุทธวิธีหลอกล่อให้ทหารพม่ายิงอาวุธหนักเข้าใส่ ขณะที่พลซุ่มยิง(Sniper)ของกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงจะทำการยิงทหารพม่าที่เคลื่อนไหวออกจากที่กำบัง ทั้งนี้ในห้วงที่ผ่านมา ทหารพม่า ฐานด๊ากวิน ได้มีการใช้โดรนติดกล้องอินฟาเรด บินสังเกตการณ์รอบฐานที่มั่น และถูกพลซุ่มยิงของกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงยิงโดรนตกไปแล้ว 2 ลำ[90]

วันที่ 20 พฤษภาคม กองกำลังทหารพม่าสังกัดกองพันเคลื่อนที่เร็ว ที่ 341 ฐานด๊ากวิน ตรงข้ามบ้านท่าตาฝั่ง ตำบลแม่ยวม อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ยิงปืนครกขนาด 60 มม. ข้ามเข้าเขตแดนไทยจำนวน 3 นัด ซึ่งทหารพม่าอาจเข้าใจผิดว่าเป็นกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง(KNU) โดยไม่ทราบความเสียหายของฝั่งไทย ซึ่งทางหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 7 จังหวัดแม่ฮ่อนสอน ค่ายม่อนตะแลง ได้สั่งการให้กองร้อยอาวุธหนักนำเครื่องยิงอาวุธหนัก จำนวน 2 กระบอก เดินทางไปสนับสนุนทหารส่วนหน้าที่บ้านท่าตาฝั่งเพื่อเฝ้าระวัง[91]

วันที่ 24 พฤษภาคม กองกำลังติดอาวุธกะเหรี่ยงคะยา(KNA/KNPP) ได้สนธิกำลังกับกองกำลังกะเหรี่ยงอีกหลายกลุ่มเข้าถล่มทหารพม่า โดยบุกเข้าโจมตีสถานีจ่ายไฟฟ้า สถานีหมายเลข 2 อ.ดีมอโซว จ.ลอยก่อว์ รัฐคะยา ผลการโจมตีสามารถยึดสถานีไฟฟ้าของทหารพม่าได้สำเร็จ ส่งผลให้กระแสไฟฟ้า ในพื้นที่ อ.ดีมอว์โซว์ ไม่สามารถใช้การได้[92]

ฝ่ายความมั่นคงพม่าได้จับกุม แดนนี เฟนสเตอร์ อายุ 37 ปี นักข่าวชาวอเมริกัน[93]

มิถุนายน

วันที่ 3 มิถุนายน กองกำลังกะเหรี่ยงพุทธ(DKBA) ซึ่งนำโดย พันโทจอแต้ ได้ประกาศว่า จะไม่ยอมสงบศึกกับกองกำลังทหารพม่า หากไม่คืนอำนาจให้กับประชาชน หลังจากการปะทะกับทหารพม่า ที่บ้านผาลูโพ จ.เมียวดี รัฐกะเหรี่ยง ซึ่งอยู่บริเวณเมยโค้ง หรือเกาะมะนาวตรงข้ามบ้านแม่โกนเกน ต.มหาวัน อ.แม่สอด จังหวัดตาก[94]

วันที่ 11 มิถุนายน ทหารพม่าถูกถล่มโดยกลุ่มชาติพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ทำให้ทหารพม่าเสียชีวิตกว่า 60 นาย [95]

วันที่ 20 มิถุนายน องค์การสหประชาชาติได้มีการลงมติห้ามขายอาวุธให้กับรัฐบาลทหารพม่า ยกเว้นเบลารุสที่คัดค้าน ส่วนไทย จีน และรัสเซีย ที่งดออกความเห็น ขณะที่ทหารพม่าได้เผาหมู่บ้านของประชาชนเป็นจำนวนมาก และมีการทำลายกองลำเลียงเสบียงฝ่ายทหารพม่าของกองกำลังประชาชนและชาติพันธุ์เป็นระยะ[96]

วันที่ 22 กองกำลังติดอาวุธของประชาชน ซึ่งบรรดากองกำลังชาติพันธุ์ให้การสนับสนุน ได้ปะทะกับกองทัพทหารพม่าเป็นครั้งแรกในมัณฑะเลย์[97]

วันที่ 30 มินอ่องไลท์ได้ออกมาเตือนสื่อต่างชาติห้ามเรียกว่า"รัฐบาลเผด็จการทหาร" ท่ามกลางการถูกคว่ำบาตรและถูกประณามจากบรรดาประเทศทั่วโลก [98]

กรกฎาคม

วันที่ 3 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดมินอ่องไลท์ เหล่าผู้นำทหารพม่าได้เข้าอวยพรวันเกิด ในขณะที่กลุ่มผู้ประท้วงชาวพม่าในหลายเมืองได้ทำการเผาโลงมินอ่องไลท์เพื่อเป็นการสาปแช่ง[99]

สิงหาคม

วันที่ 6 ทางการสหรัฐได้มีการจับกุมชาวพม่า 2 คน โดยผู้ต้องหาให้สารภาพว่าร่วมมือกับนายหน้าค้าอาวุธในไทยเพื่อลอบสังหารนาย จอ โม ตุน เอกอัครราชทูตเมียนมาประจำสหประชาชาติ[100]

วันที่ 7 มีรายงานจากข้อมูลของทูตพิเศษสหประชาชาติ ว่า ชาวบ้านที่เมืองคานี เขตซาไกง์ หรือ สะกาย ภาคกลางของประเทศ พบศพในป่าอย่างน้อย 40 ราย ช่วงไม่กี่สัปดาห์มานี้ ลักษณะศพบ่งบอกว่าถูกทรมานก่อนตาย[101]

กันยายน

วันที่ 7 รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ หรือ NUG ถูกก่อตั้งอย่างเป็นทางการ ภายใต้การนำของ ดู่หว่า ละชิละ รักษาการประธานาธิบดี แห่งรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ และประกาศสงครามกับมินอ่องไลท์เต็มรูปแบบ[102]

วันที่ 8 กลุ่มประชาชนต่าง ๆ ได้มีการกักตุนเสบียงเป็นจำนวนมาก เพื่อสู้รบกับกองทัพพม่า ในขณะที่มีการสู้รบระหว่างกองทัพคะฉิ่นกับทหารพม่าอย่างต่อเนื่อง[103]

วันที่ 25 กองทัพพม่าได้บุกโจมตีประชาชนอย่างหนัก โดยการบุกหมู่บ้านในเขตรัฐชิน ทำให้ประชาชนพม่าหนีเข้าอินเดียเป็นจำนวนมาก เนื่องจากบ้านเรือนเสียหายกว่า 20 หลังคาเรือน ในขณะที่มัณฑะเลย์ โมนียวา และเมืองใหญ่ ๆ อีกมากได้มีพระและนักศึกษาออกมาเดินขบวนต่อต้านเผด็จการอีกมาก[104]

อ้างอิง

  1. Bodea, Malina (2021-02-28). "Myanmar's Military-Led Coup: A Stop Sign On The Path To Democracy". The Organization for World Peace (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-03-01.
  2. Limited, Bangkok Post Public Company. "Down but not out". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2021-03-01.
  3. {{https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/155819}}
  4. "AAPP 2021 Coup Daily Briefings". AAPP. 26 April 2021. สืบค้นเมื่อ 25 April 2021.
  5. "Myanmar protester dies after 10 days on life support; pressure grows on army". Reuters. 19 February 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "Myanmar coup: At least two killed as police disperse protesters". BBC. 20 February 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. [1]
  8. "'Spring Revolution': Myanmar protests swell despite military junta's threat of force". Associated Press via Global News. 21 February 2021. สืบค้นเมื่อ 15 March 2021.
  9. Ratcliffe, Rebecca (22 February 2021). "Myanmar junta warns of lethal force as crowds gather for 'five twos revolution'". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 February 2021. สืบค้นเมื่อ 22 February 2021.
  10. "Anti-Coup Protest on Streets of Myanmar's Second City". US News. 3 February 2021.
  11. "Daily Briefing in Relation to the Military Coup". aappb.org | Assistance Association for Political Prisoners. 6 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 February 2021. สืบค้นเมื่อ 16 February 2021.
  12. "Myanmar adopts nonviolent approach to resist army coup". Arab News (ภาษาอังกฤษ). 3 February 2021. สืบค้นเมื่อ 7 February 2021.
  13. Carly Walsh and Akanksha Sharma. "Protests break out in Myanmar in defiance of military coup". cnn.com. สืบค้นเมื่อ 7 February 2021.
  14. "Myanmar restaurant in Bangkok promotes anti-coup activity". AP NEWS. 6 February 2021. สืบค้นเมื่อ 8 February 2021.
  15. "Resistance to coup grows despite Myanmar's block of Facebook". AP NEWS. 4 February 2021. สืบค้นเมื่อ 8 February 2021.
  16. "Songwriter Who Provided "Theme Song" to 8888 Uprising Finally Honored". The Irrawaddy. 9 August 2018. สืบค้นเมื่อ 4 February 2021.
  17. "Myanmar blocks Facebook as resistance grows to military coup". ABC News (Australia). 5 February 2021. สืบค้นเมื่อ 5 February 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. "#MilkTeaAlliance has a new target brewing: Myanmar's military". South China Morning Post. 4 February 2021. สืบค้นเมื่อ 5 February 2021.
  19. "มิน อ่อง หล่าย ส่งจดหมายถึงประยุทธ์ ขอไทยสนับสนุนประชาธิปไตยในเมียนมา". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2021-04-20.
  20. "รัฐประหารพม่า รุนแรงบานปลายสู่กลียุค เผด็จการเหี้ยม เข่นฆ่าผู้เห็นต่าง". www.thairath.co.th. 2021-02-28.
  21. mgronline.com https://mgronline.com/onlinesection/detail/9640000021411. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  22. "ขุดศพ'มะแจซิน'นางฟ้ามัณฑะเลย์". คมชัดลึกออนไลน์. 2021-03-06.
  23. "Exclusive: U.S. blocked Myanmar junta attempt to empty $1 billion New York Fed account". reuters. 5 มีนาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2021.
  24. "กองทัพบกปฏิเสธภาพโซเชียล ทหารไทยส่งสินค้าให้กองทัพเมียนมา". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2021-03-29.
  25. "ชมคลิป: 'ประท้วงเงียบ' เมียนมาไร้ผู้ชุมนุม ใช้ความเงียบต้านรัฐประหาร". THE STANDARD. 2021-03-24.
  26. "พม่าสวนสนามใน'วันกองทัพ' หลังเตือนยะเยือกถึงผู้ชุมนุม 'เสี่ยงโดนยิงหัว'". www.thairath.co.th. 2021-03-27.
  27. "วันกองทัพพม่า 27 มีนาคม 2564 : วันแห่งการสูญเสีย - ThaiPublica". thaipublica.org.
  28. matichon (2021-03-27). "กะเหรี่ยง KNU ถล่มฐานเมียนมา ยึดอาวุธ อุปกรณ์สื่อสาร". มติชนออนไลน์.
  29. "กองทัพพม่าเอาคืน โจมตีทางอากาศ ทหารกะเหรี่ยง". สยามรัฐ. 2021-03-28.
  30. PBS, Thai (2021-03-29). "วิกฤตการเมืองเมียนมา - ​"มีเด็กอย่างน้อย 10 คนถูกสังหาร ในวันกองทัพเมียนมา" UNICEF". Thai PBS รายการไทยพีบีเอส. {{cite web}}: zero width space character ใน |title= ที่ตำแหน่ง 24 (help)
  31. PBS, Thai (2021-03-30). "วิกฤตการเมืองเมียนมา - ​สหรัฐฯ ประกาศระงับการค้ากับเมียนมา จนกว่าจะมีรัฐบาลประชาธิปไตย". Thai PBS รายการไทยพีบีเอส. {{cite web}}: zero width space character ใน |title= ที่ตำแหน่ง 24 (help)
  32. "กองทัพพม่าโจมตีทางอากาศทำชาวบ้านในรัฐกะเหรี่ยงหนีเข้าไทยกว่า 3,000 คน". mgronline.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-03-28.
  33. "ย้อนชมวินาทีบีบหัวใจ มิสแกรนด์เมียนมา พูดสุนทรพจน์ทั้งน้ำตาบนเวทีโลก". www.thairath.co.th. 2021-03-28.
  34. "ยูเอ็นประณามเหตุสังหารหมู่ในพม่า เรียกร้องนานาชาติใช้มาตรการ 'R2P'". prachatai.com.
  35. "ประท้วงพม่า เลวร้ายหนัก ทหารยิงพยาบาลตายในโรงพยาบาล - กราดยิงในงานศพ". www.amarintv.com.
  36. matichon (2021-03-29). "ทหารเมียนมายิงใส่ฝูงชนในงานศพ ยอดตายพุ่ง 459 ศพ". มติชนออนไลน์.
  37. "เอาไงต่อ! "ไบเดน" เหลืออดรับไม่ได้เห็นทหารพม่าปราบปรามนองเลือด UN โวยไม่เว้นกระทั่งเด็ก". mgronline.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-03-29.
  38. ""ไบเดน" ไม่ทนขอประณาม "กองทัพพม่า" เหตุนองเลือดฆ่าประชาชนพุ่ง 452 ราย !". www.onbnews.today.
  39. matichon (2021-03-29). "จนท.แม่สาย ตรวจพบลูกปืนเอ็ม 16 กว่า 6 พันนัด ระเบิดลูกเกลี้ยง 52 ลูก ในกล่องพัสดุ เตรียมส่งไปพม่า". มติชนออนไลน์.
  40. mgronline.com https://mgronline.com/local/detail/9550000038001. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  41. "โฆษก กต. ปฏิเสธ ไทยผลักดันผู้อพยพกะเหรี่ยงกลับเมียนมา". BBC News ไทย. 2021-03-29.
  42. "'สหรัฐ'ประณาม'เมียนมา'รุนแรง ประกาศระงับข้อตกลงการค้า-ตัด GSP". https://www.naewna.com. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |website= (help)
  43. "เอาจริงแล้ว! สหรัฐฯ ระงับทุกความร่วมมือทางการค้ากับพม่า จนกว่าจะคืนสู่ประชาธิปไตย". mgronline.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-03-30.
  44. Staff, Reuters (2021-03-30). "Myanmar protesters launch 'garbage strike'; two killed as death toll tops 500". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-30.
  45. "Myanmar crackdown death toll passes 500". CNA (ภาษาอังกฤษ).
  46. "กองทัพพม่า ทิ้งระเบิดใส่ เหมืองทอง กะเหรี่ยงเคเอ็นยู ทำคนงานตายเกลื่อน 11 ศพ". www.amarintv.com.
  47. "US Orders Departure of Non-Essential Diplomats from Myanmar | Voice of America - English". www.voanews.com (ภาษาอังกฤษ).
  48. https://news.trueid.net/detail/rQqKXDYjRLvO พม่าสังเวยปราบม็อบพุ่ง 520 ศพ สหรัฐสั่งอพยพทูต ญี่ปุ่นระงับอีกช่วยเผด็จการ
  49. matichon (2021-03-30). "สะพัด เคเอ็นยู ยิงเฮลิคอปเตอร์ทหารพม่าตก 1 ลำ ได้ตัวนักบิน-จนท. 8 นาย". มติชนออนไลน์.
  50. "กองกำลังกะฉิ่น KIA โจมตีตำรวจเมียนมาฐานร่วมฆ่าประชาชน". https://www.posttoday.com (ภาษาอังกฤษ). {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |website= (help)
  51. "2 ห้างดังใน ย่างกุ้ง ของกองทัพพม่า ไฟไหม้วอดกลางดึก คาดถูกวางเพลิง". www.amarintv.com.
  52. Barrett, Chris (2021-03-30). "'Tipping point': Rudd among 45 ex-leaders calling for Myanmar intervention". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ).
  53. อีจัน. "กองทัพรัฐฉาน ระดมพล เตรียมต่อสู้ทหารเมียนมา". อีจัน (ภาษาอังกฤษ).
  54. "องค์กรสิทธิมนุษยชนเผย มีเด็กถูกสังหารโดยกองทัพเมียนมาแล้วอย่างน้อย 43 ราย อายุต่ำสุด 6 ขวบ ขณะ 'ซูจี' โดนตั้งข้อหาเพิ่มอีก". THE STANDARD. 2021-04-02.
  55. "จีนส่งทหารเข้าชายแดนเมียนมาปกป้องท่อส่งน้ำมัน". https://www.posttoday.com (ภาษาอังกฤษ). {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |website= (help)
  56. Ltd.Thailand, VOICE TV. "จีนห่วงท่อน้ำมัน ส่งทหารคุ้มกันชายแดนเมียนมา หลังมีคำขู่ระเบิด". VoiceTV.
  57. PBS, Thai (2021-04-03). "วิกฤตการเมืองเมียนมา - ​ชาวบ้านเมียนมาจับอาวุธสู้ทหารบุกโจมตีตำรวจตาย 5 ศพ". Thai PBS รายการไทยพีบีเอส. {{cite web}}: zero width space character ใน |title= ที่ตำแหน่ง 24 (help)
  58. CNN, Sandi Sidhu and Salai TZ. "At least 550 people killed by Myanmar's military since February coup, says advocacy group". CNN.
  59. "เจ้ายอดศึก ไทใหญ่ และกระบวนการสันติภาพเมียนมา-ชนกลุ่มน้อย". BBC News ไทย. 2021-04-05.
  60. PBS, Thai (2021-04-07). "วิกฤตการเมืองเมียนมา - ทหารเมียนมาโจมตีแนวป้องกันชาวบ้านตั้งแต่เช้ามืด ตาย 5 ศพ". Thai PBS รายการไทยพีบีเอส.
  61. "ปะทะเดือด!'พม่า-เคเอ็นยู'เปิดศึกถล่มกันหนัก 'คนไทย'ผวาเสียงปืน-ระเบิดดังสนั่น". https://www.naewna.com. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |website= (help)
  62. "ทหารพม่ายิ้ม "ไทใหญ่" เหนือ-ใต้รบกันเอง". คมชัดลึกออนไลน์. 2021-04-07.
  63. PBS, Thai (2021-04-08). "วิกฤตการเมืองเมียนมา - รัฐบาลทหารเมียนมายึดสถานทูตในกรุงลอนดอน ปลดทูต". Thai PBS รายการไทยพีบีเอส.
  64. "ตำรวจรวบ'ไป่ ทาคน'คาบ้านพัก ร่วมม็อบต้านเผด็จการ". dailynews. 2021-04-08.
  65. "Who we are - CRPH". crphmyanmar.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-02-19.
  66. "Chinese Embassy Makes Contact With Myanmar's Shadow Government". The Irrawaddy (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-04-08.
  67. matichon (2021-04-10). "กองกำลังชาติพันธุ์ถล่มโรงพัก ตร.พม่าตาย 14 นาย ผู้ประท้วงที่ถูกจับต้องโทษประหาร". มติชนออนไลน์.
  68. "เผยเมียนมาฆ่าผู้ประท้วงกว่า80ศพที่พะโคขนใส่รถทหาร". Thai Post | อิสรภาพแห่งความคิด (ภาษาอังกฤษ).
  69. "US ไม่ทน เร่ง UN ลงมือ! สื่ออ้างทหารพม่ายังปราบโหดยิงระเบิดใส่ผู้ชุมนุมตายอีกกว่า 80 ศพ". mgronline.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-04-11.
  70. "แพทย์หญิงเมียนมา ถูกจับกุม ฐานไม่ยอมรักษาลูกตร. ลั่นทหาร-ตร.เข่นฆ่าผู้ประท้วง". Bright Today. 2021-04-12.
  71. "ทหารพม่าปราบโหด ยิง RPG ถล่มด่านผู้ชุมนุม ด.ญ.7 ขวบก็ไม่เว้น โดนยิงอีก". www.thairath.co.th. 2021-04-13.
  72. "ทหารพม่าส่งเครื่องบินถล่มฐาน "คะฉิ่น" แต่ถูกตอบโต้หนัก "ผบ.กองพัน" ดับ เสียหายหนัก". Postjung.com.
  73. PBS, Thai (2021-04-15). "วิกฤตการเมืองเมียนมา - ​กองกำลังติดอาวุธกองทัพเมียนมา โจมตีชาวมุสลิมในมัสยิดที่มัณฑะเลย์". Thai PBS รายการไทยพีบีเอส. {{cite web}}: zero width space character ใน |title= ที่ตำแหน่ง 24 (help)
  74. Ltd.Thailand, VOICE TV. "ทหารเมียนมาตายนับ 100 ศพ หลังพยายามยึดพื้นที่คืนจาก 'กองทัพเอกราชคะฉิ่น'". VoiceTV.
  75. "แม่ทัพใหญ่ KNU ลั่นถอนรากเผด็จการทหาร เชื่อมั่นพลังประชาชนเอาลงได้". สำนักข่าวชายขอบ : transbordernews. 2021-04-18.
  76. เมียนมาเปิดศึกกับไทใหญ่ด้านตรงข้ามจังหวัดเชียงราย, สืบค้นเมื่อ 2021-04-19
  77. "'เมียนมา'ยิงถล่มเรือไทย อ้างไม่ยอมหยุดให้ตรวจ ฝ่ายความมั่นคงรุดเคลียร์". https://www.naewna.com. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |website= (help)
  78. PBS, Thai (2021-04-22). "วิกฤตการเมืองเมียนมา - ​สหรัฐฯ ตัดท่อน้ำเลี้ยงกองทัพเมียนมา เพิ่มธุรกิจทำไม้และไข่มุก". Thai PBS รายการไทยพีบีเอส. {{cite web}}: zero width space character ใน |title= ที่ตำแหน่ง 24 (help)
  79. PBS, Thai (2021-04-22). "วิกฤตการเมืองเมียนมา - ​โดรนบินสำรวจ ก่อนระดมยิง RPG สังหารประชาชนเมียนมา 5 คน". Thai PBS รายการไทยพีบีเอส. {{cite web}}: zero width space character ใน |title= ที่ตำแหน่ง 24 (help)
  80. Sauer, Pjotr (2021-04-20). "Myanmar Junta Imported $15M Worth of Russian Radar Equipment in February". The Moscow Times (ภาษาอังกฤษ).
  81. "สะพัดทหารพม่าดับ 2 เซ่นปะทะสนั่น'พญาตองซู' เปิดชนวนเหตุระอุ!". https://www.naewna.com. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |website= (help)
  82. "กลุ่มคนหนุ่มสาวพม่าเข้าป่าฝึกอาวุธสู้กองทัพ". dailynews. 2021-04-27.
  83. "ทหารเมียนมา ตาย 25 นาย หลัง KNU โจมตีฐานที่มั่น". tnn ข่าวเช้า ข่าวออนไลน์ ข่าว ด่วน ล่าสุด อ่าน ข่าว ดูทีวีออนไลน์ รวมทีวีทุกช่อง ดูสดตลอด 24 ชั่วโม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-28. สืบค้นเมื่อ 2021-04-28.
  84. "ทหารพม่าใช้อากาศยานโจมตีฐานที่มั่นกะเหรี่ยงตามแนวแม่น้ำสาละวินทั้งคืน". สยามรัฐ. 2021-05-01.
  85. "ไทยเตือนพม่าระวังยิงล้ำเส้น! หลังบินโจมตี-ยิงปะทะ KNU ต่อเนื่อง". mgronline.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-05-02.
  86. "'เคเอ็นยู'ทุ่มกำลังยึด'ฐานด๊ากวิน' พม่าประกาศยุติการสู้รบเพื่อสันติภาพ". https://www.naewna.com. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |website= (help)
  87. "เฮลิคอปเตอร์เมียนมา "ถูกยิง" ตกในรัฐคะฉิ่น". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2021-05-04.
  88. "ทหารกะเหรี่ยงเหิม! ยึดฐานอูซุท่าที่มั่นทหารพม่าได้อีก 1 ฐาน". https://www.naewna.com. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |website= (help)
  89. matichon (2021-05-07). "สงครามหลายระดับกับถนนสู่สันติภาพในพม่า". มติชนออนไลน์.
  90. "ทหารเคเอ็นยูเกาะติด'ฐานด๊ากวิน'เหนียวแน่น รุกหนักปิดกั้นทหารพม่าส่งเสบียง-อาวุธยุทธภัณฑ์". https://www.naewna.com. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |website= (help)
  91. "ทหารเมียนมายิงปืน ค. ถล่มเข้ามาเขตไทย ตรงข้ามบ้านท่าตาฝั่ง แม่ฮ่องสอน คาดเข้าใจผิดคิดว่ากะเหรี่ยง KNU ใช้เป็นฐานโจมตี". THE STANDARD. 2021-05-21.
  92. "'กองกำลังKNA'เหิมหนัก! เปิดศึกถล่มสถานีส่งไฟฟ้า-ระเบิดสะพานป่วนทางการพม่า". https://www.naewna.com. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |website= (help)
  93. https://news.trueid.net/detail/8Ra5qKvyMJoR
  94. matichon (2021-06-03). "กองกำลังกะเหรี่ยง ดีเคบีเอ. ยันไม่มีการเจรจาสงบศึกทหารพม่า หากไม่คืนอำนาจให้ ปชช". มติชนออนไลน์.
  95. Overview-ทหารพม่าเครื่องบินตกดับ 12 พระดังมรณภาพด้วย สองทัพชาติพันธุ์ถล่มทัพอ่องลายตายเกือบร้อย, สืบค้นเมื่อ 2021-06-13
  96. Overview-UNประณามทหารพม่าขั้นสูงสุด อัดอยู่ในโลกที่มีรัฐประหารไม่ได้ ไทยงดออกเสียง รถทหารถูกเผาพรึ่บ, สืบค้นเมื่อ 2021-06-21
  97. Ltd.Thailand, VOICE TV. "เสียงปืนแตกที่มัณฑะเลย์ ทัพประชาชน ปะทะทหารเมียนมาเป็นครั้งแรก". VoiceTV.
  98. "ผู้นำเมียนมาขู่เล่นงานสื่อต่างชาติเรียก'คณะรัฐประหาร'". https://www.bangkokbiznews.com/. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |website= (help)
  99. matichon (2021-07-03). "ม็อบฮือเผาโลงศพ-รูป สาปแช่ง มิน อ่อง ลาย ผู้นำทหารเมียนมา ฉลองวันเกิดครบ 65 ปี". มติชนออนไลน์.
  100. "ช็อก สหรัฐฯจับ 2 พม่า ร่วมมือนายหน้าค้าอาวุธไทย วางแผนฆ่าทูตประจำ UN". www.thairath.co.th. 2021-08-07.
  101. 25 (2021-08-06). "ผงะ40ศพซุกป่าเมียนมา ชาวบ้านพบหลังกองกำลังปะทะทหาร". ข่าวสด.{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  102. "รัฐบาลเงา NUG ประกาศสงครามล้มรัฐบาลทหารพม่า". prachatai.com.
  103. Overview-พม่าเกิดสงคราม รัฐบาลประชาชนประกาศศึกโค่นทหาร ทั่วประเทศจับอาวุธ โกลาหลแห่ตุนอาหาร-ถอนเงิน, สืบค้นเมื่อ 2021-09-08
  104. Overview-อ่องลายยิงปืนใหญ่ถล่มเมือง พม่าเกือบหมื่นหนีตาย UNชี้นรกบนดิน ทัพประชาชนระดมอาวุธทั่วประเทศ, สืบค้นเมื่อ 2021-09-25